
ชีวประวัติ
อำมาตย์โท พระช่วง เกษตรศิลปการ (ช่วง โลจายะ) เกิดเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2442 ตรงกับวันพฤหัสบดี ขึ้น 13 ค่ำ เดือน 8 ปีกุน ที่บ้านแช่ ตำบลพระประแดง อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ เป็นบุตรของ ร.อ.หลวงศรีพลแผ้ว ร.น. (ขาว โลจายะ) และ นางทองหยด มีพี่น้อง 2 คน ได้แก่
1. หลวงนรการวิสุทธิ์ (นา โลจายะ)
2. พระช่วง เกษตรศิลปการ (ช่วง โลจายะ)
ได้สมรสกับ นางสาวสำอางค์ ไรวา ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2531 สิริรวมอายุได้ 88 ปี 5 เดือน 21 วัน มีบุตรและธิดารวม 6 คน คือ
1. คุณชื่นสุข โลจายะ
2. แพทย์หญิงปานทิพย์ วิริยะพานิช
3. ศาสตราจารย์ ดร. ลิรินทร์ พิบูลนิยม
4. ศาสตราจารย์ นายแพทย์ สมชาติ โลจายะ
5. พันตำรวจตรี สมชัย โลจายะ
6. นายชวาล โลจายะ
การศึกษา
-
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 3
เรียนที่โรงเรียนวัดทรงธรรม ตำบลพระประแดง อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ -
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 – 3
เรียนที่โรงเรียนมัธยมวิทยาวัดสุทัศน์ พระนคร -
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 – 8
เรียนที่โรงเรียนวัดราชบูรณะ (ต่อมาคือโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย) แผนกภาษาอังกฤษ-
สอบได้ที่ 1
-
ได้รับเกียรตินั่งเรียนที่โต๊ะพระราชทาน
-
ใช้เวลาว่างเรียนดนตรีไทยไปด้วย
-
- ระดับอุดมศึกษา
-
- สอบได้ทุนหลวงจากกระทรวงธรรมการ เพื่อไปศึกษาชั้นปริญญาตรีวิชาช่างที่ประเทศสหรัฐอเมริกา
-
-
แต่ในขณะนั้นเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 การเดินทางทางเรือไม่ปลอดภัย เรือโดยสารมักถูกโจมตี
-
ทางราชการจึงให้ผู้ที่ได้รับทุนไปศึกษาที่ประเทศฟิลิปปินส์แทน
-
เริ่มเรียนวิชาช่างที่กรุงมะนิลา ประมาณ 3 เดือน
-
ต่อมาได้ย้ายไปเรียนทางด้านวิชาเกษตร ที่คณะเกษตร มหาวิทยาลัยฟิลิปปินส์ เมืองลอสบานญอส มณฑลลากูนา เรียนอยู่ 2 ปี
-
พ.ศ. 2463 สงครามโลกสงบลง
ทางราชการให้ย้ายจากฟิลิปปินส์ไปเรียนต่อปีที่ 3 – 4 และเรียนต่อระดับปริญญาโท
ที่มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน ประเทศสหรัฐอเมริกา จนสำเร็จการศึกษาในปี พ.ศ. 2467
-
การวัติการทำงาน
-
พ.ศ. 2460
ครูฝึกหัดสอน โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย -
พ.ศ. 2461
ศึกษาวิชาเกษตรที่ประเทศฟิลิปปินส์ รวม 2 ปี -
พ.ศ. 2463 – 2466
ศึกษาวิชาเกษตรระดับปริญญาตรีและปริญญาโทที่มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน ประเทศสหรัฐอเมริกา รวม 4 ปี -
พ.ศ. 2467
ดำรงตำแหน่งอาจารย์ประจำกระทรวงธรรมการ -
พ.ศ. 2468
อาจารย์ โรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรม อำเภอบางสะพานใหญ่ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ -
พ.ศ. 2469
อาจารย์ โรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรม ตำบลทับกวาง จังหวัดสระบุรี -
พ.ศ. 2471
อาจารย์วิทยาศาสตร์ โรงเรียนมัธยมวัดเทพศิรินทร์ พระนคร -
พ.ศ. 2472
อาจารย์วิทยาศาสตร์ โรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย และผู้กำกับคณะ พระนคร -
พ.ศ. 2473–2475
-
ผู้ฝึกสอนวิชากสิกรรมแก่นายทหารชั้นผู้บังคับกองร้อย ในกระทรวงกลาโหม
-
หัวหน้าแผนกกองเสบียงอาหารสัตว์
-
เลขานุการคณะกรรมการปรับปรุงพันธุ์ม้า กองทัพบก
-
-
พ.ศ. 2476–2481
หัวหน้าสถานีทดลองกสิกรรม ภาคพายัพ ห้วยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ -
พ.ศ. 2477–2481
อาจารย์ใหญ่ โรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรม ห้วยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ -
พ.ศ. 2478–2481
อาจารย์ใหญ่ โรงเรียนมัธยมวิสามัญเกษตรกรรม ห้วยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ -
พ.ศ. 2481
-
ผู้อำนวยการวิทยาลัยเกษตรศาสตร์แม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่
-
ผู้รักษาการในตำแหน่งอธิบดีกรมเกษตรและการประมง กระทรวงเกษตราธิการ
-
ผู้อำนวยการกองวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรมเกษตรและการประมง
-
-
พ.ศ. 2481–2491
อธิบดีกรมเกษตรและการประมง กระทรวงเกษตราธิการ -
พ.ศ. 2486–… (ข้อมูลปีไม่สมบูรณ์)
คณบดีคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน -
พ.ศ. 2488
ผู้อำนวยการโรงงานยาลูบ กระทรวงการคลัง -
พ.ศ. 2489–2491
รักษาการในตำแหน่งอธิบดีกรมปศุสัตว์และสัตว์พาหนะ -
พ.ศ. 2491
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ (ครั้งที่ 1) -
พ.ศ. 2492–2494
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ (ครั้งที่ 2) -
พ.ศ. 2493–2494
-
สมาชิกวุฒิสภา
-
นายกสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน
-
-
พ.ศ. 2497
-
ผู้จัดการบริษัทสากลประกันภัย (ในเครือธนาคารเกษตร)
-
กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารเกษตร (ปัจจุบันคือธนาคารกรุงไทย)
-
-
พ.ศ. 2499–2502
ทูตฝ่ายวัฒนธรรม และผู้ดูแลนักเรียนไทยประจำประเทศสหรัฐอเมริกา -
พ.ศ. 2503–2504
ผู้อำนวยการไร่ เอส.อาร์. อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี -
พ.ศ. 2506
กรรมการบริหาร และผู้อำนวยการวิทยาลัยพาณิชย์ของสมาคมพ่อค้าไทย -
พ.ศ. 2518–2521
นายกสภาสถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่
ภารกิจพิเศษ / กรณีพิเศษ
- พ.ศ. 2485
-
ประธานคณะกรรมการส่งเสริมการเกษตรและการค้า (ส.ก.ค.)
-
นายกสมาคมส่งเสริมการเลี้ยงไก่แห่งประเทศไทย
-
กรรมการอุตสาหกรรมโรงงานน้ำตาลและการจัดตั้งโรงงาน
-
กรรมการจัดตั้งนิคมสร้างตนเอง กรมประชาสงเคราะห์
-
กรรมการที่ปรึกษาองค์การทหารผ่านศึก
-
ประธานคณะกรรมการเจรจาซื้อโรงงานยาสูบ (จากบริษัท บี.อ.ที.)
-
- พ.ศ. 2491
- หัวหน้าคณะผู้แทนรัฐบาลไทย เข้าร่วมประชุมองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ณ กรุงวอชิงตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา
- พ.ศ. 2493
- กรรมการป้องกันราชอาณาจักร
- กรรมการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
- กรรมการองค์การข้าว กระทรวงเศรษฐการ
การได้รับยศและบรรดาศักดิ์
-
พ.ศ. 2468
ได้รับพระราชทานยศและบรรดาศักดิ์ -
พ.ศ. 2469
ได้รับพระราชทานยศ รองอำมาตย์เอก -
พ.ศ. 2475
ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น หลวงช่วงเกษตรศิลปการ
ต่อมาได้รับพระราชทานยศ อำมาตย์โท และเลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น พระช่วงเกษตรศิลปการ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
-
25 ก.พ. 2468
เหรียญบรมราชาภิเษก เงิน รัชกาลที่ 7 -
11 พ.ค. 2480
ตริตราภรณ์มงกุฎสยาม (ต.ม.) -
20 ก.ย. 2482
ตริตราภรณ์ช้างเผือก (ต.ช.) -
20 ก.ย. 2483
ทวิติยาภรณ์มงกุฎไทย (ท.ม.) -
30 ก.ย. 2485
ทวิติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)
เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.) -
19 ก.ย. 2486
ปฐมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.) -
10 ธ.ค. 2492
ปฐมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.) -
5 ส.ค. 2494
มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)
เกียรติคุณและรางวัลพิเศษ
-
พ.ศ. 2494
ได้รับมอบตราและสายสะพายชั้นสูงของประเทศสเปน โดยจอมพลฟรังโก ผู้นำประเทศสเปน เป็นประธานมอบให้ -
พ.ศ. 2506
ได้รับประกาศเกียรติคุณ “นิสิตเก่าดีเด่น” ของมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน สหรัฐอเมริกา
ได้รับโล่นิสิตเก่าดีเด่นของสมาคมศิษย์เก่าคณะเกษตร มหาวิทยาลัยฟิลิปปินส์ โดย ฯพณฯ มาร์กอส ประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ เป็นประธานมอบ -
พ.ศ. 2507
ได้รับพระราชทานปริญญา กสิกรรมและสัตวบาลดุษฎีบัณฑิต (กิตติมศักดิ์) จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ -
พ.ศ. 2525
ได้รับพระราชทานปริญญา เทคโนโลยีการเกษตรดุษฎีบัณฑิต (กิตติมศักดิ์) จากสถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้ -
พ.ศ. 2527
ได้รับ โล่เกียรติคุณ ในฐานะนักวิทยาศาสตร์อาวุโสผู้มีผลงานดีเด่นของประเทศไทย โดยสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (มอบในวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ วันที่ 18 สิงหาคม 2527)
เอกสารการแต่งตั้งนายกสภาสถาบันเทคโนโลยีการเกษตร