Mr. Gunnar Sondergaard
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาสัตวศาสตร์
Mr. Gunnar Sondergaard สำเร็จการศึกษา ระดับปริญญาตรีจาก Royal Veterinary and Agriculture กรุงโคเปนเฮเกน (Copenhagen) ประเทศเดนมาร์ก (Denmark) ในปีพุทธศักราช 2494 ปัจจุบันมีถิ่นพำนักที่ Lemnos Vej 20 Sul.Th., 2300 Copenhagen S, Denmark.
Mr. Gunnar Sondergaard เป็นผู้มีความเชี่ยวชาญในสาขาวิชาสัตวศาสตร์ และการจัดการฟาร์ม เนื่องจากผ่านประสบการณ์การฝึกงานก่อนศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี ทั้งนี้เนื่องจากข้อกำหนดการศึกษาระดับมหาวิทยาลัยที่เกี่ยวข้องกับ การเกษตรของประเทศเดนมาร์ก กำหนดให้นักศึกษาผ่านประสบการณ์การทำงานในฟาร์มอย่างน้อย 3 ปี และฝึกงานในวิทยาลัยเกษตรกรรม เป็นเวลา 1 ปี ก่อนการศึกษาต่อ ในมหาวิทยาลัย หลักสูตร 4 ปี ซึ่งหลักสูตรการศึกษาภาคเกษตรกรรมของประเทศ เดนมาร์ก จะเน้นการเรียนภาคปฏิบัติ เพื่อให้เกิดทักษะในการทำงาน และการส่งเสริม ช่วยเหลือผู้อื่นในอนาคต ดังนั้น ก่อนสำเร็จการศึกษา Mr. Gunnar Sondergaard จึงฝึกงานวิจัยที่ Rothamstead Experimental Farm ในประเทศอังกฤษ เป็นเวลา 6 เดือน โดยเน้นศึกษาค้นคว้าด้านสุกร ส่วนด้านโคนม ฝึกงานที่ฟาร์มในประเทศ
ด้านประวัติการทำงาน หลังจากสำเร็จการศึกษา ในปีพุทธศักราช 2494 ได้ ทำงานที่ National Research Institute on Animal Husbandry แผนกโคนม ซึ่งเป็น สถาบันหนึ่งของ Royal Veterinary and Agriculture University, Copenhagen ทำให้มีโอกาสศึกษาค้นคว้าวิจัยด้านสุกร พืชอาหารสัตว์ ธัญพืช และพืชสวน ทำให้มี ประสบการณ์หลายด้าน ในที่สุดได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลเดนมาร์กให้เข้าไปมีส่วนร่วม ทำงานในองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) และเดินทางมาปฏิบัติ งานในประเทศไทย ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านสุกร โดยทำงานร่วมกับกรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ระหว่างปีพุทธศักราช 2498 – 2502
แนวคิดที่ควรยกย่องเป็นอย่างยิ่งของ Mr. Gunnar Sondergaard คือ การพัฒนาโรงฆ่าสัตว์ให้มีมาตรฐาน ดังจะเห็นได้จาก ระหว่างปีพุทธศักราช 2498 – 2502 มีการค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการเลี้ยงสุกรในประเทศไทย พันธุ์สุกร ระยะเวลาที่ขุนและการแก้ไขปัญหาโรงฆ่าสัตว์ที่ไม่มีมาตรฐานตามหลักสุขาภิบาล ทำให้มีการพัฒนา ผลิตภัณฑ์จากเนื้อสุกรเพื่อส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศ
แนวคิดที่น่าสนใจอีกประการหนึ่ง คือ การจัดตั้งโรงเรียนฝึกอบรมการทำฟาร์ม โคนม ซึ่งดำเนินกิจกรรมนี้ในปีพุทธศักราช 2505 – 2514 เป็นหลักสูตรระยะเวลา 12 เดือน เน้นภาคปฏิบัติและรับนักศึกษาจากวิทยาลัยเกษตรกรรม ซึ่งเมื่อสำเร็จการศึกษา ตามหลักสูตร นักศึกษากลุ่มนี้ สามารถจัดตั้งฟาร์มโคนม โดยฟาร์มโคนมไทย-เดนมาร์ก ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากกรมประชาสงเคราะห์จัดตั้งนิคมโคนมใกล้ฟาร์ม ทำให้ นักศึกษาสามารถจัดการฟาร์มแบบพึ่งตนเองได้ และนักศึกษาบางกลุ่มอาจปฏิบัติหน้าที่ เป็นพนักงานฟาร์มซึ่งมีการส่งเสริมให้ศึกษาดูงานและฝึกงานในหลักสูตรที่มุ่งเน้น ความชำนาญ สาขาต่าง ๆ อาทิ Diary farming Management, Diary Plant Management, Diary Technologies and diary Marketing
Mr. Gunnar Sondergaard มีผลงานดีเด่นด้านวิชาการ อาทิ การวางแผน ปรับปรุงและพัฒนาสายพันธุ์สุกรพื้นเมือง พันธุ์ไหหลำ ราดควายและพวง โดยศึกษา สมรรถภาพของลักษณะต่างๆ อาทิ Fertility, Litter size, Post weaning weight, Day of Fattening, Carcass Merits, Number of pings born, Number of pigs at weaning
การศึกษาค้นคว้าดังกล่าว ทำให้กำหนดแผนการปรับปรุงพันธุ์ โดยเลือกใช้พันธุ์ ลาร์จไวท์ และดูร็อกเจอร์ซีย์ และจัดตั้งศูนย์บำรุงพันธุ์สุกร จำนวน 400 แห่ง จากนั้น จึงส่งเสริมโดยการจำหน่ายพ่อแม่พันธุ์ ในพื้นที่ใกล้เคียง นับเป็นการเริ่มต้นพัฒนาการ เลี้ยงสุกรเป็นการค้า
ด้านการวางแผนและพัฒนาการเลี้ยงโคนม เริ่มศึกษาที่อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี และสถานที่บำรุงพันธุ์สัตว์ของกรมปศุสัตว์ ส่งผลให้ประเทศไทยมี ศักยภาพในการทำธุรกิจการเลี้ยงโคนม โดย Mr. Gunnar Sondergaard ใช้หลักการ ด้านเศรษฐศาสตร์และการตลาดพัฒนาผลิตภัณฑ์สู่อุตสาหกรรมโคนมที่ยั่งยืน ส่งผลให้มี การวางรากฐานอุตสาหกรรมการแปรรูปผลิตภัณฑ์นม และส่งเสริมให้มีการรวมกลุ่ม เกษตรกร เพื่อจัดตั้งสหกรณ์นิคมโคนม และสหกรณ์โคนม โดยเกษตรกรโคนมทุกคนจะ เป็นสมาชิกของสหกรณ์ ต่อมาการเลี้ยงโคนมขยายสู่เกษตรกรในวงกว้าง ทำให้มีโรงนม เอกชน และบริษัทแปรรูปน้ำนมดิบเกิดขึ้น ทั้งนี้เพื่อมุ่งให้ผลิตภัณฑ์นม มีความหลาก หลาย ทำให้อุตสาหกรรมนมของประเทศไทยพัฒนาและมีขีดความสามารถในการแข่งขัน สูงสุดในภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง
โดยที่ Mr. Gunnar Sondergaard เป็นผู้มีคุณูปการสูงสุดต่อการทำ เกษตรกรรมด้านการเลี้ยงสุกร และโคนมในประเทศไทย โดยเป็นผู้วางรากฐานและขยาย องค์ความรู้ด้านการเลี้ยงสุกรและกิจการโคนมจนเป็นที่ยอมรับในวงวิชาการ นับเป็นผู้ที่ ประสบผลสำเร็จอย่างยอดเยี่ยมในวิชาชีพ และบำเพ็ญประโยชน์ทางวิชาการด้วย
ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และมีคุณธรรมจนก่อให้เกิดประโยชน์อย่างอเนกอนันต์ต่อ ประเทศไทย รวมทั้งเป็นผู้ที่สร้างสัมพันธภาพอันดีระหว่างประเทศไทยกับประเทศ เดนมาร์ก จึงนับเป็นบุคคลผู้มีเกียรติประวัติและคุณสมบัติเหมาะ รับพระราชทานปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาสัตวศาสตร์ เพื่อเป็น เกียรติประวัติสืบไป
หมายเหตุ: ข้อมูลจากหนังสือพิธีพระราชทานปริญญาบัตร ครั้งที่ 32 วันศุกร์ที่ 19 เดือนกุมภาพันธ์ 2553