189, 190, 191, 192, 193, 194

เห็ดตับเต่า (Phlebopus colossus (Heim.) Singer) เป็นเห็ดที่นิยมรับประทานกันมากในภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เห็ดตับเต่าเป็นเห็ดราเอ็กโตไมคอร์ไรซ่าที่อยู่กับพืชอาศัยได้หลายชนิด เช่น ลําไย หว้า หางนกยูงไทย หางนกยูงฝรั่ง ขนุน ชมพู่ ทองหลาง ผักหวานบ้าน มะกอกน้ำ มะกล่ำต้น มะม่วง มะไฟจีน เชื้อเห็ดตับเต่าช่วยให้พืชได้รับสารอาหารโดยตรงจากกระบวนการเมตะโบไลท์ และยัง ช่วยสร้างเส้นใยห่อหุ้มรากทำให้สามารถดูดซับความชุ่มชื้นจากดินและราก ทำให้พืชสามารถทนต่อ สภาวะที่แห้งแล้งได้ดี น้ำย่อยของเห็ดตับเต่าช่วยให้แร่ธาตุอาหารในดินแปรสภาพมาอยู่ในรูปที่เป็น ประโยชน์ต่อพืช อีกทั้งยังทำหน้าที่เหมือนราเจ้าถิ่นทำให้เชื้อราโรคพืชต่างๆ เข้าทำลายพืชได้ยากขึ้น จึงทำให้ต้นไม้ที่มีเชื้อเห็ดตับเต่าอาศัยอยู่มีความแข็งแรงต้านทานต่อเชื้อราโรคพืชได้ดี เส้นใยของเห็ดราเจริญห่อหุ้มรากของต้นไม้ไว้ช่วยรักษาความชื้นให้ต้นไม้ในฤดูแล้ง และเชื้อราช่วยย่อยสลายซากพืชซาก สัตว์ในดินให้เป็นธาตุอาหารในรูปที่ต้นไม้ใช้ประโยชน์ได้ทันที และเมื่ออยู่ในสภาพสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม ก็จะรวมตัวกันออกเป็นดอกเห็ดบริเวณโคนต้นไม้ที่มีรากพืชกระจายอยู่

นักวิจัยได้นำดอกเห็ดตับเต่ามาทำการแยกเชื้อในห้องปฏิบัติการ เลี้ยงเชื้อลงในอาหารมันฝรั่ง (PDA) เมื่อเชื้อเดินเต็มอาหาร PDA จึงย้ายเชื้อลงเลี้ยงในอาหารเมล็ดข้าวฟ่าง เพื่อเพิ่มปริมาณเชื้อให้มากขึ้น

รูปที่ 1 แสดงการแยกเชื้อจากดอกเห็ด 

เมื่อเส้นใยเชื้อเห็ดเจริญเติบโตเต็มอาหารข้าวฟ่าง นำออกมาขยี้เส้นใยเชื้อเห็ดในน้ำที่ปราศจาก คลอรีนในอัตราส่วน เชื้อเห็ดในอาหารเมล็ดข้าวฟ่าง 1 ขวด ต่อน้ำ 700 มิลลิลิตร นำเฉพาะน้ำเส้นใยเชื้อ เห็ดฉีดใส่ลงรากของกล้าไม้อายุประมาณ 1-3 เดือน ที่ปลูกในถุงดำ จำนวน 20 มิลลิลิตร (ปริมาณเชื้อ เห็ดขึ้นอยู่กับขนาดความสูงของต้นกล้า) อนุบาลกล้าไม้ในที่ร่ม ใส่เชื้อเห็ด 2 ครั้ง ห่างกัน 1 เดือน เส้นใย เชื้อราเห็ดตับเต่าจะเข้าไปอาศัยอยู่บริเวณรากของต้นพืช ซึ่งจะเห็นว่ารากบวมใหญ่ขึ้นและเปลี่ยนเป็นสี ขาว อนุบาลกล้าไม้ไว้อีก 1 เดือน สามารถนำออกปลูก เชื้อเห็ดจะส่งผลให้พืชหาอาหารได้ดีขึ้น มีการ เจริญเติบโตที่รวดเร็ว แข็งแรง ให้ผลผลิตที่เร็วขึ้นกว่าต้นพืชที่ไม่ได้ใส่เชื้อเห็ด และเมื่อเส้นใยเห็ดสะสม อาหาร เจริญเติบโตเต็มที่ จะออกดอกเห็ดเป็นแหล่งรายได้อีกทางหนึ่ง ภายใน 2-3 ปี ขึ้นอยู่กับชนิด ของพืชที่อาศัย

รูปที่ 2 แสดงการใส่เชื้อเห็ดลงในพืช และผลการเจริญเติบโตของพืช

ผู้วิจัย : 
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วรรณา มังกิตะ
อาจารย์ประจำสาขาวิชาการจัดการป่าไม้ (หลักสูตรปริญญาโท)
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ 17 หมู่ 3 ต.แม่ทราย อ.ร้องกวาง จ.แพร่
เบอร์ติดต่อ 063-9625395

Illustration : https://pixabay.com/