ในการพัฒนาสายพันธุ์ปลาหนังลูกผสมชนิดใหม่ (ปลาเทโพ x ปลาสวาย) และสายพันธุ์ปลาลูกผสมแบบ สลับเพศสายพันธุ์ใหม่ (ปลาสวาย x ปลาเทโพ) ที่มีอัตราการผสม อัตราการฟัก และอัตรารอดสูง ดีกว่าปลาสวาย และเทโพ สามารถแยกลักษณะภายนอกของปลาหนังลูกผสม (ปลาสวาย x ปลาเทโพ) กับปลาสวาย ในขนาด 5 นิ้ว ได้ในปลาหนังลูกผสมมีจุดดําที่ครีบหู ความยาวครีบหูและหลัง ลําตัว และหัวกว้างมากกว่าปลาสวายการอนุบาลใน กระชังเป็นเวลา 4 เดือน พบว่า ปลาหนังลูกผสม (ปลาสวาย x ปลาเทโพ) ปลาหนังลูกผสมมีการเจริญเติบโตได้ดีกว่า ปลาสวายและเทโพ ส่วนการเลี้ยงในบ่อดินให้ได้ขนาดตลาดในบ่อขนาด 300 ตารางเมตร อัตราปล่อย 2 ตัว/ตาราง เมตร ขนาด 100 กรัม เลี้ยงนาน 8 เดือน พบว่าได้ น้ำหนักปลาขนาด 1.3 กก. อัตราการโต 5 กรัม/วัน อัตราแลกเนื้อ 2 อัตรารอด 100 % ต้นทุนการเลี้ยงประมาณ 69 บาท/กก สามารถจําหน่ายได้ กก.ละประมาณ 80 บาท (รูปที่ 1 และ 2) นอกจากนี้ยังพบว่าปลาลูกผสมที่เลี้ยงในสภาพเดียวกันมีสีเนื้อขาวกว่าปลาสวาย เนื้อไม่มีกลิ่นโคลน ปริมาณ เนื้อมากกว่า (รูปที่ 3) และมีก้อนไขมันที่ดีประมาณ 3.5 % (รูปที่ 4)
รูปที่ 1 การเลี้ยงปลาในกระชัง | รูปที่ 2 ปลาลูกผสมขนาดตลาด(1.3กก) | รูปที่ 3 สีเนื้อปลาลูกผสม (บน) และปลาสวาย (ล่าง) | รูปที่ 4 ก้อนไขมันในช่องท้องปลาลูกผสม |
จากตารางที่ 1 น้ำมันดิบ จากปลาลูกผสม ปริมาณ 100 กรัม มีกรดไขมันอิ่มตัว 44 กรัม ปริมาณกรดไขมัน ไม่อิ่มตัว 51.09 กรัม ประกอบด้วย monounsaturated fatty acid (MUFA) 37.60 กรัม กรดไขมัน omega-9 เช่น กรดโอเลอิก (oleic acid) ในปริมาณ 34.47 กรัม ส่วน polyunsaturated fatty acid (PUFA) มีปริมาณทั้งหมด 13.49 กรัม และเป็นกรดไขมัน omega-3 ได้แก่ ALA 0.93 กรัม EPA 0.65 กรัม และ DHA 2.72 กรัม มีกรดไขมัน omega-6 ได้แก่ กรดไลโนเลนิก 8.47 กรัม
ตารางที่ 1 ชนิดและปริมาณของกรดไขมันใน crude oil จากปลาหนังลูกผสม (ปลาเทโพ X ปลาสวาย)
ส่วนค่าปริมาณไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อนมีค่าน้อยกว่าน้ำมันปลาจากปลาทะเล โดยเฉพาะกรดไขมันโอเมก้า 3 แต่ในขณะที่ปริมาณกรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยวในกลุ่มโอเมก้า 9 (กรดโอเลอิก) มีปริมาณสูงกว่าน้ำมันปลาจากปลา ทะเล 2-3 เท่า ปลาหนังที่ได้รับอาหารเม็ดเสริมน้ำมันปลาเป็นเวลา 5 เดือน ปลาที่ให้อาหารผสมน้ำมันปลาในระดับ 1.5% มีการเจริญเติบโตดีที่สุด น้ำมันปลาที่สกัดได้นำมาศึกษาฤทธิ์การลดระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือดและต้านอนุมูล อิสระในหนูขาวที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดโรคเบาหวาน จากผลการทดลองพบว่า น้ำมันปลาจากปลาหนังลูกผสม ขนาด 0.25 และ 0.5% สามารถเพิ่มการทำงานของฮอร์โมนอินซูลินผลให้น้ำตาลในเลือดลดลง ป้องกันการเพิ่มขึ้นของระดับสารอนุมูลอิสระที่เกิดขึ้นภายในเซลล์มะเร็งตับที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดภาวะเครียด
จากการสำรวจผู้บริโภคพบว่าเนื้อปลายังได้รับความนิยมสูง สามารถผลิตเป็นเมนูเป็นที่นิยมของผู้บริโภค ได้หลายแบบ เช่น ปลาลวกจิ้ม ไส้กรอก ไส้ถั่ว ปลาย่าง และข้าวกล้องอบปลา การเพิ่มมูลค่ากระดูกปลาที่เหลือจาก การชำแหละมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์สัตว์เลี้ยงสําหรับสุนัขขนาดเล็กและแมว เนื่องจากผลิตภัณฑ์มีสารอาหารครบ ตามความต้องการของสุนัข ทั้งโปรตีน ไขมัน แคลเซียม และฟอสฟอรัส สามารถใช้เป็นอาหารเสริมได้ สะดวกต่อการ ให้สุนัขกิน มีต้นทุนค่าวัตถุดิบเฉลี่ย 54-62 บาท/กิโลกรัม (รูปที่ 5-8)
รูปที่ 5 ปลาลวกจิ้ม ไส้ถั่วและไส้กรอก | รูปที่ 6 ปลาย่าง | รูปที่ 7 ข้าวกล้องอบปลา | รูปที่ 8 กระดูกปลา สําหรับสัตว์เลี้ยง |
Author :
จากคณะเทคโนโลยีการประมงและเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
1. รองศาสตราจารย์ ดร.เกรียงศักดิ์ เม่งอำพัน (mengumpa@mju.ac.th)
2. สุภาพร สัตตัง
3. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ดวงพร อมรเลิศพิศาล (doung_fishtech@hotmail.com doung_prim@yahoo.com)
คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี
1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ธนนันท์ ศุภกิจจานนท์ (thananan@mju.ac.th)
ข้อมูลเพิ่มเติม : www.fishtech.mju.ac.th