การใช้ด้วงเต่าตัวควบคุมแมลงศัตรูพืช

ด้วงเต่าตัวห้ำ (predatory beetle)

ด้วงเต่าตัวห้ำ เป็นแมลงในอันดับ Coleoptera อยู่ในวงศ์ Coccinelidae มีเชื่อสามัญเรียกว่า Ladybug Ladybird และ Lady beetle เป็นต้น และทั่วโลกมีด้วงเต่า จํานวน 490 สกุล และมี 4,200 ชนิด ส่วนในประเทศไทย มีรายงานพบ 36 สกุล และ 75 ชนิด และมีจํานวน 62 ชนิดเป็นด้วงเต่าตัวห้ำ ส่วนอีก 13 ชนิดเป็นแมลงศัตรูพืช เช่นด้วงเต่าแตงลายจุด Henosepilachna vigintioctopunctata และหาก สังเกตในธรรมชาติแล้ว ทั้งนี้ด้วงเต่าที่เป็นแมลงศัตรูพืชมักมีจํานวนจุดบนหลังมากกว่าด้วงเต่าตัว ส่วนด้วงเต่าตัวห้ำนั้นมีหลากหลายชนิด หลายขนาด ตั้งแต่เล็กมาก ประมาณ 0.1 เซนติเมตร เช่นด้วงเต่าตัวห้ำที่กินไร เช่น Stethorus spp. ไปจนถึง 1 เซนติเมตร เช่น Synonycha grandis ซึ่งกินเพลี้ยอ่อน ส่วนพฤติกรรมการกินนั้นด้วงเต่าตัวห้ำส่วนใหญ่เป็นพวกตัวพวกที่มีชนิดของเหยื่อที่จํากัด (stenophagous) เช่น Harmonia sp. และ Menochilus sexmaculatus ที่กินเพลี้ยอ่อน และชนิดที่กินเพลี้ยแป้ง เช่น SCymnus spp. เป็นต้น ส่วนชนิด ที่กินเหยื่อได้เพียงชนิดเดียว (monophagous) เช่น ด้วงเต่า Rodolia Cardinalis ที่กินเหยื่อเพียงชนิดเดียวคือเพลี้ยหอยนวมฝ้าย lcerya purchase เป็นต้น

แนวทางการใช้ประโยชน์จากด้วงเต่าตัวห้ำ

  1. การอนุรักษ์ไว้ในพื้นที่ปลูก
  2. การเพาะเลี้ยงเพิ่มปริมาณและปลดปล่อยในพื้นที่ปลูก

การใช้เชื้อราซึ่งก่อโรคกับแมลงควบคุมศัตรูพืชโดยชีววิธี

ยาเชื้อ (Microbial pesticides)

การใช้เชื้อจุลินทรีย์ควบคุมศัตรูพืช เป็นส่วนหนึ่งของการควบคุมโดยชีววิธีซึ่งเกี่ยวกับการใช้จุลินทรีย์ หรือสิ่งที่ผลิตจากจุลินทรีย์ (by  product) เพื่อการควบคุม และลดปริมาณแมลงศัตรูพืช หรือศัตรูพืชชนิดอื่น เชื้อจุลินทรีย์ที่ถูกนํามาใช้ควบคุมแมลงศัตรูพืช เราเรียกว่ายาเชื้อ (microbial pesticides) บางกรณีหมายถึงสารที่เรียกว่า biorational pesticides โดยคํานี้ได้หมายรวมถึง สารปราบศัตรูพืชที่เป็นเคมี หรือสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กที่ถูกนํามาใช้ควบคุมศัตรูพืช ซึ่งสามารถเพิ่มปริมาณได้เองตามธรรมชาติ และมีความแตกต่างจากสารเคมีสังเคราะห์ ทั้งนี้ วิธีการใช้เชื้อจุลินทรีย์โรคของแมลง มีดังนี้

1) การนําเชื้อให้เข้าไปตั้งหลักแหล่งอยู่ในกลุ่มของแมลงศัตรูพืช

2) การฉีดพ่นหรือทําเป็นเหยื่อล่อ

3) ใช้ร่วมกับสารกําจัดศัตรูพืช ที่สามารถใช้ร่วมกันได้ หรือ เมื่อใช้แล้วจะทําให้เกิดผลดีเพิ่มขึ้น

4) ใช้ร่วมกับตัวน้ำ ตัวเบียน และจุลินทรีย์ชนิดอื่นๆ ได้

แนวทางการใช้เชื้อราซึ่งก่อโรคกับแมลงควบคุมศัตรูพืชโดยชีววิธี

  1. การผลิตยาเชื้ออย่างง่าย
  2. ผสมน้ำและสารจับใบฉีดพ่น
  3. ช่วยลดปริมาณแมลงหลายชนิดในแปลงปลูกพืช

Author : ดร.ศมาพร แสงยศ
แหล่งที่มา : http://www.organic.mju.ac.th  และ http://researchex.rae.mju.ac.th/agikl/
VDO : https://youtu.be/_w89OsreyxQ
Picture : https://unsplash.com