วัดเก่าแก่ที่ซ่อนตัวบนภูเขาหลังอ่างเก็บน้ำห้วยโจ้ เป็นวัดที่มีตำนานที่เล่าขานกันมาเกี่ยวกับการสร้างวัดตั้งแต่สมัยมีการสร้างเมืองเชียงใหม่ ตำนานเกี่ยวกับ ”พระบิ่นหลังต๋ำ” แห่งวัดดอยแท่นพระผาหลวง ตัววัดตั้งอยู่ที่ ต.ป่าไผ่ อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ จากเส้นทางถนน เชียงใหม่-พร้าว ขับรถมาเรื่อย ๆ เลยตลาดแม่โจ้ไปกลับรถที่หน้าศูนย์วิจัยพืชไร่ และมีเลี้ยวเข้าซอยขวามือทางไปอ่างเก็บน้ำห้วยโจ้ ขับรถตามเส้นทางไปเรื่อย ๆ จะมีทางเลี้ยวซ้ายเข้าไปที่อ่างเก็บน้ำห้วยโจ้ เส้นทางผ่านป่าชุมชน พอเลยอ่างเก็บน้ำห้วยโจ้ขึ้นไป จะมองเห็นพระนอนองค์ใหญ่สีเหลืองอร่าม อยู่บริเวณตีนเขา มีปู่เทพอสูร คอยปกปักรักษาพื้นที่ของวัด และ เพื่อรอรับพุทธศาสนิกชนที่จะขึ้นไปสักการะพระพุทธรูปในตำนาน “พระบิ่นหลังต๋ำ” ซึ่งเป็นภาษาเหนือ “บิดหลัง” คือการหันหลัง พระประธานที่นี้ จะมีลักษณะพิเศษคือ แทนที่จะหันหน้ามาทางศัทธาที่เข้าไปกราบไหว้บูชา แต่กลับหันหลังให้ มีที่เดียวในประเทศไทย นอกจากนั้น ยังมีวิหารที่เก่าแก่สร้างตั้งแต่สมัยพระเจ้ากือนา เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ อายุประมาณ 600 กว่าปี ยังคงหลงเหลือร่องรอยของจารึกพระนามของพระเจ้ากือนา พระมเหษี พระราชนิกูล พร้อมทั้งข้าราชบริพารทั้งหลาย ในเหล็กซีกรงที่สร้างเป็นรั้วเหล็กรอบพระแท่นศิลา แท่นศิลานี้มีเรื่องมีเรื่องเล่าเกี่ยวกับนายพรานที่ทำการล่าสัตว์ป่า และนำไปชำแหละที่แท่นศิลาแห่งนี้เป็นเหตุให้วิศนุกรมเนรมิตกายเป็นหมูป่ามางัดแท่นศิลาให้พลิกตะแคงคว่ำลง ทั้งนี้ บริเวณที่ล้อมรั้วไว้ ยังมีการปั้นรูปปั้นหมูป่าเอาไว้ด้วย และในบริเวณวัดยังมีรูปปั้นพรานป่า ไว้ด้วย ในวิหารหลังดังกล่าว ยังมีจารึกแผ่นไม้ เป็นอักษรล้านนา หรือตั๋วเมือง เกี่ยวกับการปฎิสังขรพระวิหารในปี พ.ศ.2357 ด้วย
บริเวณวัดยังมีพระพุทธธาตุเจดีย์ศรีผาหลวง ตั้งตงาดอยู่บนยอดเขา มีทางบันไดนากทอดยาวจนถึงตัวองค์เจดีย์ ซึ่งบรรจุพระบรมสารีริกธาตุพระพุทธเจ้าและพระตระกูลลำพูน 100,000 องค์ ด้านบนยอดเจียด์ประด้วยมรกตหนัก 5 กก. แกะเป็นรูปดอกบัว บริเวณวัดด้านล่างมีศาลาที่เก็บต้นตะเคียนขนาดใหญ่ และเป็นสักการะบูชาของชาวบ้านไว้ด้วย สามารถมาขอโชคขอลาภ ตามความเชื่อของผู้ที่มาสักการะ ณ วัดแห่งนี้
วัดดอยแท่นพระผาหลวง มีเนื้อที่ประมาณ 150 ไร่ มีพระจำวัดทั้งหมด 4 รูป