วัดบ้านโป่ง

ประวัติวัดบ้านโป่ง 

วัดบ้านโป่ง  ตั้งอยู่เลขที่153 หมู่ที่ 2 ตําบลแม่แฝก เขต 1 อําเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ สังกัด มหานิกาย 

ได้รับอนุญาตสร้างวัด วันที่ 15 มีนาคม 2421 ชื่อว่าเจ้าบ้านโป่ง รับพระราชทานวิสุงคามสีมา วันที่ 23 มิถุนายน 2470  ที่วัดบ้านโปงมีพื้นที่  2 ไร่ 3 งาน 36 ตาราง ที่ธรณีสงฆ์ 1 ไร่ 57 ตารางวา

แต่เดิมที่ดินตั้งวัดนี้เป็นที่ป่าทึบมาก พอทราบจากปากต่อปากว่าเคยมี พระธุดงค์สายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต มาพักบําเพ็ญภาวนา ผู้เรียบเรียงจึงสันนิษฐานว่า น่าจะเป็นจริงเพราะเมื่อสมัยก่อนนั้นเส้นทางการคมนาคม ความเป็นอยู่ของชาวบ้าน อยู่อย่างพอเพียงและแน่นแฟ้นในพระพุทธศาสนาในสถานที่นี้ จึงเป็นที่เหมาะกับครูบาอาจารย์จะมาหาที่สงัดบำเพ็ญเพียรได้เต็มที่และสถานที่ที่เป็นดินโปร่งมีกลิ่นหอม จะมีสัตว์นานาชนจนแวะเพื่อกินดินโป่ง ในช่วงนั้นมีชาวบ้านพักอาศัยอยู่ที่ดินผืนนี้ อยู่ประมาณ 7-8 ครอบครัวได้ร่วมแรงร่วมใจกันพัฒนาที่ดินผืนนี้ประกอบการเกษตร เพราะอยู่ใกล้แหล่งน้ำ อีกทั้งได้ร่วมกันสร้างวัดขึ้นเพื่อเป็นที่พักทางใจและเป็นสถานที่ ประกอบกิจทางพระพุทธศาสนา

ทั้งนี้ชาวบ้านยังได้พบเรือไม้โบราณ และวัตถุโบราณ เป็นสมบัติอันมีค่าของแผ่นดินล้านนา ในแม่น้ำปิง บริเวณหมู่บ้านโป่ง หมู่ที่ 2 ตำบลแม่แฝก อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2542 สำนักงานโบราณคดี และพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติที่ 6 เชียงใหม่ เข้าสำรวจพบว่า ชาวบ้านได้ช่วยกันกู้ซากเรือขึ้น ได้พบก้อนหินทรายสีชมพู จำนวน 42 ก้อน กระดูกสัตว์ขนาดใหญ่ 1 ชิ้น ผางประทีปดินเผา 1 ชิ้น และเศษภาชนะดินเผา 2 ชิ้น ขวานเหล็กมีบ้อง 1 ชิ้น รวมทั้งเรือไม้ขนาดใหญ่ 1 ลำ

เรือที่พบนี้มีลักษณะเป็นเรือโบราณที่ใช้ในสมัยล้านนาและรัตนโกสินทร์ มีลักษณะเป็นเรือไม้ขนาดใหญ่ (เรือขุด) ขุดจากไม้ซุงขนาดใหญ่ท่อนเดียว ไม่มีการตัดต่อ มีขนาดความยาวประมาณ 12 เมตร กว้าง 1.13 เมตร เรือไม่มีการตกแต่ง ใช้ประโยชน์เพื่อบรรทุกสิ่งของ พบโบราณวัตถุที่สามารถกำหนดอายุสมัย ของผางประทีปดินเผาเคลือบสีเขียวมะกอก มีอายุสมัยช่วงพุทธศตวรรษที่ 21 – 22 ดังนั้น เรือโบราณลำนี้สันนิษฐานว่า มีอายุสมัยปลายล้านนาลงมาถึงสมัยรัตนโกสินทร์ และนำมาเก็บไว้ที่วัดบ้านโป่ง

Author: Yaowapa Kuankhum

Photograph by Asek Petfuang