โครงการ นําร่องพัฒนาฟาร์มต้นแบบเพื่อการผลิตพืช

อาจารย์ ดร. แสงเดือน อินชนบท หัวหน้าโครงการ

สำนักฟาร์มมหาวิทยาลัยแม่โจ้

ความเป็นมาและวัตถุประสงค์ของโครงการ 

สืบเนื่องมาจากเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา ปริมาณการเพิ่มขึ้นของประชากรทั่วทั้งโลกมีการ เพิ่มขึ้นแบบก้าวกระโดด ซึ่งปัญหาหนึ่งที่จะหลีกหนีไม่พ้นคือปัญหาด้านอาหาร โดยเฉพาะอาหาร ที่มาจากการทําการเกษตร จากเดิมที่ส่วนใหญ่มีการผลิตเพื่อบริโภคภายครัวเรือนหรือเพื่อการ บริโภคภายในชุมชน ได้ถูกเปลี่ยนเป็นผลิตเพื่อการจําหน่าย ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการปลูกพืชเชิงเดี่ยว และมีการส่งเสริมให้มีการใช้สารเคมีสังเคราะห์ชนิดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นปุ๋ยเคมี สารป้องกันกําจัดโรค และแมลง ฮอร์โมนพืชชนิดต่างๆ เพื่อให้ได้ผลผลิตสูงที่สุดโดยไม่ได้คํานึงถึงผลกระทบด้าน ต่างๆที่จะตามมา ปัจจุบันผู้บริโภคเริ่มรับรู้รับทราบและเข้าใจในเรื่องการผลิตและผลกระทบ ของการใช้สารเคมีในกระบวนการผลิตมากขึ้น จึงทําให้มีกระแสกลุ่มรักสุขภาพกันมากขึ้น ทําให้ ผู้บริโภคส่วนใหญ่เริ่มหันมาให้ความสําคัญในระบบการผลิตพืชที่ปลอดภัย โดยเฉพาะการผลิตพืช ในระบบอินทรีย์

แต่ถึงแม้ว่ากระแสการผลิตพืชในระบบเกษตรอินทรีย์จะมีเพิ่มสูงขึ้น แต่เกษตรกรยังไม่มี ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการขั้นตอนกระบวนการผลิตพืชในระบบเกษตรอินทรีย์อย่างแท้จริง ดังนั้นมหาวิทยาลัยแม่โจ้ซึ่งได้กําหนดเป้าหมายในยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยสู่การเป็นผู้นํา ด้านเกษตรอินทรีย์ จําเป็นจะต้องมีฟาร์มต้นแบบในการผลิตเกษตรอินทรีย์ในหลากหลายรูปแบบ เพื่อให้เกษตรกร นักศึกษา และประชาชนทั่วไป ได้เข้ามาศึกษาเรียนรู้เพื่อนําเอาองค์ความรู้ไปปฏิบัติ ในพื้นที่ฟาร์มเกษตรอินทรีย์ของตนเองอย่างถูกต้องต่อไป ทางสํานักฟาร์มมหาวิทยาลัยแม่โจ้จึงได้ ร่วมมือกับสํานักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร และสาชาวิทยาการสมุมนไพร คณะผลิตกรรม การเกษตร รวบรวมองค์ความรู้เทคโนโลยีต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากนักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ อาจารย์ นักวิชาการรวมทั้งภูมิปัญญาในท้องถิ่น มาพัฒนาฟาร์มเกษตรอินทรีย์ต้นแบบเพื่อถ่ายทอดให้ กับกลุ่มเยาวชนในโรงเรียน นักศึกษาในระดับอุดมศึกษา เกษตรกร และผู้สนใจด้านการผลิตใน ระบบเกษตรอินทรีย์เพื่อให้มีผู้เรียนรู้หรือมีผู้สืบทอดมรดกทางด้านการผลิตเกษตรอินทรีย์ อันจะนํา ไปสู่การพัฒนาประเทศให้เกิดความมั่นคงด้านอาหารต่อไป

แนะนําหัวหน้าโครงการและทีมงาน 

โครงการนําร่องพัฒนาฟาร์มต้นแบบเพื่อการผลิตพืชในระบบเกษตรอินทรีย์นี้ เป็นการทํางานร่วมกันของคณาจารย์และนักวิจัยของมหาวิทยาลัยแม่โจ้จากหลายหน่วยงาน เพื่อพัฒนาฟาร์มต้นแบบการผลิตพืชอินทรีย์จํานวน 3 แห่ง ประกอบด้วย

  1. ฟาร์มต้นแบบด้านการผลิตพืชผัก และไม้ผลอินทรีย์ (มะม่วง ลําไย) โดยทีมนักวิชาการ จากสํานักฟาร์มมหาวิทยาลัยแม่โจ้ นําโดยอาจารย์แสงเดือน อินชนบท นักวิชาการเกษตร สํานักฟาร์มมหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นหัวหน้าชุดโครงการใหญ่ด้วย
  2. ฟาร์มต้นแบบด้านการผลิตพืชสมุนไพรกําจัดศัตรูพืช โดย อาจารย์ ดร.เทิดศักดิ์ โทนลักษณ์ จากสาขาวิชาวิทยาการสมุนไพร คณะผลิตกรรมการเกษตร
  3. ฟาร์มต้นแบบนําร่องที่มีการผลิตแบบผสมผสานทั้งพืชและสัตว์ ในระบบเกษตรอินทรีย์ โดยทีมงานจากหลายหน่วยงาน ทั้งสํานักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร สาขาพืชผัก คณะผลิตกรรมการเกษตร คณะสัตวศาสตร์ และคณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ํา นําโดย อาจารย์ประสิทธิ์ กาบจันทร์ นักวิชาการเกษตรจากฝ่ายนวัตกรรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี สํานักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร เพื่อบูรณาการองค์ความรู้ต่างๆในการสร้างฟาร์มต้นแบบ เกษตรอินทรีย์ผสมผสานในพื้นที่ประมาณ 10 ไร่

อาจารย์ ดร.เทิดศักดิ์ โทนลักษณ์ จากสาขาวิชาวิทยาการสมุนไพร คณะผลิตกรรมการเกษตร, อาจารย์ประสิทธิ์ กาบจันทร์ นักวิชาการเกษตรจากฝ่ายนวัตกรรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี สํานักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร

51, 215, 216, 217, 218, 46, 219, 59, 147

โครงการจัดการองค์ความรู้และสื่อสารยุทธศาสตร์เกษตรอินทรีย์ กองแผนงาน มหาวิทยาลัยแม่โจ้. (2559) คู่มือเกษตร อินทรีย์มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เชียงใหม่ : ห้างหุ้นส่วนสามัญ 12 ดีไซน์

สํานักฟาร์มมหาวิทยาลัยแม่โจ้

เชียงใหม่