การทําเกษตรแบบธรรมชาติ (ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง)

การทําเกษตรแบบธรรมชาติ(ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง) โดยใช้สัตว์เป็นยุทธศาสตร์ในการพัฒนาการเกษตร เน้น

1) ลดต้นทุนการผลิต
2) ใช้ปัจจัยการผลิตในท้องถิ่น
3) ปลอดภัยจากสารพิษ (ไม่ใช้สารเคมี)
4) การส่งเสริมสภาพแวดล้อม
5) นําแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มาปรับใช้ในการผลิตทางการเกษตร

หมายถึง การนําเอาเชื้อจุลินทรีย์ มาใช้ในการผลิตทางการเกษตรได้แก่ การปลูกพืช เลี้ยงสัตว์และการประมง บนฐานความคิดที่ว่า อยู่ที่ไหนใช้จุลินทรีย์ ที่นั้น จุลินทรีย์นี้ คือ เชื้อราขาว เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีขนาดเล็กมองไม่เห็นด้วย ตาเปล่า, มีประโยชน์ต่อธรรมชาติ ไม่ชอบแสงแดด ชอบกินของหวานจาก น้ำตาลทรายแดง และน้ำหมักจุลินทรีย์ 7 ชนิด

โดยสรุป เป็นการผลิตอาหารสัตว์ใช้เองราคาถูกนําไปเลี้ยงสัตว์และประมง ผลิตปุ๋ยราคาถูกใช้เอง (จากวัสดุรองพื้นคอกสัตว์ หรือ สัตว์ทําสัตว์หมักและคน ทําคนหมัก) นําไปใช้กับการปลูกพืช โดยใช้จุลินทรีย์ แล้ววางแผนการปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ประมง ให้เกิดรายได้ประจําวัน ประจําเดือนและประจําปี

หัวใจสําคัญของการทําการเกษตรแบบธรรมชาติ คือ การผลิต

1) การผลิตเชื้อราขาว
2) น้ำหมักจุลินทรีย์ 3 ประเภท 7 ชนิด
3) การผลิตน้ำหมักจุลินทรีย์ป้องกันกําจัดศัตรูพืชและสัตว์

การผลิตเชื้อราขาว ประโยชน์ ช่วยย่อยสลายเร็ว (ทําปุ๋ยหมัก), ปรับความเป็นกรด-ด่าง, ทําให้ดินปลดปล่อยแร่ธาตุ, ทําให้ดินโปร่งมีออกซิเจน (จุลินทรีย์ทํางานอย่าง – มีประสิทธิภาพ), ทําให้พืชต้านทานโรค, ลดต้นทุนการผลิต, เพิ่มผลผลิต, พัฒนาสิ่งแวดล้อม (กําจัดขยะ, กําจัดกลิ่นเหม็น, กําจัดมลภาวะ)

ทําได้ 3 อย่าง ดังนี้

1) การเก็บเชื้อราขาว (IMO1)

โดยใช้ข้าวหุงใส่กระบะไม้ ปิดด้วยกระดาษนําไปวางไว้ใต้ต้นไผ่ 4-5 วัน แล้วผสมคลุกเคล้ากับน้ำตาลทรายแดงใส่กระปุกปิดฝา เก็บไว้ในห้องน้ำ

2) การทําหัวเชื้อราขาว (IMO2)

          2.1 เตรียมของแห้ง ได้แก่แกลบกลาง 30 กก. และมูลสัตว์แห้ง 30 กก.
          2.2 เตรียมของเปียก คือ น้ำหมักจุลินทรีย์ 7 ชนิดอย่างละ 2 ช้อน กับเชื้อราขาว 2 ช้อน น้ำตาลทรายแดง 2 ช้อน ผสมน้ำ 10 ลิตร ทํา 3 ชุด
          2.3 เตรียมอุปกรณ์ได้แก่ พลั่ว คราด บัวรดน้ำ ฟางแห้ง 1 มัด ไม้กวาดทางมะพร้าว และ พลาสติกขนาด 2×3 เมตร
          2.4 วิธีทํา
          – ทําในร่ม นําของแห้งมาผสมให้เข้ากันโดย ใช้คราดสับไปมา 2 ครั้ง แล้วขึ้นแปลงเป็น สี่เหลี่ยมผืนผ้าหนา 1 ฝ่ามือ
          – ราดด้วยน้ำหมักผสมน้ำแล้วใช้คราดสับไป มา 3 ครั้ง (ราดแล้วสับ)
          – แบ่งกองออกเป็น 3 ส่วนเอาส่วน 2 ข้างขึ้น กองบนส่วนกลางสูงไม่เกิน 70 ซม. เอาน้ำ หมักที่เหลือราดให้ทั่ว ให้ได้ความชื้น 60% แล้วใช้ฟางแห้งคลุมด้านบน 1 ฝ่ามือ คลุม ด้วยพลาสติก ทับด้วยของหนักรอบทั้ง 4 ด้าน ทิ้งไว้ 8-10 วัน เปิดแล้วสับด้วยคราด นําไปใช้ หรือ ตักใส่กระสอบ 2 ใน 3 มัดวาง เก็บไว้บนดินในร่ม
          2.5 นําไปใช้กับพืชยังไม่ได้ต้องทําเป็น IMO3
          2.6 ใช้กําจัดมลภาวะ กําจัดขยะ กําจัดกลิ่น เหม็น (ใส่พื้นคอกสัตว์)

3) การทําหัวเชื้อขยาย (IM03)

          – นําหัวเชื้อราขาว 1 กระสอบมาขยายโดยการทําเช่นเดียวกับ การต่อ หัวเชื้อราขาว (IMO2)
          – ใช้ประโยชน์ในการทําเป็นปุ๋ยชีวภาพปุ๋ยธรรมชาติ ใช้ร่วมกับน้ำหมัก จุลินทรีย์ 7 ชนิด โดยการใส่ราด พ่น

Author : ว่าที่ร้อยตรี สมบูรณ์ ระดม สํานักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
แหล่งที่มา : http://www.organic.mju.ac.th  และ http://researchex.rae.mju.ac.th/agikl/
VDO : https://youtu.be/DRfN7AEvfIk
Picture : https://unsplash.com