โครงการขยายผลการผลิตพันธุ์พืช และเมล็ดพันธุ์อินทรีย์แก่เกษตรกร

ผศ.ฉันทนา วิชรัตน์ หัวหน้าโครงการ

สาขาพืชผัก ภาควิชาพืชสวน คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้

ความเป็นมาและวัตถุประสงค์ของโครงการ 

ปัจจัยการผลิตด้านเกษตรอินทรีย์ที่สําคัญที่สุดคือพันธุ์พืช เพราะนอกจากในการรับรอง พื้นที่เกษตรอินทรีย์ได้มีการระบุว่าจะต้องใช้เมล็ดพันธุ์และส่วนขยายพันธุ์ที่มาจากระบบการผลิต แบบอินทรีย์แล้วพันธุ์พืชยังมีความสําคัญต่อความสําเร็จในด้านการผลิตกล่าวคือขพันธุ์พืชจะ เป็นตัวกําหนดปริมาณและคุณภาพของผลผลิตมากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์นั่นเอง

มหาวิทยาลัยแม่โจ้เป็นหน่วยงานที่สามารถผลิตเมล็ดพันธุ์ผักสนองให้กับผู้ผลิตผักสด อินทรีย์ได้ในระดับหนึ่ง และมีความสามารถที่จะขยายงานไปสู่ชนิดพืชได้อีกมากในกลุ่มของพืชที่มี ศักยภาพ โดยในปีงบประมาณ 2558 ได้ขยายงานจากการผลิตเมล็ดพันธุ์ผัก สูงานด้านการผลิต ท่อนพันธุ์เก๊กฮวยพันธุ์ดี ซึ่งเป็นพืชที่เหมาะสมกับภูมิประเทศทางภาคเหนือและเป็นพืชที่มีศักยภาพ ในการเป็นพืชอุตสาหกรรม เพื่อดําเนินการโครงการนําร่องเพื่อทดแทนการผลิตดอกเบญจมาศ ซึ่งเป็นพืชตระกูลเดียวกันกับเก๊กฮวย แต่มีการใช้สารเคมีสูงมาก อีกทั้งราคาชิ้นลงไม่แน่นอน โดยโครงการมีแนวทาง หลักการ ดังนี้

  1. งานด้านการผลิตเมล็ดพันธุ์ผักอินทรีย์ ซึ่งได้รับงบประมาณในปี 2557 เป็นต้นมา ได้ก่อให้เกิดการพัฒนาอย่างชัดเจน โดยสามารถสร้างอาคารปรับปรุงสภาพเมล็ดพันธุ์อินทรีย์ ระบบการตรวจสอบคุณภาพเมล็ดพันธุ์ที่ได้มาตรฐาน พร้อมทั้งโรงเรือนสําหรับผลิตเมล็ดพันธุ์ หลักและเมล็ดพันธุ์ขยาย จํานวน 10 โรงเรือน ในอนาคต จะมุ่งเน้นในเรื่องการผลิตเมล็ดพันธุ์ อินทรีย์ให้ได้จํานวนปริมาณและคุณภาพที่ดี รวมถึงการเพิ่มเติมสิ่งอํานวยความสะดวก ความ ปลอดภัย และความรวดเร็วในการทํางานเพื่อเป็นต้นแบบการผลิตเมล็ดพันธุ์ อินทรีย์ที่สมบูรณ์
  2. งานด้านการผลิตท่อนพันธุ์เก๊กฮวยอินทรีย์ ซึ่งได้ดําเนินการในงบประมาณปี 2558 นับว่าเป็นโครงการที่มีศักยภาพและเห็นผลในเชิงรูปธรรมชัดเจน ในอนาคตได้จัดทํางบประมาณ เสริมในส่วนที่ยังไม่สามารถดําเนินการได้ในปี 2558 ซึ่งเป็นงบต่อเนื่องมาในปี 2559 กล่าวคือ ในปี 2558 ได้จัดสร้างโรงเรือนจํานวน 2 หลังสําหรับโรงเรือนแม่พันธุ์ 1 หลัง และโรงเรือนเพาะชํากล้า 1 หลัง แต่เนื่องจากงบประมาณมีจํากัดจึงสร้างเฉพาะส่วนโรงเรือนและใช้งานได้ระดับหนึ่งก่อนตาม ระยะเวลาของชนิดพืช ซึ่งมีฤดูกาลเป็นตัวกําหนดดังนั้นงบประมาณ ในปี 2559 จึงได้จัดระบบน้ํา ไฟฟ้า และโต๊ะปักชําเข้าสู่ระบบโรงเรือน ซึ่งจะก่อให้เกิดความสามารถในการผลิตได้พอดีกับ ฤดูกาลผลิตของเก๊กฮวย และนอกจากนั้นยังได้มีการขยายงานโดยการเพิ่มโรงเรือนในการขยาย ท่อนพันธุ์ให้มีความพอเพียงต่อความต้องการของกลุ่มเป้าหมายคือเกษตรกรผู้ผลิตเบญจมาศใน พื้นที่โครงการพัฒนาบ้านโปง อันเนื่องมาจากพระราชดําริและ โครงการบนพื้นที่สูงต่างๆ ด้วย

แนะนําหัวหน้าโครงการและทีมงาน

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ฉันทนา วิชรัตน์ หัวหน้าโครงการขยายผลการผลิตพันธุ์พืชและเมล็ดพันธุ์อินทรีย์แก่เกษตรกร เป็นนักวิชาการของมหาวิทยาลัยแม่โจอีกหนึ่งท่านที่ทุกคนในวงการปรับ ปรุงพันธุ์พืชและผลิตเมล็ดพันธุ์ผักอินทรีย์รู้จักกันเป็นอย่างดี ปัจจุบันอาจารย์เป็นอาจารย์ประจํา สาขาพืชผัก ภาควิชาพืชสวน คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มีลูกศิษย์ลูกหามากมาย ทั้งที่ศึกษาในระบบปกติของมหาวิทยาลัย รวมทั้งเกษตรกรแประชาชนทั่วไปที่เข้ารับการฝึกอบรม ในหลักสูตรระยะสั้นเกี่ยวกับการผลิตเมล็ดพันธุ์ผักอินทรีย์ที่อาจารย์จัดขึ้นอย่างต่อเนื่องในโครงการนี้นอกจากตัวอาจารย์เองที่เป็นหัวหน้าโครงและดูแลด้านการส่งเสริมการผลิตเมล็ดพันธุ์ อินทรีย์แล้ว อาจารย์ยังได้ทํางานร่วมกับเครือข่ายเกษตรกร เพื่อสร้างศูนย์เรียนรู้การผลิตเมล็ดพันธุ์ อินทรีย์ต้นแบบในพื้นที่ของเกษตรกรเอง ซึ่งอยู่ในตําบลแม่ทา อําเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่ และได้ร่วมมือกับอาจารย์ธนวัฒน์รอตขาว นักวิชาการเกษตรชํานาญการพิเศษ จากฝ่ายพัฒนา และปรับปรุงพันธุ์พืชและสัตว์ สํานักวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร รับผิดชอบในการส่งเสริม การผลิตเก๊กฮวยอินทรีย์ และอาจารย์ ดร.เทิดศักดิ์ โทณลักษณ์ จากคณะผลิตกรรมการเกษตร รับผิดชอบในด้านการขยายพันธุ์พืชสมุนไพรเพื่องานอารักขาพืชอีกด้วย

อาจารย์ธนวัฒน์รอตขาว นักวิชาการเกษตรชํานาญการพิเศษ, อาจารย์ ดร.เทิดศักดิ์ โทณลักษณ์ จากคณะผลิตกรรมการเกษตร

209, 210, 74, 59, 46

โครงการจัดการองค์ความรู้และสื่อสารยุทธศาสตร์เกษตรอินทรีย์ กองแผนงาน มหาวิทยาลัยแม่โจ้. (2559). คู่มือเกษตร อินทรีย์มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เชียงใหม่

สาขาพืชผัก ภาควิชาพืชสวน คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้

เชียงใหม่