ประวัติพันธุ์ เจ้ากําหอมแม่โจ้ 1 เอ

เกิดจากการปรับปรุงพันธุ์ให้ได้ข้าวเจ้าสีดําที่มีกลิ่นหอม ซึ่งเป็น กลิ่นหอมของใบเตย (2AP) ที่ได้ยืนหอมมาจากข้าวพันธุ์ปทุมธานี 1 กับกลิ่นหอมของข้าวสีดําซึ่งได้มาจากข้าวพันธุ์เจ้าหอมนิล เป็นข้าวต้นเตี้ย ต้านทานต่อการหักล้ม ไม่ไวต่อช่วงแสง ทําให้ปลูกได้ตลอดทั้งปี ใช้วิธีปรับปรุงพันธุ์โดยใช้เครื่องหมายโมเลกุลช่วยในการคัดเลือก ใช้เวลาในการปรับปรุงพันธุ์ทั้งหมด 16 ฤดู เริ่มจากในฤดูนาปี 2551 ผลิตเมล็ด F1 โดยทําการผสมพันธุ์ข้าวระหว่างพันธุ์ปทุมธานี 1 ที่เป็นข้าวเจ้า สีขาว มีกลิ่นหอม (2AP) ต้นเตี้ย ไม่ไวต่อช่วงแสง กับพันธุ์เจ้าหอมนิลที่เป็นข้าวเจ้าสีดํา ต้นเตี้ย ไม่ไวต่อช่วงแสง มีกลิ่นหอม เฉพาะตัวของข้าวสีดําที่ไม่ได้เกิดจากสาร 2AP จากนั้นในฤดูนาปรัง 2552 ผลิตเมล็ด F2 ในฤดูนาปี 2552 ปลูกต้น F2 คัดเลือกด้วย เครื่องหมายโมเลกุล เลือกต้น F2 ที่มียีโนไทป์ badh2badh2 ของยืน หอมที่เหมือนกับข้าวเจ้าพันธุ์ปทุมธานี 1 จึงทําให้ได้เมล็ด F3 ที่มี กลิ่นหอมจากสาร 2AP เหมือนข้าวปทุมธานี 1 ในฤดูนาปรัง 2553 ปลูกต้น F3 คัดเลือกด้วยเครื่องหมายโมเลกุลดังกล่าวอีกครั้ง เพื่อตรวจสอบว่าต้น F3 มียีโนไทป์ badh2badh2 ของยืนหอมจริง แล้วจึงผสมตัวเองได้เมล็ด F4 (badh2badh2) ต่อจากนั้นในฤดูนาปี 2553-นาปี 2554 ทําการปลูกคัดเลือกแบบพันธุ์ประวัติ (pedigree method) จนได้เมล็ด F8, ในฤดูนาปรัง และนาปี 2555 ทําการปลูก ศึกษาพันธุ์ขั้นต้นของสายพันธุ์ F8 และ F9 ในฤดูนาปรัง 2556-นาปรัง 2558 ทําการปลูกทดสอบผลผลิตทั้งหมด 5 ฤดู รวมทั้งหมด 7 การทดลอง โดยทดสอบผลผลิตที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จํานวน 5 การทดลอง และอีก 2 การทดลองเป็นแปลงเกษตรกรที่อําเภอพาน และแม่สาย จังหวัด เชียงราย และวิเคราะห์คุณค่าทางโภชนาการของสายพันธุ์ดีเด่น ทําให้สามารถคัดเลือกได้สายพันธุ์ “เจ้ากําหอมแม่โจ้ 1 เอ” ได้สําเร็จ

ลักษณะประจําพันธุ์ 

  • เป็นข้าวเจ้าไม่ไวต่อช่วงแสง ปลูกได้ตลอดทั้งปี
  • วันออกดอก 98 วันในฤดูนาปี และ 110 วันในฤดูนาปรัง 
  • อายุเก็บเกี่ยวประมาณ 126 วันในฤดูนาปี และ 145 วันในฤดูนาปรัง เมื่อปลูกโดยวิธีปักดํา
  • ลักษณะลําต้นแข็งปานกลาง
  • มีกลิ่นหอมของใบเตย (2AP) ที่ได้ยืนหอมมาจากข้าวพันธุ์ปทุมธานี 1 กับกลิ่นหอมของข้าวสีดําซึ่งได้มาจากข้าวพันธุ์เจ้าหอมนิล
  • เป็นข้าวต้นเตี้ย ความสูงประมาณ 112 เซนติเมตร
  • รวงต่อกอเฉลี่ย 15 รวง
  • ขนาดของเมล็ดข้าวกล้อง ยาว x กว้าง x หนา 7.34 x 2.01 x 1.61 มิลลิเมตร 
  • รูปร่างเมล็ดข้าวกล้องเรียว 
  • เมล็ดข้าวกล้องมีสีม่วง

ผลผลิต

  • ผลผลิตเฉลี่ย 714 กิโลกรัมต่อไร่

ข้อควรระวัง 

  • อ่อนแอต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ําตาล 
  • ปลูกในฤดูนาปีสีของเมล็ดจะมีสีเข้มกว่าปลูกในฤดูนาปรัง

คุณสมบัติทางเคมี

  • ปริมาณอมิโลสปานกลาง (Amylose) 14.09% ที่ความชื้น 14% ปริมาณสารหอม 2AP ในข้าวกล้องค่าเฉลี่ย 1.30 ppm

วิเคราะห์โดย: ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานีและ PEACH-CIC ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คุณสมบัติทางโภชนาการ

รายการ ปริมาณ
แกมมา-โอไรซานอล 504.46 mg/kg
ธาตุเหล็ก 1.70 mg
ธาตุสังกะสี 20.69 mg/kg
โอเมกา-3 32.17 mg/100g
วิตามินอี 0.08 mg/100g
วิตามินบี 1 0.16  mg/100g
แทนนิน 62.21  mg/kg
สารต้านอนุมูลอิสระ 10,784.20  umolesTE

68.56 mg eq Ascorbic/100g

โพลีฟีนอล 301.75 mge/GA
ลูทีน 98.22 mcg
เบต้าแคโรธีน 36.65 mcg

วิเคราะห์โดย: บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จํากัด และสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล

ผลงานโดย หน่วยความเป็นเลิศด้านการปรับปรุงพันธ์ข้าว คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้

ติดต่อ Facebook หน่วยความเป็นเลิศด้านการวิจัยและพัฒนาการปรับปรุงพันธุ์ข้าว