มหาวิทยาลัยแม่โจ้

  • อาคารช่วงเกษตรศิลป์

    อาคารช่วงเกษตรศิลป์

    by

    |

    in

    อาคารช่วงเกษตรศิลป์ เป็นอาคารตึกครึ่งไม้ มีพื้นที่ใช้สอยประมาณ 1,863 ตารางเมตร หลังคาทรงปั้นหยา ปีงบประมาณที่ได้มา พ.ศ. 2498 ใช้งบประมาณการก่อสร้าง 1,700,000 บาท โดยให้ชื่อเป็นเกียรติแก่พระช่วงเกษตรศิลปการ ผู้ก่อตั้งโรงเรียนฝึกหัด ครูประถมกสิกรรมภาคพายัพ แต่เดิมอาคารนี้ใช้เป็นอาคารอํานวยการของโรงเรียน   เคยใช้เป็นอาคารจัดการเรียนการสอนของสาขาวิชาบริหารธุรกิจการเกษตร สํานักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตรกองบริการการศึกษา และคณะพัฒนาการท่องเที่ยว มาตามลําดับ แหล่งที่มา : หนังสือบันทึกแม่โจ้ ความคิด ชีวิต ตำนาน มหาวิทยาลัยแม่โจ้

  • ตราสัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัยแม่โจ้

    ตราสัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัยแม่โจ้

    by

    |

    in

    ตราสัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้นำพระพิรุณทรงนาคเป็นตราสัญลักษณ์มาตั้งแต่เริ่มก่อตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรม และได้ถูกเปลี่ยนแปลงให้สอดคล้องและเหมาะสมกับยุคสมัย จวบจนปัจจุบันมหาวิทยาลัยได้มีการปรับเปลี่ยนตราสัญลักษณ์ดังกล่าวประมาณ 10 แบบ เป็นสัญลักษณ์ของหน่วยงานราชการที่เกี่ยวกับการเกษตร ตราสัญลักษณ์แรก ตราสัญลักษณ์ของโรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรมภาคเหนือ เมื่อปี พ.ศ. 2477 ได้นำพระพิรุณทรงนาค ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของหน่วยงานราชการที่เกี่ยวกับการเกษตรมาเป็นตราสัญลักษณ์ขึ้นในปีเปิดการศึกษาแรก พ.ศ. 2477 ตราสัญลักษณ์ ครั้งที่ 2 โรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรม ภาคเหนือมีการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพอีกหลายครั้ง จนเป็นวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และได้ย้ายจากแม่โจ้ไปตั้งที่บางเขน แม่โจ้ได้ถูกจัดตั้งเป็น “โรงเรียนเตรียมวิทยาลัยเกษตรศาสตร์” ตราสัญลักษณ์ของแม่โจ้ จึงมีการเปลี่ยนแปลง เป็นแบบที่ 2 […]

  • วิหารอุรวดี

    วิหารอุรวดี

    by

    |

    in

    วิหารอุรวดี การสร้างอุรวดีวิหารเป็นสิ่งพิสูจน์โลกวิญญาณ ปลายปี 2533 ดวงวิญญาณของ “พระนางอุรวดี” (นามแฝง) ได้มาขอให้จัดสร้างศาลาธรรมครอบสิ่งศักดิ์สิทธิ์เดิม บริเวณใกล้ อาคารหอสมุดแม่โจ้ เพื่อสร้างกุศลปลดปล่อยดวงวิญญาณที่ติดค้างอยู่ในแผ่นดินแม่โจ้ จำนวนมาก โดย “ท่านอุรวดี” เป็นผู้กำหนดรูปแบบทิศทางตำแหน่งของศาลาพระพุทธรูปที่จะนำมาไว้ พระบรมสารีริกธาตุ พระธาตุและพิธีกรรม ได้ตรวจสอบข้อมูลกับหลวงพ่อฤๅษีลิงดำ หลวงปู่สิม พุทธาจาโร หลวงปู่ครูบาชัยวงษา, หลวงปู่สาม อากิญจโน พระมหาทองอินทร์ กุสลจิตโต (พระพิสีพิศาลคุณ) ทุกท่านย้ำว่าเป็นเรื่องจริง การก่อสร้างเป็นการบริจาคของผู้มีจิตศรัทธาทั้งหมด 100 เปอร์เซ็นต์ การบริจาคส่วนใหญ่ อยู่ในรูปวัสดุ เช่น กรวด หิน ดิน […]

  • อ่างเก็บน้ำห้วยโจ้ ทะเลสาบแห่งผืนป่าบ้านโปง

    อ่างเก็บน้ำห้วยโจ้ ทะเลสาบแห่งผืนป่าบ้านโปง

    by

    |

    in

       เมื่อมีคนถามว่าแม่โจ้มีสถานที่สวย ๆ หรือเปล่า ตอบเลยว่ามีค่ะ มีหลายที่ด้วย และหนึ่งในนั้นคือ อ่างเก็บน้ำห้วยโจ้ ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ  ไม่ไกลจากมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ที่มีความสวยงามไม่แพ้ที่ใด  อ่างเก็บน้ำห้วยโจ้ ตั้งอยู่บริเวณชุมชนบ้านโปง ตำบลป่าไผ่ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ เป็นโครงการในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ รัชกาลที่ 9 ได้มีพระราชดำริเกี่ยวกับงานชลประทาน  เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2527 ให้ก่อสร้างอ่างเก็บน้ำห้วยโจ้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ เพื่อส่งน้ำเสริมให้กับพื้นที่จัดสรรของราษฎรที่อพยพจากเขตน้ำท่วม 300 ครอบครัว […]

  • อนุสาวรีย์ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.วิภาต บุญศรี วังซ้าย คนต้นแบบลูกแม่โจ้ “งานหนักไม่เคยฆ่าคน”

    อนุสาวรีย์ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.วิภาต บุญศรี วังซ้าย คนต้นแบบลูกแม่โจ้ “งานหนักไม่เคยฆ่าคน”

    by

    |

    in

    อนุสาวรีย์ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.วิภาต บุญศรี วังซ้าย คนต้นแบบลูกแม่โจ้ “งานหนักไม่เคยฆ่าคน” แนวความคิดการจัดสร้างอนุสาวรีย์ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.วิภาต บุญศรี วังซ้าย ครั้งแรกเกิดขึ้นภายหลังจากเสร็จพิธีพระราชทานเพลิงศพท่าน เมื่อวันอาทิตย์ที่ 17 กุมภาพันธ์ 2528 โดยองค์การนักศึกษาแม่โจ้ ซึ่งมี นายจรูญ พุทธจรรยา (ดร.จรูญเกียรติ ภัทรมนตรสินพุทธจรรยา) นายกองค์การนักศึกษาแม่โจ้ (แม่โจ้ 48) และศิษย์เก่าแม่โจ้จำนวนหนึ่ง ได้หารือร่วมกันพิจารณา หาทุนการจัดสร้างอนุสาวรีย์รูปเหมือนของศาสตราจารย์ ดร.วิภาต บุญศรี วังซ้ายไว้เป็นที่ระลึกสักการะของชาวแม่โจ้ […]

  • สระเกษตรสนาน

    สระเกษตรสนาน

    by

    |

    in

    งานฤดูหนาวจังหวัดเชียงใหม่ ในปี พ.ศ. 2478 นั้น เริ่มตั้งแต่วันที่ 30 ธันวาคม 2478 ถึงวันที่ 5 มกราคม 2479 ทางสถานีทดลองกสิกรรม และโรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรม ภาคเหนือ ก็ได้จัดนิทรรศการแสดงกิจกรรมการเกษตรด้วยโดยใช้อาคาร “เรือนเพชร” โรงเรียนยุพราชวิทยาลัยเป็นที่จัดแสดงเป็นครั้งแรกที่มีการออกร้านนิทรรศการของหน่วยงานราชการ จากส่วนกลางไปร่วมงานฤดูหนาวเชียงใหม่ วันที่ 18 ธันวาคม 2478 อาจารย์ใหญ่ คุณพระช่วงฯ ได้หารือกับนักเรียนทั้งหมด 266 คน ในวันปิดภาคเรียนเทอมกลาง […]