ฉุ่ยโพข่อหล่อเด๊าะ (ใบบัวบก)

by

|

in

ชื่อท้องถิ่น (บ้านห้วยผักกูด) ฉุ่ยโพข่อหล่อเด๊าะ

ใบ

ชื่อทางการ ใบบัวบก ชื่อท้องถิ่น (บ้านห้วยผักกูด) ฉุ่ยโพข่อหล่อเด๊าะ ฉุ่ยโพข่อหล่อเด๊าะ เป็นภาษาท้องถิ่นบ้านห้วยผักกูด ตำบลแม่ศึกษา อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นชาติพันธุ์ “ชนเผ่ากะเหรี่ยง หรือปาเกอะญอ” คำว่า ฉุ่ยโพข่อหล่อเด๊าะ แปลตรง ๆ เป็นภาษาไทยว่า “รอยเท้าลูกสุนัข” ซึ่งมีที่มาจากผู้เฒ่าสมัยก่อนเดินเข้าป่าเพื่อหาอาหารเลี้ยงชีพ ได้เจอพืชผักใบบัวบก สามารถรับประทานเป็นอาหารได้ แต่ไม่รู้จะเรียกชื่อว่าอะไร นั่งไตร่ตรอง และคิดชื่ออยู่นาน บังเอิญแลเห็นรอยเท้าลูกสุนัขผู้ติดตาม มีลักษณะคล้ายกับใบของใบบัวบก จึงเรียกเชื่อว่า “ฉุ่ยโพข่อหล่อเด๊าะ” มาจนถึงทุกวันนี้

ใบบัวบก หรือ ฉุ่ยโพข่อหล่อเด๊าะ เป็นพืชเลื้อยบนดิน มีขนาดเล็ก ก้านใบยาว ต้นหลักมีรากยาวสีขาว ชุดใบดก และมีไหลเลื้อยจำนวนมาก ข้อไหลจะประกอบไปด้วยชุดใบ ชุดดอก และชุดราก มีรสชาติฝาดเล็กน้อย สามารถรับประทานได้ทุกส่วนของพืช ชาวบ้านนิยมนำมารับประทานมีอยู่หลัก ๆ 2 ลักษณะคือ 1. รับประทานเพื่อสุขภาพ โดยวิธีการกินกับน้ำพริกต่าง ๆ และวิธีการผัดเป็นอาหาร 2.รับประทานเพื่อเป็นยารักษาอาการช้ำใน รักษาแผลข้างใน รักษาอาการปวดหลัง ปวดเอว โดยวิธีการต้มเพื่อดื่มน้ำ

ลำต้น

ไหล

ราก

ราก

ก้านใบ

ผู้ให้ข้อมูล :  นายนิยม ณรงค์ชัยปัญญา (ผู้ใหญ่บ้านบ้านห้วยผักกูด)
ผู้เก็บข้อมูล : นายณรงณ์ ณรงค์ชัยปัญญา