สําเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีเทคโนโลยี การเกษตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีภูมิทัศน์ จากสถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้ (ปัจจุบัน คือ มหาวิทยาลัยแม่โจ้) เป็นศิษย์เก่าแม่โจ้รุ่น 50 และสําเร็จการ ศึกษาระดับปริญญาโท ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยแม่โจ้
นายบรรจง สมบูรณ์ชัย เข้ารับราชการในตําแหน่งอาจารย์ ระดับ 3 สังกัดภาควิชาภูมิทัศน์และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ตั้งแต่พุทธศักราช 2534 เคยดํารงตําแหน่งหัวหน้าภาควิชาภูมิทัศน์และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ในพุทธศักราช 2548-2550 ต่อมาได้ปฏิบัติหน้าที่ในตําแหน่งผู้ช่วยคณบดี รองคณบดี และเคยดํารงตําแหน่งคณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ระหว่างพุทธศักราช 2550-2559 เป็นลําดับ ปัจจุบันปฏิบัติงานในตําแหน่ง อาจารย์ สังกัดคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยแม่โจ้
นายบรรจง สมบูรณ์ชัย เป็นผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวิชาการอนุรักษ์และ ฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมเป็นที่ประจักษ์ โดยในพุทธศักราช 2544-2550 เป็นผู้ร่วมวิจัย ในโครงการการพัฒนาภูมิทัศน์ป่าอนุรักษ์บ้านโปง เพื่อเป็นพื้นที่นั้นทนาการทางธรรมชาติ ตาบลป่าไผ่ อําเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ พุทธศักราซ 2546-2548 เป็นผู้ร่วมวิจัยในโครงการการศึกษาเพื่อจัดทําผังแม่บทการบริหารจัดการ “พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติที่มีชีวิต และสถานที่ท่องเที่ยวเชิงพัฒนา” ศูนย์ศึกษา การพัฒนาห้วยฮ่องไคร้อันเนื่องมาจากพระราชดําริ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย จังหวัดเชียงใหม่ ปี 2554 เป็นผู้ร่วมวิจัยในโครงการความเชื่อมโยงของกิจกรรม ด้านการท่องเที่ยวในเมืองประวัติศาสตร์เชียงใหม่ จากแหล่งทุนสํานักงานกองทุน สนับสนุนการวิจัย ปี 2552 -2554 เป็นผู้ร่วมวิจัยในโครงการการศึกษาศักยภาพของวัดในเขตเทศบาลตําบลของอําเภอโดยรอบอําเภอเมืองเชียงใหม่ เพื่อวางแผนพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมของชุนชน แหล่งทุนสํานักวิจัย และส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ พุทธศักราช 2553 – 2554 เป็นผู้ร่วมวิจัยโครงการการสํารวจแหล่งเกษตรกรรมและพื้นที่ธรรมชาติ เพื่อการอนุรักษ์ให้เป็นย่านสิ่งแวดล้อมสีเขียวของชุมชนในเมืองเชียงใหม่ และพุทธศักราช 2554 เป็นผู้ร่วมวิจัยในโครงการการวางแผนพัฒนาชุมชนเกษตรอย่างยั่งยืนโดยการมีส่วนร่วม กรณีศึกษาเทศบาลตําบลป่าไผ่ อําเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ นอกจากนี้ นายบรรจง สมบูรณ์ชัย ยังเป็นหัวหน้าโครงการวิจัย เรื่องการอนุรักษ์และฟื้นฟูต้นฉำฉาถนนสายวัฒนธรรม เชียงใหม่-สันกําแพง อย่างมีส่วนร่วมของชุมชน พุทธศักราช 2552 – 2554 จากแหล่งทุนสํานักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้อีกด้วย
นายบรรจง สมบูรณ์ ชัย มีผลงานบทความวิจัยและบทความ ทางวิชาการที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และส่งเสริมสิ่งแวดล้อมที่น่าสนใจ อีกเป็นจํานวนมาก อาทิ นําเสนอบทความวิชาการ เรื่อง การฟื้นฟูต้นฉำฉาถนนสายวัฒนธรรม เชียงใหม่-สันกําแพง ในการประชุมวิชาการระดับชาติภูมิทัศน์และสิ่งแวดล้อม ครั้งที่ 2 ณ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยแม่โจ้ บทความวิชาการเรื่อง เกณฑ์การออกแบบพื้นที่สีเขียวและต้นไม้ใหญ่ในเมือง ในรายงานสืบเนื่องการประชุมวิชาการผังเมือง ครั้งที่ 2 มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร และนําเสนอบทความวิชาการ เรื่อง การจัดการดูแลรักษาและการฟื้นฟูต้นไม้ใหญ่ในเมืองในการประชุมวิชาการสถาปัตยกรรมและการออกแบบสิ่งแวดล้อม ครั้งที่ 1 ณ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม นายบรรจง สมบูรณ์ชัย ยังมีผลงานหนังสือเกี่ยวกับต้นไม้และการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมที่น่าสนใจ ได้แก่ หนังสือหมอต้นไม้ ตีพิมพ์เมื่อพุทธศักราช 2554 หนังสือคู่มือการบริหารจัดการสภาพภูมิทัศน์ของสถานศึกษาและชุมชนตามศักยภาพและบริบท โรงเรียนบ้านขุนแปะ อําเภอจอมทอง โรงเรียนบ้านแม่หลองน้อย อําเภออมก๋อย โรงเรียนมัธยมกัลยาณิวัฒนาเฉลิมพระเกียรติ อําเภอกัลยาณิวัฒนา จังหวัดเชียงใหม่ และโรงเรียนบ้านพญาพิภักดิ์ อําเภอขุนตาล จังหวัดเชียงราย พุทธศักราช 2560
นายบรรจง สมบูรณ์ชัย ยังได้ทําหน้าที่ประธานกรรมการประจํา คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ระหว่างพุทธศักราช 2555–2559 เป็นคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ระหว่างพุทธศักราช 2555–2559” เป็นกรรมการสภามหาวิทยาลัย ระหว่างพุทธศักราช 2555–2559 เป็นกรรมการงานมหกรรมพืชสวนโลก ราชพฤกษ์ 2006 นอกจากนี้ ระหว่างพุทธศักราช 2555-2560 ยังเป็นคณะกรรมการและที่ปรึกษา เช่น มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม สถาบันคลังสมองแห่งชาติ มูลนิธิสถาบันฟื้นฟูสุขภาพแมคเคน มูลนิธิไทยรักษ์ป่า มูลนิธิสร้างสรรค์การศึกษา อุทยานแห่งชาติศรีลานนา เชียงใหม่ คณะกรรมการสภาเมืองสีเขียว เชียงใหม่ เป็นต้น
นายบรรจง สมบูรณ์ชัย มีผลงานอาชีพซึ่งแสดงถึงความสําเร็จ อันเป็นแบบอย่างที่ดี เช่น เป็นบุคคลอนุรักษ์สถาปัตยกรรมดีเด่นภาคเหนือ ด้านสภาพแวดล้อมสร้างสรรค์ กรรมการสถาปนิกล้านนา สมาคมสถาปนิกในพระบรมราชูปถัมภ์ ประจําพุทธศักราช 2548 เป็นบุคคลเชิดชูเกียรติที่ดําเนินงานด้านการอนุรักษ์ ฟื้นฟู ดูแลต้นไม้ และการสนับสนุนด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยใช้มิติทางวัฒนธรรมในการสืบสานตํานานต้นไม้ กระทรวงวัฒนธรรม ประจําพุทธศักราช 2560 เป็นผู้ทรงคุณวุฒิ ประเมินคุณภาพสิ่งแวดล้อม (EIA) ด้ านสุนทรียภาพและพื้นที่สีเขียว จังหวัดเชียงใหม่ สํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พุทธศักราช 2559 จนถึงปัจุบัน เป็นต้น
ระหว่างพุทธศักราช 2515-2519 นายบรรจง สมบูรณ์ชัย ได้ปลูกป่าต้นสัก ที่ตําบลเวียงมอก อําเภอเถิน จังหวัดลําปาง ปัจจุบันเป็นป่าไม้สักที่สวยงาม แห่งหนึ่งของจังหวัดลําปาง และในพุทธศักราช 2524-2532 นายบรรจง สมบูรณ์ชัย ยังได้ริเริ่มจัดงาน “ลานนาพฤกษาชาติ” ขึ้นในสวนสัตว์เชียงใหม่ เพื่อส่งเสริมฤดูกาลท่องเที่ยวในฤดูฝน และยึดวันที่ 12 สิงหาคมเป็นวันจัดงาน เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวและการจําหน่ายไม้ดอกและไม้ประดับ และเป็นงานที่นักศึกษาแม่โจ้และประชาชนทั่วไปมีโอกาสแสดงความสามารถจนได้รับรางวัล เป็นที่ประจักษ์อยู่หลายครั้ง ในพุทธศักราช 2520 ได้ทําการบุกเบิกงานที่สวนสัตว์เชียงใหม่ โดยสํารวจและนําเสนอโครงการขยายพื้นที่ที่ได้รับมอบหมาย ดําเนินการด้วยตนเองโดยผู้บังคับบัญชาคอยอํานวยความสะดวก ใช้เวลานาน 6 ปี รัฐบาลขยายพื้นที่เข้าไปในเขตอุทยานดอยสุเทพได้ 500 ไร่เศษ จนเป็นสวนสัตว์เชียงใหม่ในปัจจุบัน
นายบรรจง สมบูรณ์ชัย ยังได้มีส่วนร่วมในการเริ่มต้นฟื้นฟูสมาคมศิษย์เก่าแม่โจ้ โดยการดําริและพูดคุยหลายครั้งกับศาสตราจารย์วิภาต บุญศรี วังซ้าย และมีส่วนในการระดมทุนจากศิษย์เก่าในพุทธศักราช 2522 และเป็นผู้จัดทําป้ายไม้สักชื่อสมาคมศิษย์เก่า ได้ร่วมกิจกรรมและให้ความช่วยเหลืองานภารกิจต่าง ๆ ของสมาคมศิษย์เก่าแม่โจ้ ตลอดระยะเวลากว่า 30 ปี
โดยที่ นายบรรจง สมบูรณ์ชัย เป็นผู้มีผลงานดีเด่นซึ่งประพฤติปฏิบัติตน ตามแบบแผนแห่งทางราชการ ใฝ่ศึกษาหาความรู้เพื่อพัฒนาตนเองอันนํามาซึ่งประโยชน์ของหน่วยงานและประชาชนทั่วไป อุทิศตนเพื่อประโยชน์ต่อประเทศชาติและปฏิบัติหน้าที่ด้วยความวิริยะอุตสาหะ ซื่อสัตย์ สุจริต จนประสบความสําเร็จ อย่างยอดเยี่ยม เป็นแบบอย่างแก่บุคคลทั่วไป ซึ่งนับว่าเป็นบุคคลผู้มีเกียรติประวัติ และคุณสมบัติเหมาะสม สมควรได้รับการสดุดีเกียรติคุณเป็นศิษย์เก่าดีเด่น ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้
ข้อมูล ณ : วันพุธที่ 18-19 กุมภาพันธ์ 2561 พิธีพระราชทานปริญญาบัตรมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ครั้งที่ 40 ประจําปีการศึกษา 2559-2560