Northern Articles

  • ประเพณีเลี้ยงผีปู่ย่า

    ประเพณีเลี้ยงผีปู่ย่า

    by

    |

    in

    ประเพณีเลี้ยงผีปู่ย่า เป็นประเพณีล้านนาทางภาคเหนือ สืบเนื่องกันมารุ่นต่อรุ่น โดยประเพณีเลี้ยงผีปู่ย่า แบบโบราณล้านนา หรือการเลี้ยงผีประจำตระกูล หรือที่เรียกกันว่าผีบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว เหล่าลูกหลานก็จะสร้างหอไว้ทางเบื้องทิศหัวนอน (ทิศตะวันออก) หรือในสถานที่ที่เห็นว่าสมควร บนหอจะมีหิ้งวางเครื่องบูชา เช่น พานดอกไม้ ธูปเทียน น้ำต้น (คนโท) วางเอาไว้ โดยจะมีดอกไม้ ธูปเทียน อาหาร หวานคาว บวงสรวงอัญเชิญดวงวิญญาณของผีปู่ย่า ให้มาสถิตอยู่ในศาล เพื่อพิทักษ์รักษาลูกหลาน ตลอดจนเครือญาติจะต้องถือผีปู่ย่าวงศ์เดียวกัน การเลี้ยงผีปู่ย่าโดยทั่วไปจะนิยมเลี้ยงในเดือนเมษายนถึงเดือนมิถุนายน แต่ด้วยความไม่สะดวกที่ญาติพี่น้องอยู่ห่างไกลกัน นานวันจะหวนกลับบ้านในช่วงปีใหม่สงกรานต์ ก็อาจใช้ช่วงเวลานี้เลี้ยงผีก็ได้ หรือหากลำบากที่จะต้องเดินทางมาร่วมพิธีเลี้ยงผี […]

  • พิธีกรรมและความเชื่อเกี่ยวกับการแต่งงานของชนเผ่าปกาเกอะญอ

    พิธีกรรมและความเชื่อเกี่ยวกับการแต่งงานของชนเผ่าปกาเกอะญอ

    by

    |

    in

    เมื่อเด็กหนุ่มสาวน้อยชนเผ่าปกาเกอะญอได้เจริญเติบโตขึ้นเป็นหนุ่มเป็นสาวเต็มตัวแล้ว สิ่งสวยงามที่จะเกิดขึ้นต่อมาก็หนีไม่พ้นความรักใคร่ชอบพอกันตามธรรมชาติที่ถูกกำหนดไว้ หากหนุ่มสาวคู่ใดรักใคร่ชอบพอกันจนความรักเบ่งบาน เป็นที่รับรู้และยอมรับของผู้เป็นบิดามารดาและญาติผู้ใหญ่ทั้งสองฝ่ายแล้ว พิธีกรรมแห่งความรักของทั้งคู่ก็จะเริ่มดำเนินขึ้น เพื่อความถูกต้องตามกฎประเพณีและวัฒนธรรมของชนเผ่าที่สืบทอดกันมายาวนานจากรุ่นสู่รุ่น โดยผู้เป็นบิดามารดาและญาติผู้ใหญ่ของฝ่ายหญิงจะปรึกษาหารือกันแบบวงในเพื่อหาข้อสรุปคู่หนุ่มสาว เมื่อได้ข้อสรุปว่าหนุ่มสาวคู่นี้เหมาะสมแก่การคู่ครองแล้ว ก็จะนำไปสู่การพิจารณาคัดเลือกตัวบุคคลหรือกลุ่มบุคคลภายในหมู่บ้าน ที่ได้รับการยอมรับและไว้วางใจจากฝ่ายหญิง เพื่อเป็นตัวแทนไปพูดคุยเจรจาและขอคำมั่นสัญญาจากฝ่ายชาย เมื่อตัวแทนฝ่ายหญิงได้รับคำมั่นสัญญาจากฝ่ายชายแล้ว จะนำไปสู่กิจกรรมความรักอย่างเป็นทางการครั้งแรกระหว่างครอบครัวฝ่ายหญิงและฝ่ายชาย เพื่อพูดคุยหารือรายละเอียดของงานแต่งงาน กำหนดวันหมั้นหมาย และนัดหมายวันแต่งงานของคู่หนุ่มสาว ในวันหมั้นหมายนั้น ฝ่ายชายจะมีการส่งตัวแทนหรือเถ้าแก่ไปทำพิธีการหมั้นหมายฝ่ายหญิง ซึ่งในพิธีฝ่ายหญิงจะมีการนำไก่หนึ่งคู่มาทำอาหารเพื่อเลี้ยงรับรองตัวแทนหรือเถ้าแก่ฝ่ายชาย เพื่อแสดงเจตนารมณ์ถึงการให้เกียรติ ยามเช้าวันรุ่งขึ้นถัดไปสถานะคู่หนุ่มสาวจะเปลี่ยนไปเป็นเจ้าบ่าวและเจ้าสาว โดยมีกำหนดการนัดหมายเจ้าบ่าว ญาติพี่น้อง และมิตรสหาย เดินทางไปพบเจ้าสาวเพื่อดำเนินการทำพิธีแต่งงานให้ถูกต้องตามกฎประเพณีและวัฒนธรรมต่อไป ซึ่งการแต่งงาน “ดึเทาะโค่เบล” หมูตัวแรกที่ถูกล้มเพื่อทำพิธีสำคัญในงานแต่งงานนั้น ภาษาท้องถิ่นเรียกว่า “เทาะเตาะ” […]

  • วัดศรีดอนชัยป่าตึงงาม (แม่แก้ดน้อย)

    วัดศรีดอนชัยป่าตึงงาม (แม่แก้ดน้อย)

    by

    |

    in ,

    ที่ตั้งวัด วัดแม่แก้ดน้อย ชาวบ้านมักเรียกกันว่า วัดป่าตึง หรือวัดหนองแห้งนามเดิม วัดศรีดอนชัยป่าตึงงาม ตั้งที่เลขที่ 287 หมู่ 5 ถนนสันทราย-พร้าว บ้านแม่แก้ด ตำบลป่าไผ่ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกายมหายาน เป็นอุทยานการศึกษาแหล่งเรียนรู้ระบบนิเวศ นรก สวรรค์ สถานที่ปลงสังเวช ของศูนย์การศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ วัดแม่แก้ดน้อย  มีเนื้อที่ทั้งหมด 58 ไร่ วัดอยู่ในการปกครองคณะสงฆ์ภาค 7 สังกัด มหานิกาย เป็นวัดราษฎร์ […]

  • พิธีปู่จาข้าวลดเคราะห์

    พิธีปู่จาข้าวลดเคราะห์

    by

    |

    in

    พิธีปู่จาข้าวลดเคราะห์ (ข้อมูลอ้างอิงจากหมู่บ้านศรีดอนชัย หมู่ที่ 8 ตำบลบ้านธิ อำเภอบ้านธิ จังหวัดลำพูน)     “ปู่จา” เป็นภาษาเมืองล้านนา แปลเป็นภาษากลางว่า “บูชา” คือ การแสดงความเคารพด้วยเครื่องสักการะ ยกย่องเทิดทูนด้วยความนับถือหรือเลื่อมใส “ข้าวลดเคราะห์” คือ การทำพิธีทางความเชื่อโดยการใช้ข้าวเพื่อทำพิธีสะเดาะเคราะห์หรือลดเคราะห์ให้หายไป พิธีปู่จาข้าวลดเคราะห์ ในโบราณชาวล้านนาเชื่อกันว่าเป็นพิธีกรรมการบูชาข้าวเพื่อถวายแด่พระพุทธเจ้า และขอพรจากพระพุทธเจ้าพึงเอาบุญคุณแก้ว 3 ประการ (พระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์) อันมีองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นประธาน และอีกนัยหนึ่งก็คือการสะเดาะเคราะห์ ส่งเสริมดวงชะตาให้ดีขึ้นมักรวมไปถึงการต่ออายุ หรือแก้ไขสิ่งเลวร้ายจากหนักกลายเป็นเบา จากเบากลายเป็นหาย […]

  • ซูเลที

    ซูเลที

    by

    |

    in

    ชื่อท้องถิ่น (บ้านห้วยผักกูด)… ซูเลที ซูเลที เป็นพืชและเป็นสมุนไพรท้องถิ่น เป็นพืชยืนต้นขนาดเล็ก มีลักษณะทางกายภาพ ลำต้นตรงห่อหุ้มด้วยกาบใบ สีน้ำตาลแดง กิ่งตรงสีแดงปนเขียวใบยาวอ่อนนุ่ม ใบแก่มีสีเขียวเข้ม ใบอ่อนสีเขียวเหลือง มักขึ้นตามภูมิศาสตร์ และสภาพอากาศที่มีความชื้นสูง เช่น ป่าต้นน้ำ ป่าดิบชื้น หรือบริเวณลำห้วยที่มีน้ำไหลผ่านตลอดทั้งปี ซูเลที เป็นสมุนไพรอีกชนิดหนึ่งที่ได้รับการขนานนามว่า “ติ๊สีพะโดะ” ซึ่งแปลว่า ยาหลวง เพราะมีฤทธิ์ทางยาที่ใช้รักษาได้ผลดี และเห็นผลเร็ว ซูเลที ที่มีสรรพคุณทางยาที่ใช้รักษาอาการบวมต่าง ๆ และรักษาอาการเบาหวาน โดยการใช้ส่วนรากนำมาต้มน้ำดื่ม […]

  • ซวาอะหน่อเอะกวีคี

    ซวาอะหน่อเอะกวีคี

    by

    |

    in

    ชื่อท้องถิ่น (บ้านห้วยผักกูด)….. ซวาอะหน่อเอะกวีคี ซวาอะหน่อเอะกวีคี เป็นพืชและเป็นสมุนไพรท้องถิ่น  เป็นพืชยืนต้นขนาดกลาง มีลักษณะทางกายภาพ ลำต้นสีดำ ผิวเรียบ ใบแก่สีเขียวเข้ม เรียบมัน ใบอ่อนสีน้ำตาลแดง ดอกมีลักษณะกลมสีขาว มักขึ้นตามภูมิศาสตร์ และสภาพอากาศที่มีความชื้นสูง เช่น ป่าต้นน้ำ ป่าดิบชื้น หรือบริเวณลำห้วยที่มีน้ำไหลผ่านตลอดทั้งปี ซวาอะหน่อเอะกวิคี มีลักษณพิเศษและแตกต่างจากสมุนไพรทั่วไป คือ มีกลิ่นเหม็นมาก แต่มีสรรพคุณทางยาในการรักษาอาการเหนื่อยล้าได้ดีมาก และสามารถนำไปผสมกับยาสมุนไพรชนิดอื่น ๆ ได้ด้วย  ซึ่งสามารถใช้ได้ทุกส่วนของพืช ลำต้นและกิ่งเหมาะสำหรับต้มเพื่อดื่ม ส่วนกิ่งหรือลำต้น […]

  • พิธีกรรมเดปอทู่

    พิธีกรรมเดปอทู่

    by

    |

    in ,

    เดปอทู่เป็นความเชื่อและเป็นภูมิปัญญาของชนเผ่าปกาเกอะญอ บ้านห้วยผักกูด ต.แม่ศึก อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่ ที่เชื่อมความสัมพันธ์ในมิติต่าง ๆ ระหว่างคนกับสิ่งเหนือธรรมชาติ คนกับธรรมชาติ หรือระหว่างคนกับคน ผสมผสานกันอย่างลงตัวเพื่อการดำรงอยู่อย่างยั่งยืน ความเชื่อเกี่ยวกับการเกิด เรียกว่า “ดึต่าเบล” เมื่อทารกเกิดมา สายรกที่ถูกตัดออกจากผู้เป็นมารดา จะนำมาบรรจุลงในกระบอกไม้ไผ่ที่เตรียมไว้แล้ว ทำการปิดฝากระบอกด้วยเศษผ้าของผู้เป็นมารดาให้แน่น แล้วนำกระบอกสายรกไปผูกไว้กับต้นไม้ที่ถูกเลือกในพื้นที่บริเวณในป่ารอบหมู่บ้าน พร้อมกับอธิษฐานให้ทารกเติบโตแข็งแรงมีสุขภาพที่ดี เหมือนต้นไม้ที่ถูกเลือกนี้ และต้นไม้นี้จะถูกเรียกว่า “เดปอทู่” แปลว่า ต้นสายรก ต้นไม้ดังกล่าวนี้จะถูกห้ามตัดโดยทันทีและเด็ดขาด เพราะเชื่อว่าขวัญทารกอาศัยอยู่ที่ต้นไม้นี้ ถ้าตัดทิ้งจะทำให้ทารกเจ็บป่วยได้ง่าย ขวัญหนีไปจากต้นไม้ ส่วนคนที่ตัดต้นไม้เดปอทู่โดยเจตนาหรือไม่เจตนาจะต้องถูกปรับด้วยไก่หนึ่งตัว […]

  • เส่ซูควา (ตัวผู้)

    เส่ซูควา (ตัวผู้)

    by

    |

    in

    ชื่อท้องถิ่น (บ้านห้วยผักกูด)…. เส่ซูควา (ตัวผู้) เส่ซูควา  (ตัวผู้) เป็นพืชและเป็นสมุนไพรท้องถิ่นชั้นดี  เป็นพืชยืนต้นขนาดเล็ก มีลักษณะทางกายภาพ มีลำต้นตรงมีกิ่งห่าง ลำต้นมีสีครีมปนแดง มีใบกว้างสีเขียวเข้ม มักขึ้นตามภูมิศาสตร์และสภาพอากาศที่มีความชื้นสูง เช่น ป่าต้นน้ำ ป่าดิบชื้น หรือบริเวณลำห้วยที่มีน้ำไหลผ่านตลอดทั้งปี เส่ซูควา ได้รับความนิยมอย่างมากและมีชื่อเสียงในท้องถิ่น จนได้รับการขนานนามว่า “ติ๊สี่พะโดะ” ซึ่งแปลว่า  “ยาหลวง” เนื่องจากมีสรรพคุณทางยาที่หลากหลายและไดพ้ผลที่เร็วและดี ในการรักษา เส่ซูควา (ตัวผู้) จะมีฤทธิ์ทางยาที่แรงกว่าตัวเมีย ซึ่งรักษาได้ทั้งคนและสัตว์ โดยเฉพาะรักษาช้างที่ชาวบ้านทำกันมายาวนาน […]

  • เก่อกรือทอ

    เก่อกรือทอ

    by

    |

    in

    ชื่อท้องถิ่น (บ้านห้วยผักกูด)   เก่อกรือทอ เก่อกรือทอ เป็นพืชและเป็นสมุรไพรท้องถิ่น เป็นพืชยืนต้นขนาดกลาง มีลักษณะทางกายภาพ ลำต้นอวบเตี้ยสีน้ำตาลปนดำ ใบกว้าง อ่อนนุ่ม สีเขียว ก้านใบยาวคล้ายก้านใบเผือก ลูกอ่อนมีสีเขียว ลูกแก่มีสีส้ม มักขึ้นตามภูมิศาสตร์และสภาพอากาศที่มีความชื้นสูงมาก เช่น ป่าต้นน้ำ ป่าดิบชื้น หรือบริเวณลำห้วยที่มีน้ำไหลผ่านตลอดทั้งปี เก่อกรือทอ เป็นพืชที่มีฤทธิ์คันมาก โดยเฉพาะใบ แต่มีสรรพคุณทางยาในการรักษาอาการพิษจากบุ้ง (แมงบ้ง) ได้ผลดีมาก ซึ่งผู้ใช้ต้องมีความรู้และใช้ด้วยความระมัดระวัง โดยใช้ลำต้นตัดเป็นแผ่นบาง ๆ แล้วใช้เกลือทา มาประคบบริเวณที่ถูกพิษจากบุ้ง […]

  • เส่ซูควา (ตัวเมีย)

    เส่ซูควา (ตัวเมีย)

    by

    |

    in

    ชื่อท้องถิ่น (บ้านห้วยผักกูด) เส่ซูควา (ตัวเมีย) เส่ซูควา เป็นพืชและเป็นสมุนไพรท้องถิ่นชั้นดี เป็นพืชยืนต้นขนาดเล็ก มีลักษณะทางกายภาพ มีลำต้นตรง มีกิ่งห่าง ลำต้นมีสีครีมปนแดง มีใบกว้างสีเขียวเข้ม มักขึ้นตามภูมิศาสตร์ และสภาพอากาศที่มีความชื้นสูง เช่น ป่าต้นน้ำ ป่าดิบชื้น หรือบริเวณลำห้วยที่มีน้ำไหลผ่านตลอดทั้งปี เส่ซูควา ได้รับความนิยมอย่างมากและมีชื่อเสียงในท้องถิ่น จนได้รับการขนานนามว่า “ติ๊สี่พะโดะ” ซึ่งแปลว่า “ยาหลวง” เนื่องจากมีสรรพคุณทางยาที่หลากหลาย ใช้ได้ผลดีและรวดเร็ว สามารถรักษาได้ทั้งคนและสัตว์ โดยเฉพาะรักษาช้างที่ทำกันมายาวนาน รสชาติขม เป็นยาสมุนไพรที่รักษาแผลได้ทุกชนิด […]

  • มวีหมื่อ

    มวีหมื่อ

    by

    |

    in

    ชื่อท้องถิ่น (บ้านห้วยผักกูด) มวีหมื่อ มวีหมื่อ เป็นพืชและเป็นสมุนไพรท้องถิ่น เป็นพืชยืนต้นขนาดเล็ก มีลักษณะลำต้นโค้งงอ ลำต้นข้อแก่มีสีน้ำตาลอ่อน ลำต้นข้ออ่อนมีสีเขียวเข้ม ใบเรียวยาว และเป็นแฉกเล็ก ๆ รอบใบ ใบแก่มีสีเขียวเข้ม ใบอ่อนมีสีน้ำตาลอ่อน และมีดอกเป็นชุด ๆ สีเขียวอ่อนซึ่งจะเปลี่ยนเป็นลูกตามฤดูกาล มักขึ้นตามภูมิศาสตร์และสภาพอากาศที่มีความชื้นสูง เช่น ป่าต้นน้ำ ป่าดิบชื้น หรือบริเวณลำห้วยที่มีน้ำไหลผ่านตลอดทั้งปี มวีหมื่อ มีสรรพคุณทางยาในการรักษาอาการปวดข้อ ซึ่งได้รับความนิยมจากผู้สูงอายุอย่างมาก โดยวิธีการใช้ส่วนรากของพืชนำมาต้มน้ำ เพื่อดื่ม และนวดประคบบริเวณที่ปวด ไม่มีรสชาติ […]

  • โจโก

    โจโก

    by

    |

    in

    ชื่อท้องถิ่น (บ้านห้วยผักกูด ) โจโก โจโก เป็นพืชและเป็นสมุนไพรท้องถิ่น เป็นพืชยืนต้นขนาดเล็ก มีลักษณะใบกว้าง ใบแก่สีเขียวเข้ม ใบอ่อนสีเขียวปนเหลือง ลำต้นข้อแก่มีสีครีม ลำต้นข้ออ่อนสีเขียวเข้ม มีรากขนาดเล็กและตื้น และรากฝอยกระจาย รากโผล่เหนือพื้นดินประมาณ 10 ซม มักขึ้นตามภูมิศาสตร์และสภาพอากาศที่มีความชื้นสูง เช่น ป่าดิบชื้น ป่าต้นน้ำ หรือบริเวณลำห้วยที่มีน้ำไหลผ่านตลอดทั้งปี โจโก มีสรรพคุณทางยาในการรักษาอาการม้ามโตผิดปกติ โดยการใช้ส่วนรากของพืชมาต้มน้ำเพื่อดื่ม มีรสชาติขม ต้องดื่มอย่างต่อเนื่องจนกว่าม้ามจะเล็กลงและหายเป็นปกติ และหยุดดื่ม สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ทางช่อง Youtube […]