Orawan Surak

  • วิหารอุรวดี

    วิหารอุรวดี

    by

    |

    in

    วิหารอุรวดี การสร้างอุรวดีวิหารเป็นสิ่งพิสูจน์โลกวิญญาณ ปลายปี 2533 ดวงวิญญาณของ “พระนางอุรวดี” (นามแฝง) ได้มาขอให้จัดสร้างศาลาธรรมครอบสิ่งศักดิ์สิทธิ์เดิม บริเวณใกล้ อาคารหอสมุดแม่โจ้ เพื่อสร้างกุศลปลดปล่อยดวงวิญญาณที่ติดค้างอยู่ในแผ่นดินแม่โจ้ จำนวนมาก โดย “ท่านอุรวดี” เป็นผู้กำหนดรูปแบบทิศทางตำแหน่งของศาลาพระพุทธรูปที่จะนำมาไว้ พระบรมสารีริกธาตุ พระธาตุและพิธีกรรม ได้ตรวจสอบข้อมูลกับหลวงพ่อฤๅษีลิงดำ หลวงปู่สิม พุทธาจาโร หลวงปู่ครูบาชัยวงษา, หลวงปู่สาม อากิญจโน พระมหาทองอินทร์ กุสลจิตโต (พระพิสีพิศาลคุณ) ทุกท่านย้ำว่าเป็นเรื่องจริง การก่อสร้างเป็นการบริจาคของผู้มีจิตศรัทธาทั้งหมด 100 เปอร์เซ็นต์ การบริจาคส่วนใหญ่ อยู่ในรูปวัสดุ เช่น กรวด หิน ดิน […]

  • ประเพณีเลี้ยงผีปู่ย่า

    ประเพณีเลี้ยงผีปู่ย่า

    by

    |

    in

    ประเพณีเลี้ยงผีปู่ย่า เป็นประเพณีล้านนาทางภาคเหนือ สืบเนื่องกันมารุ่นต่อรุ่น โดยประเพณีเลี้ยงผีปู่ย่า แบบโบราณล้านนา หรือการเลี้ยงผีประจำตระกูล หรือที่เรียกกันว่าผีบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว เหล่าลูกหลานก็จะสร้างหอไว้ทางเบื้องทิศหัวนอน (ทิศตะวันออก) หรือในสถานที่ที่เห็นว่าสมควร บนหอจะมีหิ้งวางเครื่องบูชา เช่น พานดอกไม้ ธูปเทียน น้ำต้น (คนโท) วางเอาไว้ โดยจะมีดอกไม้ ธูปเทียน อาหาร หวานคาว บวงสรวงอัญเชิญดวงวิญญาณของผีปู่ย่า ให้มาสถิตอยู่ในศาล เพื่อพิทักษ์รักษาลูกหลาน ตลอดจนเครือญาติจะต้องถือผีปู่ย่าวงศ์เดียวกัน การเลี้ยงผีปู่ย่าโดยทั่วไปจะนิยมเลี้ยงในเดือนเมษายนถึงเดือนมิถุนายน แต่ด้วยความไม่สะดวกที่ญาติพี่น้องอยู่ห่างไกลกัน นานวันจะหวนกลับบ้านในช่วงปีใหม่สงกรานต์ ก็อาจใช้ช่วงเวลานี้เลี้ยงผีก็ได้ หรือหากลำบากที่จะต้องเดินทางมาร่วมพิธีเลี้ยงผี […]

  • หอระฆังแม่โจ้

    หอระฆังแม่โจ้

    by

    |

    in

    หอระฆังแม่โจ้ พ.ศ. 2477 สร้างขึ้นเพื่อกำหนดเวลาชีวิตประจำวันของนักเรียนแม่โจ้แต่อดีต ตั้งแต่การปลุกให้ตื่นนอนเวลา 05.00 น. เพื่อลงงานภาคปฏิบัติเวลา 06.00-07.00 น. เข้าชั้นเรียนเวลา 08.00-12.00 น. ลงงานปฏิบัติภาคบ่ายอีกครั้งในเวลา 13.00-16.00 น. และสุดท้ายย่ำระฆังเพื่อสวดมนต์ไหว้พระ ก่อนเข้านอนเวลา 21.00 น. และแน่นอนการรัวระฆังกลางดึกหลังเที่ยงคืน คืนใดเกิดขึ้น ย่อมบ่งบอกถึงกิจกรรมประเพณีการรับลูกแม่โจ้ใหม่ไว้ในอ้อมอกอีกครั้งหนึ่ง หอระฆัง ดั้งเดิม ปี พ.ศ. 2477 สร้างด้วยไม้เนื้อแข็งทั้งหมด และใช้งานมายาวนาน […]

  •  การทำกล่องอนุรักษ์วัตถุแบบง่าย ๆ ทำตามได้เลย

     การทำกล่องอนุรักษ์วัตถุแบบง่าย ๆ ทำตามได้เลย

    by

    |

    in

    ฝ่ายจดหมายเหตุและคอลเล็กชั่นพิเศษ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยแม่โจ้ วันนี้จะมาสอนการทำกล่องอนุรักษ์วัตถุแบบง่าย ๆ ทำตามได้เลย สามารถดัดแปลงให้มีขนาดตามต้องการ สามารถนำมาดัดแปลงเป็นกล่องขวัญของที่ระลึกให้กับผู้ใหญ่หรือบุคคลสำคัญ ได้อย่างภาคภูมิใจในฝีมือของเราเอง ไปลองทำตามขั้นตอนได้เลยค่ะ  อุปกรณ์ที่ใช้ 1. วัตถุที่จะใช้อนุรักษ์ 2. มีดคัตเตอร์ 3. ไม้บรรทัด 4. ยางลบ 5. ดินสอ 6. ตัวหนีบกระดาษ 7. แผ่นรองตัด 8. กระดาษแข็งทำกล่อง  9. กาวลาเท็กซ์ 10.ไม้ทากาว […]

  • 9 สิ่งสำคัญ ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ที่ลูกแม่โจ้ต้องเคารพ

    9 สิ่งสำคัญ ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ที่ลูกแม่โจ้ต้องเคารพ

    by

    |

    in

    1. ศาลเจ้าแม่ โจ้   2. ศาลเจ้าพ่อ โจ้       3. อนุสาวรีย์อำมาตย์โท พระช่วงเกษตรศิลปการ    4. อนุสาวรีย์ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.วิภาต บุญศรี วังซ้าย   5. พระพิรุณทรงนาค   6.อาคารพุทธมิ่งมงคล   7.วิหารอุรวดี   8.สระเกษตรสนาน   9.หอระฆัง […]

  • การทำกล่องอนุรักษ์หนังสือ

    การทำกล่องอนุรักษ์หนังสือ

    by

    |

    in

    ฝ่ายจดหมายเหตุและคอลเล็กชั่นพิเศษ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยแม่โจ้ วันนี้จะมาสอนการทำกล่องอนุรักษ์หนังสือแบบง่ายๆมาให้ทดลองทำ สามารถดัดแปลงให้มีขนาดใดก็ได้ ชอบกระดาษสีไหนก็เลือกได้ สามารถดัดแปลงตามความเหมาะสมได้เลย การทำกล่องอนุรักษ์หนังสือ จะทำให้หนังสือของเรายืดอายุการใช้งานเพิ่มมากขึ้น สวยและเป็นระเบียบ ป้องกันสัตว์หรือแมลงกัดกินหนังสือของเรา  อุปกรณ์ที่ใช้ 1. หนังสือที่จะใช้อนุรักษ์ 2. มีดคัดเตอร์ 3. ไม้บรรทัด 4. ยางลบ 5. ดินสอ 6. Bone Folder (ไม้รีดกระดาษ) 7. แผ่นรองตัด 8. กระดาษแข็งทำกล่อง […]

  • ศาลเจ้าพ่อโจ้ (ศาลเจ้าพ่อขวัญชัยมงคล)

    ศาลเจ้าพ่อโจ้ (ศาลเจ้าพ่อขวัญชัยมงคล)

    by

    |

    in

        ศาลเจ้าพ่อ แม่โจ้ จากการสืบค้นข้อมูลการกำเนิดศาลเจ้าพ่อโจ้ ซึ่งไม่มีการบันทึกในเอกสารที่สามารถใช้อ้างอิงได้นั้น ทีมงานจากศูนย์ศิลปวัฒนธรรมได้ประสานงานขอความร่วมมือจากคณาจารย์ศิษย์เก่า นับตั้งแต่รุ่นแรกๆ จนถึงรุ่น 50 การสัมภาษณ์และสืบค้นข้อมูลสามารถประมวลได้ว่าศาลเจ้าพ่อโจ้ กำเนิดขึ้นจากการได้รับงบประมาณสร้างหอพักสหมิตรในปี พ.ศ. 2501 ใช้นามสกุลของนายสนั่น สุมิตร อธิบดีกรมอาชีวศึกษาที่อนุมัติงบประมาณการก่อสร้างจำนวน 890,000 บาท เป็นชื่อหอพัก หลังจากสร้างเสร็จ โดยระหว่างก่อสร้างนั้นได้มีการสร้างศาลเพียงตาของเจ้าที่เพื่อให้การก่อสร้างหอพัก เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและราบรื่น จวบจนนักศึกษาแม่โจ้รุ่น 34 เข้ามาไหว้ศาล โดยเรียกว่าศาลเจ้าพ่อ (ยังไม่รู้จักกันอย่างกว้างขวางนัก) สันนิษฐานว่าเพื่อล้อกับเจ้าแม่ แม่โจ้ อย่างไรก็ดีในช่วงหลังศาลเจ้าพ่อมีบทบาทกับกิจกรรมรับน้องใหม่ […]

  • ลาแล้วแม่โจ้

    ลาแล้วแม่โจ้

    by

    |

    in

            สัมผัสประสบการณ์ เรื่องเล่าการเริ่มต้นเดินทางมาเรียนที่เชียงใหม่ บรรยากาศในการเดินทางมาเรียนและการดำเนินชีวิตในแม่โจ้ จนเรียนจบถึงเวลาที่ต้องลาจากแม่โจ้อันเป็นที่รักยิ่ง ที่มีมาอย่างยาวนาน บางส่วนบางตอนจากหนังสือ “อนุสรณ์แม่โจ้ รุ่น 21″ เขียนโดย คุณปรีชา ถาวร  แม่โจ้รุ่น 21 ความว่า…         เสียงระฆังกังวาลขึ้นบอกเวลาเที่ยงคืน ลมหนาวพัดผ่านเข้ามาทางช่องหน้าต่างทำให้อากาศในห้องเริ่มหนาวขึ้น ทุกสิ่งทุกอย่างบนอาณาจักรแม่โจ้เงียบสงัดดูคล้ายกับว่ากำลังหลับสนิท เสียงสุนัขหอนมาจากหมู่บ้าน ดังแว่วๆอย่างโหยหวนเยือกเย็น แต่ข้าพเจ้ายังคงนอนไม่หลับพลิกตัวไปมาบนที่นอนอันแสนจะอบอุ่น เสียงนาฬิกาปลุกบนโต๊ะเดินอยู่เป็นจังหวะๆ ข้าพเจ้าอดที่จะคิดถึงอดีตที่ผ่านมามิได้ มันยังคงฝังแน่นอยู่ในความทรงจำอย่างไม่มีวันลืม […]

  • ประติมากรรมเขาควาย

    ประติมากรรมเขาควาย

    by

    |

    in

      เมื่อโรงเรียนเกษตรกรรมแม่โจ้ ได้รับการยกฐานะเป็น วิทยาลัยเกษตรกรรมเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2499 เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก แม่โจ้เวลานั้น เข้าสู่ยุคการพัฒนาอย่างรวดเร็ว เป็นสถานศึกษาเกษตรแห่งเดียวที่เปิดหลักสูตรการเรียนการสอนในระดับอุดมศึกษารวม 5 ปี (เพิ่มหลักสูตรใหม่ ประกาศนียบัตร ประโยคครูมัธยมเกษตรกรรม: ป.ม.ก. อีก 6 ปี) นักศึกษาที่จบ ป.ม.ก. จากแม่โจ้ออกไปนั้น ภายหลังได้ดำรงตำแหน่ง อาจารย์ใหญ่ และผู้อำนวยการสถานศึกษาเกษตรของกรมอาชีวศึกษาเกือบทั่วประเทศ ส่วนที่แม่โจ้ หลักสูตร ป.ม.ก. […]

  • ประเพณีขึ้นดอยปุย

    ประเพณีขึ้นดอยปุย

    by

    |

    in

    ประเพณีขึ้นดอยปุย เป็นประเพณีที่รุ่นพี่แม่โจ้ได้ปฏิบัติมาตั้งแต่อดีต เพราะก่อนที่จะจากอ้อมอกของ “แม่โจ้” พวกเราต้องจากไปอย่าง “ลูกชายของแม่โจ้” ที่แท้จริง สัมผัสประสบการณ์ขึ้นดอยปุยที่มีมาอย่างยาวนาน บางส่วนบางตอนจากหนังสือ “อนุสรณ์แม่โจ้ รุ่น 21″ เขียนโดย คุณอุทัย สอนหลักทรัพย์ แม่โจ้รุ่น 21 ความว่า…         การศึกษาปีสุดท้ายทุกสมัยที่ผ่านมา ก่อนที่ทุกคนจะต้องจากแม่โจ้ไปดำเนินชีวิต ที่พวกเรา จะต้องไปเพื่อการต่อสู้กับเหตุการณ์ของโลกอันไพศาล ข่าวที่นำความซาบซึ้งมาถึง พวกเราที่ได้รับทราบเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2500 นั้นคือ […]

  • พระพิรุณทรงนาค มหาวิทยาลัยแม่โจ้

    พระพิรุณทรงนาค มหาวิทยาลัยแม่โจ้

    by

    |

    in

    จากข้อมูลจารึกปรากฏบนป้ายใกล้กับประติมากรรมพระพิรุณทรงนาค สัญลักษณ์ของการเกษตรบนฐานกลางสระน้ำ “พระพิรุณทรงนาค อนุสรณ์แม่โจ้ รุ่น 27” พระพิรุณหรือพระวิรุณหรือพระวรุณ เป็นเทพเจ้าแห่งฝน แห่งน้ำ หรือทะเลเป็นผู้บันดาลให้ฝนตก เป็นโลกบาลทิศประจิม(ทิศตะวันตก) พญานาคเป็นพาหนะของพระพิรุณและเป็นกำลังในการให้น้ำ พระพิรุณทรงนาคจึงเป็นเครื่องหมายแห่งความอุดมสมบูรณ์อันสืบเนื่องจากพื้นแผ่นดิน…แม่โจ้จึงให้พระพิรุณทรงนาค เป็นสัญลักษณ์ของสถาบันสืบต่อมา สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2510 โดยศิษย์เก่าแม่โจ้ รุ่น 27 (2505) ออกแบบโดยอาจารย์ นิกร อักษรพรหม จากโรงเรียนยุพราชวิทยาลัย หลังจากสร้างเรียบร้อยได้มีการขุดสระปลูกบัวล้อมรอบพระพิรุณทรงนาค และต่อมามีผู้ไปขุดดินกลบสระเพื่อให้ผู้คนเข้าสักการะอย่างใกล้ชิด แต่อาจารย์วิภาต บุญศรี วังซ้าย […]

  • อนุสาวรีย์อำมาตย์โท พระช่วงเกษตรศิลปการ “บิดาเกษตรแม่โจ้”

    อนุสาวรีย์อำมาตย์โท พระช่วงเกษตรศิลปการ “บิดาเกษตรแม่โจ้”

    by

    |

    in

    อนุสาวรีย์พระช่วงเกษตรศิลปการ ” บิดาเกษตรแม่โจ้ ” เริ่มก่อสร้างเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2530  แล้วเสร็จเมื่อเดือน มกราคม 2531  งบประมาณประมาณก่อสร้าง จำนวนเงิน 1,019,821บาท ได้จากเงินสมทบค่าก่อสร้างของครอบครัวพระช่วงฯ และศิษย์เก่าแม่โจ้     อนุสาวรีย์พระช่วงเกษตรศิลปการ ก่อสร้างบนพื้นที่บริเวณหลังอาคาร ” พระช่วงเกษตรศิลป์ ” (หรืออาคารตึกเรียน ที่แม่โจ้รุ่นก่อน ๆ เรียกชื่อ เพราะมีอาคารตึกเดียว ที่ก่อสร้างเป็นอาคาร คอนกรีตเสริมเหล็กขนาดสองชั้น อาคารถาวรแรกสุดของโรงเรียนเกษตรแม่โจ้ เมื่อปี […]