Yaowapa Khueankham
-
วัดแม่แฝกหลวง
ประวัติแม่แฝกหลวง วัดแม่แฝกหลวง ตั้งอยู่เลขที่ 77 บ้านแม่แฝก หมู่ที่ 1 ตำบลแม่แฝกใหม่ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ 4 ไร่ 10 ตารางวา นส.3 เลขที่ 140 อาณาเขตทิศเหนือประมาณ 10.18 วา จรดถนนหมู่บ้านและลำเหมือง ทิศใต้ประมาณ 20.23 วา จรดถนนของวัดและลำเหมือง ทิศตะวันออกประมาณ 21.14 วา […]
-
วัดสบแฝก
ประวัติและความเป็นมา วัดสบแฝก หมู่ 2 ตำบลแม่แฝกใหม่ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ เป็นวัดราษฎร์มหานิกาย ได้รับอนุญาตตั้งเป็นวัด พ.ศ. 2403 เป็นวัดที่เก่าแก่ เนื่องจากมีองค์พระธาตุเจดีย์ทรงพม่าปรากฏก่อนที่ชาวบ้านจะย้ายเข้ามาอยู่และสร้างวัดประจำหมู่บ้าน “วัดปิง” เข้าใจว่าตามชื่อแม่น้ำมีประวัติว่าเคยบูรณะเมื่อปี พ.ศ.2403 เพราะองค์พระธาตุเจดีย์พังลงเมื่อแผ่นดินไหวครั้งหลังสุดที่ผ่านมา ด้านหลังวัดมีแม่น้ำปิงไหลผ่าน และอยู่ใกล้น้ำแม่แฝกที่จะไหลลงแม่น้ำปิงซึ่งต่อมาภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็นวัดสบแฝก ตามชื่อบ้านสบแฝก Author: Yaowapa Kuankhum Photograph by Asek Petfuang
-
วัดศรีทรายมูล (แม่แต)
ประวัติและความเป็นมา วัดศรีทรายมูล (แม่แต) ตั้งอยู่ที่ เลขที่ 77 หมู่ที่ 5 ตําบลแม่แฝก อําเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ สังกัดมหานิกาย มีเนื้อที่ตั้งวัด 3 ไร่ 3 งาน 65 ตารางวา ทิศเหนือจดเหมือง ทิศใต้จดทางเดิน ทิศตะวันออกจดูทางเดิน ทิศตะวันตกจัดเหมืองสาธารณะและ แม่น้ำปิง ที่ดินดังกล่าว ร.อ.อ. เจ้าสุริยะวงค์ สิโรรส มอบถวายเป็น ที่ตั้งวัดเมื่อปี […]
-
วัดพระธาตุจอมกิตติ
ประวัติและความเป็นมา วัดพระธาตุจอมกิตติ ตั้งอยู่ หมู่ที่ 9 ต.แม่แฝก อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ วัดพระธาตุจอมกิตติ เป็นพระเจดีย์รูปทรงปราสาท ภายในบรรจุพระบรมธาตุ สร้างตามแบบสถาปัตยกรรมล้านนา ก่อด้วยอิฐถือปูน ตั้งอยู่บนยอดเขาเล็กๆ ที่บ้านพระธาตุ ตำบลแม่แฝก อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ นับเป็นพระเจดีย์ที่สำคัญและเก่าแก่ของตำบลแม่แฝก สมัยก่อนนั้นเดิมเป็นที่รกร้าง มีชาวบ้านเห็นแสงสว่างปรากฏในเวลากลางคืน ซึ่งมีการพบเห็นหลายคนในบริเวณไม่ไกลจากดอยนั้น ต่างก็พูดตามที่ตนเห็นตรงกันต่อมาได้มีพระธุดงค์องค์หนึ่ง ท่านทราบด้วยญาณว่า บนดอยแห่งนี้มีพระบรมสารีริกธาตุบรรจุอยู่ จึงดำริที่จะสร้างวัดขึ้นบนดอยแห่งนี้ ปรากฏว่าได้รับแรงสนับสนุนจากชาวบ้านแถบนั้น ซึ่งมีกำนันผู้ใหญ่บ้านเป็นผู้นำร่วมใจกันแผ้วถางเพื่อให้รถขึ้นบนดอยได้สะดวก และท่านว่าแสงสว่างที่ปรากฏนั้น เป็นเพราะปาฏิหาริย์ของพระธาตุ […]
-
วัดป่าบง
ประวัติและความเป็นมา วัดป่าบง ตั้งอยู่เลขที 3 หมู่ 2 ตําบลหนองหาร อําเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ สร้างวัดเมื่อปี พุทธศักราช 2440 ด้วยความร่วมมือร่วมใจ สามัคคีกันของประชากรในหมู่บ้านป่าบง และ หมู่ บ้านใกล้เคียงเพื่อเป็นบุญเขต โดยก่อนหน้านั้น มีวัดเดิมคือวัดนันทาราม (ปัจจุบันวัดร้าง) ซึ่งเป็นที่ลุ่มประสบอุทกภัยหลายครั้งจนไม่สามารถใช้สถานที่นั้นได้อีก จึงได้ประชุมปรึกษากันถึงเรื่องการสร้างวัดใหม่ ในที่ประชุมมีมติสร้างวัดใหม่ โดยให้อยู่บนพื้นที่ ๆ สูงกว่าเดิม เพื่อลดปัญหานํ้าท่วม พอได้พื้นที่ ๆ จะสร้างวัด […]
-
วัดเจดีย์แม่ครัว
ประวัติความเป็นมา วัดเจดีย์แม่ครัว ตั้งอยู่เลขที่ 94 หมู่ที่ 3 ตําบลแม่แฝกใหม่ อําเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อในอดีตนั้น ที่ตั้งวัดและหมู่บ้านเจดีย์แม่ครัวปัจจุบันเป็นป่าลึกไม่มีผู้คนอาศัยอยู่มีประชาชนอาศัยอยู่บริเวณแม่น้ำปิงห่างจาก วัดเจดีย์แม่ครัวไปทางทิศตะวันตกประมาณ 3 กิโลเมตร ต่อมาได้มีผู้คนเข้ามาบุกเบิกป่าเป็นที่อยู่อาศัยและที่ทํากิน และได้พบซากสิ่งของต่าง ๆ เป็นที่ธรณีสงฆ์ในปัจจุบัน ห่างจากวัดไปทางทิศตะวันออกประมาณ 500 เมตร ที่แสดงให้เห็นว่าเคยเป็นวัดมาก่อน เช่น ฐานวิหาร และองค์เจดีย์เป็นต้น ต่อมาที่ฐานเจดีย์ถูกขุด และได้พบพระพุทธรูปและพระเครื่องต่าง ๆ จํานวนมาก (ได้หายไประหว่างปฏิสังขรณ์) […]
-
วัดบ้านโป่ง
ประวัติวัดบ้านโป่ง วัดบ้านโป่ง ตั้งอยู่เลขที่153 หมู่ที่ 2 ตําบลแม่แฝก เขต 1 อําเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ สังกัด มหานิกาย ได้รับอนุญาตสร้างวัด วันที่ 15 มีนาคม 2421 ชื่อว่าเจ้าบ้านโป่ง รับพระราชทานวิสุงคามสีมา วันที่ 23 มิถุนายน 2470 ที่วัดบ้านโปงมีพื้นที่ 2 ไร่ 3 งาน 36 ตาราง […]
-
วัดแม่เตาไห
ประวัติและความเป็นมา วัดแม่เตาไห ตั้งอยู่เลขที่ 75 หมู่ 1 ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย วัดแม่เตาไห ตั้งชื่อวัดตามชื่อหมู่บ้าน(แต่เดิมสันนิฐานว่าชื่อบ้าน “แม่คำเก้าไห” (“คำ” ในภาษาเหนือคือ “ทองคำ” ในภาษาไทยกลาง) ต่อมาเกิดความแห้งแล้ง ขาดน้ำกินน้ำใช้ถึงขนาดที่ว่าเต่าร้องไห้ เพราะไม่มีพืชผักและน้ำ จึงมาเป็น บ้านแม่เต่าไห้และกร่อนเสียงมาเป็นแม่เตาไห) สร้างวัดขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2411 โดยความร่วมมือของชาวบ้าน ได้สร้างเสนาสนะและถาวรวัตถุเรื่อยมา จนได้รับพระราชทานตั้งวัดเมื่อ พ.ศ. 2430 […]
-
ต๋าแหล๋ว
“ต๋าแหลว” ในภาษาเหนือหมายถึง ตาเหยี่ยว เป็นเครื่องหมายทางพิธีกรรมตามความเชื่อของคนล้านนา เพื่อแสดงอาณาเขตที่มีเจ้าของ เขตหวงห้าม และยังเชื่อว่าจะสามารถปกป้องพื้นที่นั้นให้คลาดแคล้วจากภัยพิบัติทั้งปวง และจะนำมาใช้ในพิธีแฮกนาด้วย “ต๋าแหลว” ทำจากไม้ไผ่ที่จักเป็นตอกแผ่นบาง สานให้เป็นรูปดวงตาเหยี่ยวมีหลายรูปแบบ แบบสามเหลี่ยม หรือสามแฉก มีความเชื่อว่าเหมือนมีคนมานั่งท่องบทสวด มะ อะ อุ ตลอดเวลา ซึ่งบทสวดนี้ “มะ” หมายถึง คุณแห่งพระพุทธเจ้า คือ มนุสฺสานํ พุทฺโธ ภควาติ “อะ” หมายถึง คุณแห่งพระธรรมเจ้า คือ […]
-
การแฮกนาปลูกข้าว
สังคมไทยปลูกข้าวเพื่อการบริโภคมาตั้งแต่ยุคโบราณกาล เรียกได้ว่า ข้าวเป็นแหล่งอาหารที่หล่อเลี้ยงคนในสังคมไทย ดังนั้นการผลิตข้าวจึงเป็นสิ่งสำคัญในวิถีชีวิตของคนไทย การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นจากปราชญ์ชาวบ้านที่มีอาชีพทำนารวมไปถึงการประกอบพิธีกรรมที่เกี่ยวกับเกษตรกรรม ความเชื่อเกี่ยวกับข้าว สามารถใช้เป็นอุบายให้มนุษย์อยู่กับธรรมชาติได้อย่างเหมาะสมและสมดุลย์ พิธีกรรมการปลูกข้าวจึงถือกำเนิดขึ้น กลายเป็นวัฒนธรรมสืบเนื่องต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน อันเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของผู้ที่ประกอบอาชีพการทำนา ประเพณีการทำนาของคนล้านนาในสมัยก่อน จะทำพิธีเคารพเจ้าที่เพื่อขออนุญาติเจ้าที่และสภาพแวดล้อมทั้งปวง โดยจะมีพิธีกรรม “แฮกนา” หรือแรกนา ซึ่งเป็นพิธีกรรมสำคัญพิธีกรรมหนึ่งทางด้านการเกษตรที่เกษตรกรจะทำก่อนช่วงฤดูทำนา (ก่อนทำนาปลูกข้าว) ในราวเดือนแปดเหนือหรือเดือนหกใต้ เพื่อบอกกล่าวเจ้าที่เจ้าทาง แม่โพสพ แม่ธรณี ที่จะเริ่มทำนา เพื่อให้ได้ผลผลิตดี ไม่มีอะไรมารบกวน ก่อนการแฮกนาตามความเชื่อจะมีการศึกษาตำราพญานาคในหนังสือปีใหม่สงกรานต์ของแต่ละปีว่าพญานาคหันหน้าไปทางทิศใด เพื่อดูว่าควรจะไถนาไปในทิศทางใด ซึ่งจะไม่ไถนาย้อนเกล็ดพญานาคเพราะมีความเชื่อว่าไม่เป็นมงคล เพราะผาลไถไปไถย้อนเกล็ดนาคผู้รักษาน้ำซึ่งการไถนาย้อนเกล็ดนาค เรียกกันว่า “ไถเสาะเกล็ดนาค” […]