กาแฟขัดผิวที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ(chorogenic acid) สูงและเติมสมุนไพรพื้นบ้าน เพื่อยืดอายุการเก็บรักษาและบํารุงผิวพรรณ

จากกระแสความนิยมดื่มกาแฟสดในปัจจุบัน จะมีกากกาแฟที่เหลือจากการบด การชง การดื่มจํานวนมาก จึงมีแนวคิดนําเศษกากของกาแฟมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อื่น ๆ เพื่อลดปัญหาขยะ

ด้วยลักษณะกากของกาแฟเป็น เม็ดเล็กๆ เหมือนเกลือและทราย ทางบริษัท ไลบรารีกรีน จํากัดและดร.พิชญาพร อายุมัน อาจารย์ประจําสาขาวิชา เทคโนโลยีชีวภาพ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ จึงมีแนวคิดนํากากกาแฟมาขัดผิว จึงดําเนินการขอทุน จากสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) เพื่อทําการวิจัยเกี่ยวกับสครับกาแฟขัดผิว

เนื่องจากเราทราบว่ากากกาแฟมีสารที่เรียกว่า “กรดคลอโรจีนิค (Chorogenic acid)” ที่มีคุณสมบัติเป็นสารต้าน อนุมูลอิสระ (Antioxidant) ปริมาณมาก จึงนํามาเป็นส่วนสําคัญที่ทําให้ผิวกระจ่างใส และลดริ้วรอย โดยควบคุม กระบวนการฆ่าเชื้อกากกาแฟให้เหมาะสมเพื่อรักษาปริมาณกรดคลอโรจีนิคให้คงเหลือในกากกาแฟมากที่สุด พร้อม กับเติมสมุนไพรพื้นบ้าน เช่น ขมินและไพล เพื่อยืดอายุการเก็บรักษาและลดการปนเปื้อนจากเชื้อรา และปรับขนาดของกากกาแฟ ให้เหมาะที่จะนํามาใช้กับผิวหน้า โดยปรับขนาดของเม็ดกาแฟให้มีลักษณะเท่ากับเมล็ดบีดกากกาแฟ

ผลจากการทดลองใช้ในร้านสปาต่างๆ ในจังหวัดแพร่ พบว่า ผู้บริโภคพึงพอใจในผลิตภัณฑ์เป็นอย่างมาก โดยลูกค้าพอใจในเรื่องของกลิ่น ความนุ่มลื่นและความกระจ่างใสของผิวหลังจากการใช้ผลิตภัณฑ์

จากนั้นทางผู้ประกอบการและนักวิจัยได้พัฒนาต่อยอด โดยทําการขอทุนจากสํานักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (สนช.) ภายใต้โครงการคูปองนวัตกรรมประจําปี 2558 เพื่อสร้างผลิตภัณฑ์สครัปจากกากกาแฟที่มีสารคลอโรจีนิคที่ คงที่ โดยการนําเมล็ดกาแฟสาร (Green coffee bean) มาคั่วภายใต้การควบคุมกระบวนการคั่วให้ได้มาตรฐาน โดย กําหนดอุณหภูมิในการคั่วให้ไม่มากกว่า 120 องศาเซลเซียส ซึ่งที่อุณหภูมิดังกล่าวจะทําให้เมล็ดกาแฟคั่วที่ได้มี ปริมาณสารคลอโรจีนิคมากที่สุด จากนั้นจึงนําเมล็ดกาแฟคั่วดังกล่าวมาบดเพื่อทําเป็นสครับกาแฟสําหรับขัดผิวที่ สามารถทําให้ผิวกระจ่างใส ลดริ้วรอยได้ กอรปกับได้มีการพัฒนาต่อเนื่องจากการใช้สครับขัดผิวไปเป็นการใช้สครัป ในการช่วยผ่อนคลายความเครียดเพื่อการประยุกต์ใช้ในธุรกิจสปาได้

จากการดําเนินการสร้างผลิตภัณฑ์ดังกล่าวทําให้ได้รับรางวัล “นวัตกรรมสร้างสรรค์ประจําปี 2560” จาก สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) โดยมีคุณโสภิตา กฤตาวรนนท์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไลบรารี่กรีน จํากัด เป็นผู้ไปรับรางวัล และปัจจุบันสินค้าของบริษัทฯ ได้ไปวางจัดจําหน่ายตาม ห้างสรรพสินค้าชั้นนําต่างๆ เช่น TOPS Supermarkets, Rimping Superstores

Author: ดร.พิชญาพร อายุมั่นและบริษัท ไลบรารี่กรีน จํากัด