“ร้อยป่า” จากชีวิตจริง เสือ กลิ่นสัก สุภาพบุรุษแม่โจ้


 “ร้อยป่า” จากชีวิตจริง เสือ กลิ่นสัก สุภาพบุรุษแม่โจ้

         

          จากบันทึกของคุณสมพันธุ์ ปานะถึก (วิเทศวรกิจ) แม่โจ้รุ่น 11 บุตรของหลวงวิเทศวรกิจและคุณวงศ์ ปานะถึก ท่านเกิดเมื่อวันที่ 25 มกราคม 2470 ที่กรุงเทพฯ  เข้าเรียนแม่โจ้เมื่อปี พ.ศ. 2487 ซึ่งท่านได้เล่าว่า เมื่อตอนมาเรียน แม่โจ้นั้นยังห่างไกลตัวเมืองเชียงใหม่มาก มีถนนลาดยางจากอำเภอเมืองถึงอำเภอสันทราย จากอำเภอสันทรายถึงแม่โจ้เป็นถนนดินลูกรัง พวกนักเรียนจะเข้าตัวเมือเชียงใหม่ต้องเดินประมาณ 3-4 ชั่วโมง นาน ๆ ครั้งทางโรงเรียนจะเอารถบรรทุกขนนักเรียนเข้าเมืองสักหนหนึ่ง แถบหมู่บ้านแม่โจ้เป็นป่าเต็งรัง เหียง และพลวง มีลำเหมืองแม่แฝกด้านหนึ่งของป่า

คุณสมพันธุ์ ปานะถึก (วิเทศวรกิจ)
แม่โจ้รุ่น 11

           โรงเรียนที่มาเรียนตอนนั้นเป็นโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาเกษตรศาสตร์ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นโรงเรียนที่เหมือนอยู่กลางป่า เนื่องจากช่วงนั้นเป็นช่วงปลายสงครามโลกครั้งที่สอง สินค้า ของใช้ขาดแคลน นักเรียนแม่โจ้ทุกคนเวลาเดินไปปฎิบัติงานภาคสนาม ต้องบุกป่าฝ่าดงด้วยเท้าเปล่า เวลาเดินย่ำไปบนพื้นกรวดทรายร้อน ๆ หรือเหยียบย่ำดง บตอนแรก ๆ  นมาก อยู่ ๆ ไปฝ่าเท้าหนาจนหนามตำไม่เข้า พวกนักเรียนแม่โจ้เข้าเมืองด้วยเท้าเปล่าพอถึงแถวฟ้าฮ่ามจึงล้างเท้า ใส่รองเท้า เพราะจากฟ้าฮ่ามไปจะเป็นถนนลาดยาง ที่ทำแบบนั้นเพราะเสียดายรองเท้า รองเท้าในสมัยนั้นมีราคาแพง และที่สำคัญใส่รองเท้าขาดเดี๋ยวไม่หล่อ

          เรียนเตรียมเกษตรศาสตร์ต้องทำงานหนัก ทั้งงานแบกหาม ขุดดิน ถางหญ้า ปลูกผัก ทำนา เลี้ยงสัตว์ นักเรียนต้องทำงานเช้า 2 ชั่วโมง เย็น 2 ชั่วโมง ตลอด 2 ปี ฝ่ามือแตก ด้าน และหนา เหมือนฝ่าเท้า หลายคนนอนน้ำตาไหลในระยะแรก ๆ แม่โจ้ตอนนั้นมีนักเรียน 150 คน แต่จบออกมาเพียง 70 คน พอเรียนเตรียมเกษตรจบก็เข้ามหาวิทยาลัย   ้วถึงไปเรียนต่อป่าไม้ จบมาก็ไปทำงานป่าไม้ ทำงานหนักและลำบากยิ่งกว่าตอนเรียนอีก ต้องเดินบุกป่าฝ่าหนาม คัดเลือกไม้ ปลูกป่า สำรวจป่า ทำรังวัดในป่าห่างไกลความเจริญ ทุรกันดารมาก เจอพวกลักลอบตัดไม้และยทำไม้ เจอโจรปล้นฆ่าที่มาลักลอบตัดไม้ ตอนทำงานป่าไม้เขตเพชรบุรี ซึ่งควบคุมพื้นที่ป่าไม้ 3 จังหวัด คือ เพชรบุรี สมุทรสงคราม และประจวบคีรีขันท์ คนที่นี้เขาตรงไปตรงมา ใจถึง รักก็รักจริง  ได้พูดคุยกับเจ้าพ่อ มือปืน  และเพื่อนที่เป็นตำรวจมือปราบในเมือง ทำให้ได้ความรู้ ความเข้าใจ และบางทีก็นำมาใช้ในการเขียนนวนิยาย

          คุณสมพันธุ์ ปานะถึก (วิเทศวรกิจ) หรือ พันธุ์ บางกอก ได้เริ่มเขียนหนังสือ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2501 ในขณะที่ย้ายเข้ามารับราชการกรมป่าไม้ที่บางเขน โดยตอนแรกเขียนหนังสือลงในนิตยสารรายสัปดาห์ฉบับหนึ่ง โดยมี “อรชร” ซึ่งเป็นผู้จัดทำหนังสือพิมพ์ “วนสาร” และยังเป็นที่ปรึกษาหนังสือพิมพ์รายสัปดาห์ฉบับที่เอานวนิยายของคุณสมพันธุ์ ปานะถึกไปลงด้วย ตอนแรกที่เริ่มเขียน ใช้นามปากกาว่า “อรชร-พันธุ์ บางกอก” เรื่องแรกที่เขียนร่วมกันคือ เรื่อง “ระวังไพร” เรื่องที่สอง “เพชรร่อน” เรื่องที่สาม คือเรื่อง “ร้อยป่า” หลังจากนั้นเนื่องจากภาระหน้าที่ จึงต่างคนต่างเขียน แต่ยังปรึกษาหารือกันอยู่เสมอ นิตยสารที่เอาเรื่อง “ร้อยป่า” ไปตีพิมพ์คือนิตยสารบางกอก/ทานตะวัน โดยได้มีการตีพิมพ์ไปหลายรอบมาก และพิมพ์เป็นเล่มเล็ก ๆ ขนาดพ็อกเก็ตบุคส์แถมกับหนังสือทานตะวัน จำนวน 40 เล่ม จนกระทั่งปี 2541 จึงมีการพิมพ์เป็นเล่ม แต่ตีพิมพ์เฉพาะภาคแรก ส่วนภาคสมบูรณ์นั้นตีพิมพ์เมื่อปี 2546 หลังจากภาคแรกถึง 5 ปี

          “ร้อยป่า” เป็นนวนิยายซึ่งนำชีวิตการเรียนและการทำงาน ของสมพันธุ์ ปานะถึก (วิเทศวรกิจ) มาร้อยเรียงเป็นเรื่องราว โดยมีตัวเอกชื่อ เสือ กลิ่นสัก ที่มาเรียนที่แม่โจ้ และได้เล่าเรื่องราวต่าง ๆ เกี่ยวกับแม่โจ้สมัยที่มีโอกาสได้มาเรียนที่นี่มีความผูกพัน และเหตุการณ์ต่าง ๆ ของแม่โจ้ในสมัยนั้นได้ถูกถ่ายทอดออกมาเป็นนวนิยายหลายฉากหลายตอนอย่างต่อเนื่อง และเป็นนวนิยายที่หลายคนในปัจจุบันชื่นชอบใน ของ กของเรื่องอย่างมาก คนที่อ่านบางคนที่เป็นศิษย์เก่าแม่โจ้ คงจะทำให้หวนระลึกถึงวันเก่า ๆ ที่แม่โจ้ไปด้วย  และเสือ  กลิ่นสัก ยังเป็นแรงจูงใจให้หลาย ๆ คนมุ่งหน้ามาเรียนที่แม่โจ้ ทั้งนี้ยังได้มีการนำนวนิยายเรื่อง “ร้อยป่า” ไปทำเป็นภาพยนต์และละครอีกหลายครั้ง เช่นกัน

          นวนิยาย เรื่อง ร้อยป่า แบ่งเป็น 2 ภาค ภาคแรก 12 เล่ม ภาคสมบูรณ์ 6 เล่ม รวม 18 เล่ม  มีให้บริการที่สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยแม่โจ้  ร้อยป่า ภาค 1 / อรชร – พันธุ์ บางกอก  หนังสือทั่วไป Collection นวนิยาย ภาษาไทย เลขหมู่ น อ317ร3 ภ. 1  ติดต่อขอยืมได้ที่  บริการยืม-คืน ทรัพยากรสารสนเทศ ชั้น 2 สามารถ ติดต่อสอบถามเพื่อยืมทรัพยากรได้

เรียบเรียงโดย  : เยาวภา  เขื่อนคำ นักเอกสารสนเทศ ฝ่ายจดหมายเหตุและคอลเล็กชั่นพิเศษ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยแม่โจ้
อ้างอิง : อนุสรณ์ รอบแม่โจ้ 70 ปี หน้า 44-55
Photo by : ไทยรัฐออนไลน์, ผู้จัดการออนไลน์