นวัตกรรมเกษตร IT

ผศ.ดร.โชติพงศ์ กาญจนประโชติ

คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร

นวัตกรรมเกษตร IT และระบบอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการเกษตร คือ การทำเกษตรโดยนำเทคโนโลยีสมัยใหม่ ทางด้านอิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์สื่อสาร มาใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ ที่สำคัญในการทำฟาร์มเกษตรและบริหารจัดการฟาร์มอย่างอัตโนมัติ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และลดต้นทุนการทำฟาร์มเกษตร โดยเทคโนโลยีสมัยใหม่เหล่านี้ อาทิเช่น เทคโนโลยี Wireless Sensor/IoT sensors , Remote sensing , Cloud Computing และ Mobile Application เป็นต้น

การจัดการดังกล่าวเมื่อพิจารณากระบวนการแล้ว ก็คือการเกษตรแบบแม่นยำ (Precision farming) และฟาร์มอัจฉริยะ (Smart farming) นั่นเอง ข้อมูลที่ได้จาก sensor ต่าง ๆ จะถูกส่งผ่านเครือข่าย ของสัญญาณวิทยุมายัง Data Center และถูกประมวลผล และสั่งงานย้อนกลับไปหน้าฟาร์มหรือ แสดงค่าการพยากรณ์ การเตือน และการแนะนำผ่านแอปพลิเคชันไปยังเกษตรกรโดยตรง มหาวิทยาลัยแม่โจ้ นำโดยหน่วยวิจัยเกษตรอัจฉริยะและโซลูชั่นทางการเกษตร สังกัด คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร ได้ทำการวิจัยและพัฒนา Platform นวัตกรรมเกษตร IT

Platform นวัตกรรมเกษตร IT

ตัวอย่างนวัตกรรมที่ถ่ายทอดสู่เกษตรกร

  1. ระบบฟาร์มลำไยอัจฉริยะ
  2. ระบบ การทำนาข้าวอัจฉริยะ
  3. ระบบการบริหารจัดการการฉีดพ่นเคมีเกษตรด้วย UAV
  4. ระบบต้นแบบกรวยวัดน้ำนมอัจฉริยะ เพื่อช่วยบริหารจัดการฟาร์มโคนม

ต้นแบบกรวยวัดน้ำนมอัจฉริยะพร้อมระบบซอฟต์แวร์ 

ระบบต้นแบบกรวยวัดน้ำนมอัจฉริยะ ข้อมูลปริมาณน้ำนมโครายตัว สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในด้านการจัดการฟาร์มให้มีประสิทธิภาพได้เป็นอย่างดี ปัจจุบันการบันทึกข้อมูลน้ำหนักทำได้ไม่สะดวก จะต้องชั่งและจดบันทึกน้ำหนักวันละหลายรอบ ต้นแบบกรวยวัดน้ำนมอัจฉริยะ ช่วยอำนวยความสะดวกให้เกษตรกรสามารถบันทึกค่าน้ำนมโครายตัวได้ง่าย และยังนำข้อมูลที่ได้แปรผลในรูปแบบของระบบสารสนเทศเพื่อช่วยในการจัดการฟาร์มโคนมให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

การทำงานของระบบของเครื่อง Drone เพื่อพ่นยาในระบบจะมีอยู่ 3 ส่วน

  1. กลุ่มสมาชิกเกษตรกร สามารถตรวจเช็คตารางการทำงานของโดรน ทำการจองโดยการส่งคำขอไปยังบริษัทผู้ให้บริการ
  2. ทางบริษัทผู้ให้บริการโดรนพ่นยา กรอกข้อมูลของโดรนที่จะให้บริการ และการตอบรับว่าการให้บริการตามวันเวลาที่สมาชิกเกษตรกรได้จองไว้
  3. ทางฝั่งระบบของมหาวิทยาลัย จะนำข้อมูลดังกล่าวไปทำการวิเคราะห์

 

195, 196, 197, 198, 199, 200

นวัตกรรมเกษตร IT และระบบอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการเกษตร คือ การทำเกษตรโดยนำเทคโนโลยีสมัยใหม่ ทางด้านอิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์สื่อสาร มาใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ ที่สำคัญในการทำฟาร์มเกษตรและบริหารจัดการฟาร์มอย่างอัตโนมัติ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และลดต้นทุนการทำฟาร์มเกษตร โดยเทคโนโลยีสมัยใหม่เหล่านี้ อาทิเช่น เทคโนโลยี Wireless Sensor/IoT sensors , Remote sensing , Cloud Computing และ Mobile Application เป็นต้น

การจัดการดังกล่าวเมื่อพิจารณากระบวนการแล้ว ก็คือการเกษตรแบบแม่นยำ (Precision farming) และฟาร์มอัจฉริยะ (Smart farming) นั่นเอง ข้อมูลที่ได้จาก sensor ต่าง ๆ จะถูกส่งผ่านเครือข่าย ของสัญญาณวิทยุมายัง Data Center และถูกประมวลผล และสั่งงานย้อนกลับไปหน้าฟาร์มหรือ แสดงค่าการพยากรณ์ การเตือน และการแนะนำผ่านแอปพลิเคชันไปยังเกษตรกรโดยตรง มหาวิทยาลัยแม่โจ้ นำโดยหน่วยวิจัยเกษตรอัจฉริยะและโซลูชั่นทางการเกษตร สังกัด คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร ได้ทำการวิจัยและพัฒนา Platform นวัตกรรมเกษตร IT

Platform นวัตกรรมเกษตร IT

ตัวอย่างนวัตกรรมที่ถ่ายทอดสู่เกษตรกร

  1. ระบบฟาร์มลำไยอัจฉริยะ
  2. ระบบ การทำนาข้าวอัจฉริยะ
  3. ระบบการบริหารจัดการการฉีดพ่นเคมีเกษตรด้วย UAV
  4. ระบบต้นแบบกรวยวัดน้ำนมอัจฉริยะ เพื่อช่วยบริหารจัดการฟาร์มโคนม

ต้นแบบกรวยวัดน้ำนมอัจฉริยะพร้อมระบบซอฟต์แวร์ 

ระบบต้นแบบกรวยวัดน้ำนมอัจฉริยะ ข้อมูลปริมาณน้ำนมโครายตัว สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในด้านการจัดการฟาร์มให้มีประสิทธิภาพได้เป็นอย่างดี ปัจจุบันการบันทึกข้อมูลน้ำหนักทำได้ไม่สะดวก จะต้องชั่งและจดบันทึกน้ำหนักวันละหลายรอบ ต้นแบบกรวยวัดน้ำนมอัจฉริยะ ช่วยอำนวยความสะดวกให้เกษตรกรสามารถบันทึกค่าน้ำนมโครายตัวได้ง่าย และยังนำข้อมูลที่ได้แปรผลในรูปแบบของระบบสารสนเทศเพื่อช่วยในการจัดการฟาร์มโคนมให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

การทำงานของระบบของเครื่อง Drone เพื่อพ่นยาในระบบจะมีอยู่ 3 ส่วน

  1. กลุ่มสมาชิกเกษตรกร สามารถตรวจเช็คตารางการทำงานของโดรน ทำการจองโดยการส่งคำขอไปยังบริษัทผู้ให้บริการ
  2. ทางบริษัทผู้ให้บริการโดรนพ่นยา กรอกข้อมูลของโดรนที่จะให้บริการ และการตอบรับว่าการให้บริการตามวันเวลาที่สมาชิกเกษตรกรได้จองไว้
  3. ทางฝั่งระบบของมหาวิทยาลัย จะนำข้อมูลดังกล่าวไปทำการวิเคราะห์

หัวหน้าโครงการ :
ผศ.ดร.โชติพงศ์ กาญจนประโชติ คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร
โทรศัพท์ : 0623956355
 E-mail : choatpong@mju.ac.th

Illustration : https://pixabay.com/