June 2, 2021
-
นวัตกรรมเกษตร IT
in องค์ความรู้นวัตกรรมเกษตร IT และระบบอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการเกษตร คือ การทำเกษตรโดยนำเทคโนโลยีสมัยใหม่ ทางด้านอิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์สื่อสาร มาใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ ที่สำคัญในการทำฟาร์มเกษตรและบริหารจัดการฟาร์มอย่างอัตโนมัติ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และลดต้นทุนการทำฟาร์มเกษตร โดยเทคโนโลยีสมัยใหม่เหล่านี้ อาทิเช่น เทคโนโลยี Wireless Sensor/IoT sensors , Remote sensing , Cloud Computing และ Mobile Application เป็นต้น การจัดการดังกล่าวเมื่อพิจารณากระบวนการแล้ว ก็คือการเกษตรแบบแม่นยำ (Precision farming) และฟาร์มอัจฉริยะ (Smart farming) นั่นเอง ข้อมูลที่ได้จาก sensor ต่าง ๆ จะถูกส่งผ่านเครือข่าย ของสัญญาณวิทยุมายัง Data Center และถูกประมวลผล และสั่งงานย้อนกลับไปหน้าฟาร์มหรือ แสดงค่าการพยากรณ์ การเตือน และการแนะนำผ่านแอปพลิเคชันไปยังเกษตรกรโดยตรง มหาวิทยาลัยแม่โจ้ นำโดยหน่วยวิจัยเกษตรอัจฉริยะและโซลูชั่นทางการเกษตร สังกัด คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร ได้ทำการวิจัยและพัฒนา…
-
เห็ดตับเต่าสร้างรายได้
in องค์ความรู้Maejo University Archives · IH – EP10 – เห็ดตับเต่า King Bolete Mushroom เห็ดตับเต่า (Phlebopus colossus (Heim.) Singer) เป็นเห็ดที่นิยมรับประทานกันมากในภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เห็ดตับเต่าเป็นเห็ดราเอ็กโตไมคอร์ไรซ่าที่อยู่กับพืชอาศัยได้หลายชนิด เช่น ลําไย หว้า หางนกยูงไทย หางนกยูงฝรั่ง ขนุน ชมพู่ ทองหลาง ผักหวานบ้าน มะกอกน้ำ มะกล่ำต้น มะม่วง มะไฟจีน เชื้อเห็ดตับเต่าช่วยให้พืชได้รับสารอาหารโดยตรงจากกระบวนการเมตะโบไลท์ และยัง ช่วยสร้างเส้นใยห่อหุ้มรากทำให้สามารถดูดซับความชุ่มชื้นจากดินและราก ทำให้พืชสามารถทนต่อ สภาวะที่แห้งแล้งได้ดี น้ำย่อยของเห็ดตับเต่าช่วยให้แร่ธาตุอาหารในดินแปรสภาพมาอยู่ในรูปที่เป็น ประโยชน์ต่อพืช อีกทั้งยังทำหน้าที่เหมือนราเจ้าถิ่นทำให้เชื้อราโรคพืชต่างๆ เข้าทำลายพืชได้ยากขึ้น จึงทำให้ต้นไม้ที่มีเชื้อเห็ดตับเต่าอาศัยอยู่มีความแข็งแรงต้านทานต่อเชื้อราโรคพืชได้ดี เส้นใยของเห็ดราเจริญห่อหุ้มรากของต้นไม้ไว้ช่วยรักษาความชื้นให้ต้นไม้ในฤดูแล้ง และเชื้อราช่วยย่อยสลายซากพืชซาก สัตว์ในดินให้เป็นธาตุอาหารในรูปที่ต้นไม้ใช้ประโยชน์ได้ทันที และเมื่ออยู่ในสภาพสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม ก็จะรวมตัวกันออกเป็นดอกเห็ดบริเวณโคนต้นไม้ที่มีรากพืชกระจายอยู่ นักวิจัยได้นำดอกเห็ดตับเต่ามาทำการแยกเชื้อในห้องปฏิบัติการ เลี้ยงเชื้อลงในอาหารมันฝรั่ง (PDA) เมื่อเชื้อเดินเต็มอาหาร PDA จึงย้ายเชื้อลงเลี้ยงในอาหารเมล็ดข้าวฟ่าง เพื่อเพิ่มปริมาณเชื้อให้มากขึ้น…