ชีวประวัติของ ศาสตราจารย์ ดร.วิภาต บุญศรี วังซ้าย

by

|

in

ศาสตราจารย์ ดร.วิภาต บุญศรี วังซ้าย เป็นปูชนียบุคคล ที่ชาวแม่โจ้ให้ความรักเคารพนับถือและอยู่ในดวงใจของพวกเราตลอดมา โดยท่านได้สร้างคุณูปการแก่แม่โจ้มากมาย สิ่งที่ควรยกย่องในการทำงานของท่าน ศาสตราจารย์ ดร. วิภาต บุญศรี วังซ้าย ทั้งชีวิต การเรียน และการทำงานที่ควรนำมาเป็นแบบอย่างให้แก่ลูกแม่โจ้ อาทิ ท่านเป็นนักประชาธิปไตยตัวอย่าง ,เป็นผู้มีเมตตาธรรม,เป็นผู้มีความคิดและพัฒนางานใหม่ ,เป็นนักพัฒนาชนบท,เป็นผู้ส่งเสริมทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมไทย ,เป็นนักปกครองที่ดีเยี่ยม , เป็นครูที่ประเสริฐ และ เป็นผู้มีความสมถะ

ศาสตราจารย์ ดร.วิภาต บุญศรี วังซ้าย คือปูชนียบุคคล ของชาวแม่โจ้ เป็นผู้ให้วลีอมตะ “งานหนักไม่เคยฆ่าคน” ไว้ แก่ลูกแม่โจ้ทุกคน

ชีวประวัติของ ศาสตราจารย์ ดร.วิภาต บุญศรี วังซ้าย

 2459 พ.ศ. 2459

ศาสตราจารย์ ดร.วิภาต บุญศรี วังซ้าย เกิดเมื่อวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2459 ที่บ้านสันกลาง ตำบลในเวียง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ เป็นบุตรคนที่ 7 ของนายบุญมา (บุตรเจ้ามหาชัย วังซ้าย) และ นางบัวเกี๋ยง วังซ้าย
ต้นตระกูลของ ศ.ดร.วิภาต มาจากเชียงแสน ชื่อพระยาหัวเวียงแก้ว และบรรดาลูกชายซึ่งมีศักดิ์เป็นปู่ของท่านคือ เจ้ามหาจักร์ เจ้ามหาชัย เจ้ามหาเทพ เจ้ามหาพรหม ทั้งหมดที่เอ่ยชื่อดังกล่าวถือเป็นต้นตระกูล “วังซ้าย”
เจ้ามหาจักร์นั้นสมรสกับธิดาของเจ้าวังซ้ายอันเป็นศักดินาเทียบวังซ้าย วังขวา แบบวังหน้าวังหลัง เมื่อเจ้าวังซ้ายทิวงคตลงในเวลาต่อมา เจ้ามหาจักร์ก็ได้รับการแต่งตั้งให้รับบรรดาศักดิ์เป็นเจ้าวังซ้ายจากเจ้าหลวง เมืองแพร่
ต่อมาได้มีพระราชบัญญัติใช้นามสกุลขึ้น ท่านจึงใช้ “วังซ้าย” เป็นนามสกุลสืบต่อมา
ส่วนเจ้าคุณปู่โดยตรงของท่าน ศ.ดร. วิภาต คือเจ้ามหาชัย นั้นมีบุตรชายชื่อ บุญมา วังซ้าย คือบิดาของท่าน ศ.ดร. วิภาต
ศ.ดร. วิภาต มีพี่น้องรวม 8 คน ดังนี้
1 นายคำปัน วังซ้าย (ภายหลังเปลี่ยนสกุลเป็น “ชยันตราคม”)
2 นางคำป้อ วังซ้าย (ใช้นามสกุลสามี “อินทราวุธ”)
3 นางคำป่าย ววังซ้าย (ใช้นามสกุลสามนีเป็น “โสภา”)
4 นางสมนา วังซ้าย (ใช้นามสกุลสามีเป็น “ไพชยนตร์”)
5 นางไฮแก้ว วังซ้าย (ใช้นามสกุลสามีเป็น “อนันตจิตร”)
6 นางบุญปั๋น วังซ้าย (ใช้นามสกุลสามีเป็น “ทิพย์วิชัย”)
7 นายบุญศรี วังซ้าย (ภายหลังเพิ่มชื่อเป็น วิภาต บุญศรี วังซ้าย)
8 นางบัวเขียว วังซ้าย (ใช้นามสกุลสามีเป็น “โกศัยเสวี” และชื่อใหม่เป็น “อรพรรณ”)

 2476-3 พ.ศ. 2476

ชีวิตเมื่อเยาว์วัย
ท่านเริ่มเข้าเรียนในชั้นประถมศึกษาที่โรงเรียนวัดหลวง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่
ชั้นมัธยมศึกษาเรียนที่โรงเรียนพิริยาลัย จังหวัดแพร่ จบการศึกษาชั้นมัธยมปีที่ 6 จากนั้นท่านจึงเดินทางมาจังหวัดเชียงใหม่ เข้าศึกษาต่อชั้นมัธยมปีที่ 7 ที่โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่ ในปี พ.ศ. 2476

 page023-copy-19 page025-copy-9-1 พ.ศ. 2477

ท่านเรียนอยู่ที่โรงเรียนยุพราชได้เพียงปีเดียว ก็ได้มีการจัดตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรมแม่โจ้ขึ้นที่แม่โจ้ ท่านจึงย้ายมาเรียนต่อที่โรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรมแม่โจ้ เป็นรุ่นแรก เมื่อปี พ.ศ. 2477 ซึ่งถือเป็นรุ่นบุกเบิกและสร้างแม่โจ้ โดยมีพระช่วงเกษตรศิลปการ (ช่วง โลจายะ) เป็นอาจารย์ใหญ่และหัวหน้าสถานีทดลองกสิกรรมแม่โจ้อีกด้วย ท่านย้ายมาเรียนแม่โจ้ก็เพราะเห็นว่า เมื่อจบการศึกษาที่แม่โจ้แล้วก็สามารถรับราชการในกระทรวงเกษตราธิการ มีโอกาสที่จะขยับขยายที่ทำงานและการเรียนต่อให้สูงขึ้นไปได้

 พ.ศ. 2478

หลังจากเรียนจบ ในปี พ.ศ. 2478 อาจารย์วิภาต ได้เข้าบรรจุทำงานเป็นพนักงานเกษตกรรมผู้ช่วย ชั้น 2 ที่แผนกยาง กองขยายการกสิกรรม กรมเกษตรและการประมง จังหวัดสงขลา

พ.ศ. 2481

ท่านสามารถสอบชิงทุนหลวงเพื่อไปศึกษาต่อต่างประเทศที่ฟิลิปปินส์ ในระดับปริญญาตรีที่คณะเกษตร มหาวิทยาลัยฟิลิปปินส์ เมืองลอสบานยอส (University of the Philippines Los Baños : UPLB) ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยแห่งชาติ โดยความช่วยเหลือสนับสนุนจากรัฐบาลสหรัฐอเมริกา ส่งทีมอาจารย์จากมหาวิทยาลัยคอร์แนลมาช่วยด้านการศึกษาที่คณะเกษตรและป่าไม้แห่งนี้ ท่านเลือกเรียนสาขาเศรษฐศาสตร์ ตามความต้องการของกรมเกษตรและการประมง โดยใช้เวลาศึกษาเพียงสามปีครึ่งก็จบการศึกษา

 2481 พ.ศ. 2484

ท่านได้เข้ารับราชการเป็นอาจารย์ที่โรงเรียนเตรียมเกษตรศาสตร์แม่โจ้ ในตำแหน่งอาจารย์ผู้ปกครองนานถึง 6 ปึ

พ.ศ. 2489

อาจารย์วิภาต ได้ลาออกจากราชการที่แม่โจ้ เพื่อสมัครรับเลือกตั้งเป็นมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดแพร่ และได้ดำรงตำแหน่งเป็นเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์  ในปี พ.ศ. 2491 มีการยุบสภาผู้แทนราษฎร ด้วยมรสุมทางการเมือง ท่านจึงอำลาชีวิตการเมือง ไปเป็นเกษตรกรทำไร่ที่อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา

 replace2499 พ.ศ. 2497

หลวงปราโมทย์ จรรยาวิภาต ซึ่งดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมอาชีวศึกษาขณะนั้น ขอร้องให้ท่านไปช่วยแม่โจ้ซึ่งเป็นช่วงที่ขาดผู้บริหารโรงเรียนเกษตรกรรมแม่โจ้ เพราะเสียดายวิชาความรู้ ความสามารถ อยากให้ไปช่วยปรับปรุงแม่โจ้ ท่านจึงได้รับแต่งตั้งให้เป็นอาจารย์ใหญ่ชั้นเอก ของโรงเรียนเกษตรกรรมแม่โจ้ กองโรงเรียนเกษตรกรรม กรมอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ

 picture_2013-10-28_1125 พ.ศ. 2499

กรมอาชีวศึกษาได้ปรับยกฐานะของโรงเรียนเกษตรกรรมแม่โจ้เป็นวิทยาลัยเกษตรกรรมเชียงใหม่ พร้อมกันนี้ก็ได้ปรับเลื่อนตำแหน่งอาจารย์ใหญ่ของอาจารย์วิภาต บุญศรี วังซ้าย  เป็นผู้อำนวยการวิทยาลัยฯ ชั้นพิเศษ

พ.ศ. 2500

ขณะดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการวิทยาลัยเกษตรกรรมเชียงใหม่ ได้รับทุนดูงานในประเทศสหรัฐอเมริกา หลังจบโครงการดูงานก็ได้รับอนุมัติให้อยู่ศึกษาต่อจนจบการศึกษาระดับปริญญาโท (M.S.in Agriculture) จากมหาวิทยาลัยโอคลาโฮมา (Oklahoma State University) ปี พ.ศ. 2502

 img_0176 พ.ศ. 2518

วิทยาลัยเกษตรกรรมเชียงใหม่ ได้รับการสถาปนาเป็น สถาบันเทคโนโลยีการเกษตร เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518 และได้รับโปรดเกล้าฯ ให้ อาจารย์วิภาต บุญศรี วังซ้าย เป็นอธิการบดี สถาบันเทคโนโลยีการเกษตร (พ.ศ. 2518 – พ.ศ. 2526)

 img_0222 พ.ศ. 2527

ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ศาสตราจารย์พิเศษ และรับพระราช ทานปริญญา “เทคโนโลยีการเกษตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์” สาขาส่งเสริมการเกษตร อาจารย์วิภาต บุญศรี วังซ้าย ท่านได้ทำหน้าที่บริหารสถานศึกษาแม่โจ้เรื่อยมาจนถึงวาระสุดท้ายของชีวิต (30 ตุลาคม 2527)

ชีวิตงานเกษตรกร ตำนาน “คนต้นแบบคาวบอยลูกแม่โจ้”


 page049
อาจารย์ วิภาต บุญศรี วังซ้าย หันเหชีวิตไปทำฟาร์มปลูกผักส่งตลาดกรุงเทพ ที่อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา อยู่ถึง 7 ปี นับตั้งแต่มีการยุบสภาผู้แทนราษฎรเมื่อปี พ.ศ. 2491 ท่านเล่าว่าชีวิตในช่วงนั้นต้องต่อสู้กับระบบการตลาดเรื่องการขนส่งผลผลิตทางการเกษตรสู่ตลาดปลายทางที่กรุงเทพ แม้การผลิตจะได้ผลดีอย่างไร แต่หากต้องผ่านระบบการขนส่งซึ่งเป็นปัญหาด่านแรกที่จะนำผลผลิตออกสู่ตลาดได้ก็ไม่สดหรือทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการตกแต่งสินค้าใหม่ นอกจากเสียค่าแรงเพิ่มขึ้นแล้วยังทำให้น้ำหนักของลดลงไปอีกด้วย

img_0181
ในฟาร์มที่ท่านดูแลบริหารงานอยู่นั้น มียานพาหนะจำกัดเพื่อการขนส่งเท่านั้น การเดินทางตรวจงานหรือดูแลการทำงานของคนงานในฟาร์มมีเพียงจักรยานเท่านั้น ข้อจำกัดอันนี้เองทำให้ท่านต้องฝึกการขี่และบังคับม้าสำหรับทำงานจนสามารถขี่ม้าได้ในเวลาต่อมา กลับเป็นผลดีเพราะนอกจากไม่ต้องเปลืองน้ำมันแล้วจะต้องขี่ม้าเป็นคาวบอยไปรอบๆ ฟาร์ม
อาจารย์วิภาต บุญศรี วังซ้าย ทำงานหนักเพื่อแก้ปัญหางานผลิตในฟาร์มซ้ำแล้วซ้ำเล่า ทำให้ประสบการณ์ชีวิตท่านแข็งแกร่ง ทรหดอดทนในการทำงานไม่ท้อถอยและยอมแพ้ต่อปัญหา การดำเนินชีวิตที่ผ่านอุปสรรคมาได้จึงทำให้เกิดปรัชญาความจริงของชีวิตซึ่งกลายมาเป็นเอกลักษณ์ของลูกแม่โจ้ด้วยวลีอมตะของท่าน “งานหนักไม่เคยฆ่าคน” จากประสบการณ์จริงแห่งชีวิตของคนต้นแบบคาวบอยลูกแม่โจ้ท่านนี้

 

องค์การเกษตรกรในอนาคตแห่งประเทศไทย (Future Farmers of Thailand: FFT : Maejo Chapter)

img_0186

ก่อตั้งครั้งแรกในประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. 2504 ที่วิทยาลัยเกษตรกรรมเชียงใหม่ (แม่โจ้) โดยนำแนวคิดและการปฏิบัติดำเนินงานขององค์การเกษตรกรในอนาคตแห่งอเมริกา (Future Farmers of America: FFA) มาปรับกิจกรรมให้เหมาะสมกับแนวการเรียนการสอนอาชีวเกษตรและให้เหมาะกับประเทศไทย หน่วยแรกจัดตั้งและดำเนินงานที่แม่โจ้เรียกชื่อว่า องค์การเกษตรกรในอนาคตแห่งประเทศไทย หน่วยแม่โจ้ (Future Farmers of Thailand: FFT : Maejo Chapter) นำโดยอาจารย์วิภาต บุณศรี วังซ้าย, อาจารย์ประสงค์ วรยศ, อาจารย์สุรพล สงวนศรี, อาจารย์บุญธรรม เทศนา, อาจารย์บุญ กล่อมจอหอ และอาจารย์สราญ เพิ่มพูล

โครงการเกษตรกรหนุ่มแห่งประเทศไทย (Young Farmers Pilot Project of Thailand)

_mon0105

อีกกิจกรรมหนึ่งที่อาจารย์วิภาต บุญศรี วังซ้าย ร่วมกับคณาจารย์จัดให้มีขึ้นครั้งแรกและแห่งเดียวในประเทศไทยขณะนั้น คือ โครงการเกษตรกรหนุ่มแห่งประเทศไทย (Young Farmers Pilot Project of Thailand : YTF) จัดตั้งขึ้นที่วิทยาลัยเกษตรกรรมเชียงใหม่ ในระหว่างปี พ.ศ. 2510-2512 รวม 3 รุ่น มีวัตถุประสงค์เพื่อเปิดโอกาสให้เยาวชนผู้ที่จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หรือ ม.ศ. 3 ทั่วไป ได้เข้ารับการฝึกอบรมความรู้พื้นฐานการเกษตร ที่เน้นฝึกปฏิบัติจริง มีระยะเวลาฝึกอบรม 1 ปีการศึกษา โดยมีคณาจารย์ของแม่โจ้เป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ด้านการเกษตร และความรู้อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง พวกเด็กหนุ่มที่เข้ารับการฝึกอบรมจะถูกเรียกขานว่า “ยังฟาร์มเมอร์” ตามชื่อภาษาอังกฤษของโครงการ

ที่มา :

1 หนังสืออนุสรณ์ 100 ปีชาตกาลอาจารย์บุญศรี คนต้นแบบลูกแม่โจ้ “งานหนักไม่เคยฆ่าคน”

2 อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพศาสตราจารย์ ดร.วิภาต บุญศรี วังซ้าย