เส่ซูควา (ตัวผู้)


ชื่อท้องถิ่น (บ้านห้วยผักกูด)…. เส่ซูควา (ตัวผู้)

เส่ซูควา  (ตัวผู้) เป็นพืชและเป็นสมุนไพรท้องถิ่นชั้นดี  เป็นพืชยืนต้นขนาดเล็ก มีลักษณะทางกายภาพ มีลำต้นตรงมีกิ่งห่าง ลำต้นมีสีครีมปนแดง มีใบกว้างสีเขียวเข้ม มักขึ้นตามภูมิศาสตร์และสภาพอากาศที่มีความชื้นสูง เช่น ป่าต้นน้ำ ป่าดิบชื้น หรือบริเวณลำห้วยที่มีน้ำไหลผ่านตลอดทั้งปี

เส่ซูควา ได้รับความนิยมอย่างมากและมีชื่อเสียงในท้องถิ่น จนได้รับการขนานนามว่า “ติ๊สี่พะโดะ” ซึ่งแปลว่า  “ยาหลวง” เนื่องจากมีสรรพคุณทางยาที่หลากหลายและไดพ้ผลที่เร็วและดี ในการรักษา เส่ซูควา (ตัวผู้) จะมีฤทธิ์ทางยาที่แรงกว่าตัวเมีย ซึ่งรักษาได้ทั้งคนและสัตว์ โดยเฉพาะรักษาช้างที่ชาวบ้านทำกันมายาวนาน รสชาติขมกว่าตัวเมียมาก

มีลำต้นตรงมีกิ่งห่าง ลำต้นมีสีครีมปนแดง

เส่ซูควา (ตัวผู้) เป็นยาสมุนไพรที่รักษาแผลได้ทุกคนทั้งภายในและภายนอก ที่เกิดจากอุบัติเหตุต่าง ๆ กระทบกระเทือนรุนแรง วิธีการใช้โดยการนำรากของพืชมาต้มน้ำเพื่อดื่ม หรือนวดประคบบริเวณที่เป็นแผล รักษาอย่างต่อเนื่องจนกว่าแผลจะหายเป็นปกติ แล้วหยุดใช้ยา

สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ทางช่อง Youtube Maejo University Archives เรื่อง Local Discovery: Wild Herb Harvest Tour เก็บสมุนไพรป่าตามวิถีชาวปกาเกอะญอ

ผู้ให้ข้อมูล : จอแนะ นันทวิเชียรฤทธิ์ (ปราชญ์พื้นบ้าน)
ผู้เก็บข้อมูล : ณรงณ์ ณรงค์ชัยปัญญา