การผลิตพืชอินทรีย์

Maejo University Archives · IH-EP11 การปลูกพืชอินทรีย์

การจัดเตรียมความพร้อมของสภาพดิน สภาพน้ำ ให้เหมาะสมและเพียงพอต่อการปลูกพืชอินทรีย์

มารู้จักกับดินในพื้นที่ของตนเอง

ดินร่วน เป็นดินที่มีเนื้อค่อนข้างละเอียด เมื่อสัมผัสแล้วจะรู้สึกนุ่มมือ มีสภาพค่อนข้างดีกว่าดินชนิดอื่น ปรุงง่าย ฐานดินดี สามารถระบายน้ำได้ดีปานกลางเหมาะสำหรับกำรปลูกพืชเกือบทุกชนิด แต่ควรระวังเรื่องโรคในดิน

ดินทราย เป็นดินที่เมื่อเปียกแล้วยืดหยุ่น ไม่เหมาะกับการปลูกพืชเกือบทุกชนิด แต่เหมาะกับการปลูกพืชหัวบางชนิด เช่น แครท หัวไชท้าว เพราะต้องใช้น้ำในปริมาณที่มากพอสมควร

ดินเหนียว เป็นดินที่ไม่ค่อยดีเพราะค่อนข้างแข็ง หากจะใช้งำนต้องผ่านการปรับปรุงดินเยอะที่สุด เหมาะกับการปลูกพืชชนิดข้าว ผักกระเฉด ผักบุ้งแก้ว

ดินร่วนปนทราย เป็นดินที่มีเนื้อหยาบเล็กน้อยเหมาะแก่การปลูกพืชหัว

ดินเหนียวปนทราย ควรปรับปรุงดินด้วยปุ๋ยหมักค่อนข้างเยอะเพราะดินชนิดนี้เวลารดน้ำ จะแบ่งชั้นดินระหว่างดินเหนียวและดินทรายทำให้นำมาใช้ประโยชน์ได้ยาก หากจะนำมาใช้งานต้องผ่านการปรุงดินเยอะ เหมาะกับการปลูกพืชเถาบางชนิด เช่น แตงโม ฟักทองบางพันธุ์ เป็นต้น

การจัดการทรัพยากรน้ำให้เพียงพอต่อความต้องการของพื้นดิน

“ถ้ารู้ว่าน้ำไม่เพียงพอ เราต้องจัดการระบบน้ำให้ดี น้ำไม่เพียงพอรู้ได้อย่างไร ?”

สำรวจจากตัวเองก่อนว่าจะปลูกพืชชนิดไหน ใช้น้ำมากน้อยเพียงใด ถ้าน้ำพียงพอ ต่อการเกษตรทั้งปีก็ใช้ได้เลย แต่ถ้าใช้เยอะก็ควรหาแนวทางแก้ไขโดยเราควรประเมินจากพืชก่อน เช่น ผักสลัดจะต้องให้น้ำช่วงเช้า 20 นาที โดยใช้ระบบน้ำพุ่ง ไม่ใช้สปริงเกอร์เพราะเม็ดน้ำจะใหญ่กว่าน้ำพุ่ง 8 เท่า จะทำให้ใบช้ำ หน้าดินจะถูกชะล้างออก ทำให้ผักเจริญเติบโตไม่ดี คะน้าสามารถให้น้ำวันเว้นวันได้ แต่รสชาติจะไม่ดีเหมือนที่ได้รับน้ำทุกวัน โดยให้วันละครึ่งชั่วโมง

การจัดเก็บน้ำมีหลายวิธี อาทิเช่น การสร้างสระ/แท้งค์น้ำ/ถัง ให้เพียงพอต่อการใช้งาน ควรตรวจสอบน้ำ หากน้ำมีความสกปรก ตะกอน หรือสนิม ควรทำการพักน้ำก่อนนำมาใช้งาน สีน้ำมีผลต่อพืชผัก ถ้าน้ำเป็นสนิมพืชจะเป็นสีเหลืองตามน้ำ ถ้าหากเรากักเก็บน้ำเพียงพอต่อกำรใช้งาน รู้ว่าเราจะปลูกอะไร ก็ทำการปลูกพืชได้เลย แต่ถ้าหากรู้ว่าน้ำไม่เพียงพอก็ควรปรับปรุงระบบน้ำให้ดี ถ้าอยากให้ผักงามดีให้ดูองค์ประกอบ  คือ ถ้าน้ำดี ดินดี พืชผักก็จะดี

ขั้นตอนการปรุงดิน

1. ขั้นตอนการปรุงดิน

ก่อนทำการปรุงดิน เราต้องประเมินลักษณะของดินในพื้นที่ของเราก่อน จึงจะรู้ว่าควรปรุงดินอย่างไร ก่อนทำการปรุงดินจะต้องไถพรวนและตากดิน 2-3 ครั้ง ครั้งละประมาณ 5 วัน เพื่อตัดวงจรของโรคและแมลง หลังจากนั้นทำการขึ้นแปลงแล้วทำการปรุงดิน ถ้าเป็นไปได้ควรจะปรุงดินทุกรอบ แต่ถ้าหากไม่มีเวลาให้ใช้วิธีการรดน้ำหมักเราต้องทำการวางแผน ต้องรู้ก่อนว่าตัวเองจะปลูกอะไร แล้วเอาปุ๋ยที่ปรุงมาใส่  และปรุงดินตามแปลงที่จะปลูกพืช การปรุงดินขึ้นอยู่กับอายุพืช ให้สังเกตจากอายุพืช และประเภทของพืช ความแตกต่างของการปรุงดินในโรงเรือนและในสวน การปรุงดินในโรงเรือนอาจใช้ดินน้อยแต่ใช้ปุ๋ยหมักเยอะ แต่ถ้าพื้นที่สวนใช้ดินมาก ถ้าหากทั้งสองพื้นที่มีการปรุงดินเหมือนกันมีการให้น้ำตรงเวลาทุกวัน รสชาติของพืชผักก็จะเหมือนกัน

พืชผักใบ มีอายุ 20-45 วัน ปรุงดินโดยใส่ปุ๋ยโบกาฉิ 1 กระสอบ ต่อพื้นที่ 3 ตารางเมตร

พืชหัว ปรุงดินโดยใส่ปุ๋ยโบกาฉิ 1 กระสอบ ต่อ 1 ตารางเมตร

พืชผักอายุยาว เช่น แครอท กะหล่ำดอก บล็อคเคอลี่ ปรุงดินโดยใส่ปุ๋ยโบกาฉิ 1 กระสอบ ต่อ 2 ตารางเมตร

พืชเถา ปรุงดินโดยใส่ปุ๋ยโบกาฉิ 1 กระสอบ ต่อ 3 ตารางเมตร และมาเน้นการปรุงดินในหลุมที่ปลูกเพิ่มลงไปอีก ตัวอย่างเช่น

– ระยะห่างหลุม 50 เซนติเมตร ได้แก่ พืชตะกูลแตง แตงโม แตงไทย ถั่ว ถั่วลันเตา เมล่อน แคนตาลูป

– ระยะห่างหลุม 60 เซนติเมตร ได้แก่ ฟักทองคางคก ข้าวตอก มะเขือเทศราชินิ ท้อ

– ระยะห่างหลุม 80 เซนติเมตร ได้แก่ ฟักทองญี่ปุ่น ฟัก แฟง มะระ บัสเตอร์นัท ถั่วพลู ดอกอัญชัน

– ระยะห่างหลุม 120 เซนติเมตร ได้แก่ เสาวรส

*** (ปุ๋ยโบกาฉิ 1 กระสอบ หนักประมาณ 25-30 กิโลกรัม) ***

                   1.1. การหว่านและไถกลบ

การหว่านและไถกลบเป็นการปรุงดินเบื้องต้น โดยใช้การปลูกพืชตะกูลถั่ว ปอเทือง ถ้าต้นขึ้นประมาณ 1 ศอกหรือประมาณ 7 วัน สามารถไถกลบได้เลยหลังจากนั้นไถอีกครั้งในวันที่ 15 นับจากวันที่ปลูก เมื่อตากดินได้ที่แล้วก็สามารถยกร่องและปรุงดินได้เลย

เทคนิคการยกร่อง

– พืชผักยกร่องสูงประมาณ 15-20 เซนติเมตร (การให้น้ำแบบน้ำพุ่ง)

– พืชหัว เช่น หัวไชท้าว แครอท ยกร่องสูงประมาณ 60 เซนติเมตร (การให้น้ำแบบน้ำพุ่ง)

– พืชเถา ยกร่องสูงประมาณ 50 เซนติเมตร เป็นอย่างต่ำจากร่อง (การให้น้ำพืช มี 2 แบบ คือ แบบน้ำหยด และแบบฟอลโล่)

การเลือกพืชให้เหมาะสมกับพื้นที่ปลูก พร้อมทั้งการจัดพื้นที่ในการปลูกพืช

1. การแบ่งโซน

ในการปลูกตามอายุของพืชต้องทราบอายุของพืชแต่ละชนิดก่อนว่ามีระยะเวลาการเก็บเกี่ยวมากน้อยเพียงใด เป็นพืชชนิดไหน และควรจะปลูกอย่างไร จะทำให้ทราบว่าเราต้องปลูกพืชชนิดใดก่อนหรือหลัง ซึ่งพืชแต่ละชนิดที่นิยมปลูกมีระยะเวลาการเก็บเกี่ยว ดังนี้

ระยะเวลาเก็บเกี่ยว ชนิดพืช
20 วัน – ผักบุ้ง ผักชีไทย (นิยมเก็บในช่วงอายุ 23-28 วัน)
– แตงกวา (นิยมเก็บในช่วงอายุ 28 วันขึ้นไป)
30-35 วัน – กวางตุ้งใบ กวางตุ้งดอก ฮ่องเต้ และผักกาด
45 วัน – คะน้ำ ผักชีลาว ต้นหอม และผักสลัด
60-65 วัน – กะหล่ำดอก ฟักทอง ถั่วพู บวบ พริก มะเขือเทศ
75 วัน – แตงโม
85-90 วัน – กะหล่ำปลี เมล่อน แตงไทย เบบี้แครอท
120 วัน – หัวไชเท้า แรดิช บีทรูท แครอท เสาวรส

จากตารางข้างต้น จะเห็นได้ว่า พืชมีระยะเวลาในการเก็บเกี่ยวแตกต่างกัน ยกตัวอย่าง เช่น เรามีพื้นที่ 1 แปลง จะทำการแบ่งออกเป็น 4 แปลงย่อยดังภาพ ในสัปดาห์แรกจะทำการหว่านเมล็ดผักบุ้ง ลงในแปลงที่ 1 ถัดมาอีกประมาณ 7 วันจะหว่านลงแปลงที่ 2 ถัดจากหว่านแปลงที่ 2 ประมาณ 7 วัน ทำการหว่านแปลงที่ 3 ถัดจากหว่านแปลงที่ 3 ประมาณ 7 วัน ทำการหว่านแปลงที่ 4 ระหว่างรอหว่านแปลงที่ 4 ก็สามารถเก็บผลผลิตในแปลงที่ 1 ไปขายได้ เพราะผักบุ้งมีอายุในการเก็บเกี่ยวประมาณ 20 วัน การปฏิบัติเช่นนี้จะทำให้เรามีผลผลิตผักบุ้งเก็บได้ตลอดทั้งเดือน

วิธีการจดจำว่าพืชแปลงที่เราปลูกคืออะไร ปลูกวันที่เท่าไหร่ เก็บเกี่ยวช่วงวันที่เท่าไหร่ แนะนำให้ทำป้ายปักไว้บริเวณหน้าแปลง เพื่อช่วยให้ตัวเราสามารถจดจำและรับทราบได้ในกรณีที่ปลูกผักหลายชนิด

ถ้าหากมีพื้นที่มากต้องการที่จะปลูกผักหลายชนิด ก็ควรวางแผนปลูกผักทุกชนิดทุกอาทิตย์            ทำการเวียนปลูก ทำปฏิทินพืชผัก จะทำให้เราทราบว่าผักชนิดนี้เราเริ่มปลูกเมื่อไหร่ จำนวนเท่าใด เก็บเกี่ยวได้วันที่เท่าไหร่ จะทำให้เราสามารถรู้และแจ้งลูกค้าได้ว่าในแต่ละวันหรือสัปดาห์เราจะมีผักชนิดไหนที่สามารถนำออกมาขายได้ โดยผักสลัดสามารถเวียนปลูกทุก ๆ 12-25 วัน พืชเถาให้ปลูกทุก ๆ 7 วันพร้อมกับผักบุ้ง พริกและมะเขือเทศรำชินีสามารถเวียนปลูกทุก ๆ 20 วัน – 1 เดือน แตงโม แตงกวา ฟักทอง สามารถเวียนปลูกทุก ๆ 7 วัน                 แต่ไม่เกิน 10 วัน โดยรอบ ๆ แปลงสามารถปลูกดาวเรืองหรือดอกทานตะวันได้ ในสวนของทิศทางพระอาทิตย์เราจะวางแปลงอย่างไรก็ได้ ให้โดนแสงด้านในก็ได้ ยกเว้นเมล่อน ที่ต้นต้องการแสงแดดตลอดทั้งวัน

2. การวางแผนการผลิตพืช

การวางแผนผลิตพืชอย่างต่อเนื่อง หากเรำทราบว่าพืชชนิดนี้ปลูกยาก เราต้องทำการเพาะกล้าไว้ก่อน เช่น ผักคะน้ำต้องทำการเพาะ 7 วันก่อนจะปลูก ส่วนผักบุ้งสามารถหว่านได้เลย เป็นต้น หากเราทราบว่าพืชชนิดใด มีศัตรูพืชชนิดใด ให้ทำการหาวิธีป้องกัน เช่น คะน้ำ นิยมเจอเพลี้ยอ่อน เราต้องดูบริเวณรอบ ๆ ต้นของเราก่อนว่าเป็นต้นอะไร หากต้นนั้นมีการใช้น้ำหมักหรือจุลินทรีย์อยู่แล้ว เราก็สามารถนำน้ำหมักหรือสารชีวภัณฑ์ฉีดพ่นได้เลย เพื่อกำจัดเพลี้ยหรือแมลงศัตรูพืชที่มารบกวนพืชของเรา

การวางแผนการตลาด ควรศึกษาจากพื้นที่บริเวณที่จะทำการส่งสินค้า ว่ามีความต้องการผักชนิดใดบ้าง ชนิดละกี่กิโลกรัม ถ้าทำแบบอินทรีย์ จะมีความต้องการของตลาดเพิ่มขึ้นมากน้อยเพียงใด สามารถทำได้หรือไม่หรือทำได้ยังไง

การวางแผนระบบการจัดการ ในกลุ่มเกษตรกรหรือฟาร์มควรจะมีแผนกตรวจสอบคุณภาพ ซึ่งหลังจากการเก็บเกี่ยวแล้วนำผักมำคัดเลือก ล้างทำความสะอาดแล้ว เมื่อนำมาตัดแต่ง ควรมีกำรตัดแต่งผักให้น้อยที่สุด ควรนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาช่วยในการล้างผักหรือยืดอายุผัก

รู้จักกับโรคพืชและแมลงศัตรูพืช

โรคพืช ส่วนมากมักจะมากับน้ำที่ให้ โรคพืชที่พบส่วนมากได้แก่ รำน้ำค้าง รากเน่า ซึ่งในการปลูกพืชนั้นระบบน้ำที่ใช้ควรตรงกับความต้องการของพืช คือ ระบบเทปน้ำพุ่ง ใช้กับพืชผักชนิดใบ ระบบเทปน้ำหยด ใช้กับพืชอำยุยำว พืชเถา ระบบโฟโล่ ใช้กับพืชที่ยกร่อง

การให้น้ำผัก

พืชผักใบ ให้น้ำระบบน้ำพุ่ง วันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น ไม่เกิน 4 โมง

พืชเถา ให้น้ำระบบน้ำหยดให้ 1 ครั้ง ตอนเช้ำk

พืชที่ยกร่อง ให้น้ำระบบโฟโล่ ให้น้ำวันละ 1 ครั้ง

**** ถ้าให้น้ำเกินความต้องการของพืชจะทำให้เกิดโรคเน่าในดิน เช่น เหี่ยวเขียว ราในน้ำ แอนแทรคโนส ****

 1. รู้จักกับโรคพืชและวิธีป้องกัน

  • โรคราน้ำค้าง เกิดจากการที่พืชได้รับความชื้นสูงเกินไป อาจเกิดจากการให้น้ำที่ผิดวิธี ฝนตก อากาศหนาวหรือหมอกลงจัด โรคนี้เกิดได้ทั้งที่ใบ ผล กิ่งก้านต่าง ๆ ทำให้เซลล์ตาย ใบร่วง ผลผลิตที่ได้มีคุณภาพต่ำ โดยจะพบกลุ่มของเชื้อราเป็นผงสีขาวหรือสีเทาบนใบ ต่อมาด้านหลังใบจะเกิดแผลสีเหลืองและเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล แผลค่อนข้างเป็นเหลี่ยม ขอบไม่แน่นอน ถ้าเป็นรุนแรง แผลจะมีจำนวนมากใบจะเหลือง และแห้งตาย
  • โรคราสนิม เกิดจากการใส่ปุ๋ยหมักที่มีความเข้มข้นมากเกินไปหรือยังไม่ผ่านกรมวิธีการหมักที่สมบูรณ์ การให้น้ำที่ผิดวิธี ฝนตกหรือหมอกลงจัด วิธีป้องกันโรค คือ พ่นปูนแดงหรือด่างทับทิม เมื่อพ่นไปแล้วจะเห็นผลการเปลี่ยนภายใน  15 วัน จะทำให้โรคลดลง
  • เหี่ยวเขียว เป็นโรคที่เกิดขึ้นทางราก เกิดจากแมลงในดิน การใช้ปุ๋ยหมักที่ไม่ได้ประสิทธิภาพหรือแบคทีเรีย วิธีป้องกัน ก่อนทำการเพาะปลูกให้ไถ่กลบแปลงและตากดิน แล้วใช้สารชีวภัณฑ์ช่วยในการทำลายแมลง
  • โรคแอนแทรคโนส มีสาเหตุเกิดจากเชื้อรากลุ่มหนึ่ง ซึ่งสามารถทำลายพืชได้ทุกส่วน ตั้งแต่ ต้น ใบ ดอก และผล โดยเฉพาะอาการเป็นโรคที่ผล จะทำให้สูญเสียผลผลิตมาก วิธีป้องกัน ใช้น้ำปูนใสหรือน้ำผสมผงซักฟอกฉีดพ่น งดใช้ฮอร์โมน ปุ๋ยและน้ำ ให้ทำการรักษาก่อน

2. แมลงศัตรูพืช

  • เพลี้ยไฟ เป็นแมลงที่มีขนาดเล็กมาก มีวงจรชีวิตสั้น แพร่พันธุ์ได้รวดเร็วมีนิสัยชอบอยู่ในจุดเล็ก ๆ ตามซอก ชอบเกิดกับพืชเถาและพริก
  • ไรแดง เป็นศัตรูพืชชนิดสำคัญของพืชตระกูลส้มและพืชชนิดอื่น ๆ มักพบในช่วงฝนทิ้งช่วงจะเข้าสู่ฤดูหนาว เมื่อพืชถูกไรแดงทำลาย ไรแดงจะมาดูดกินน้ำเลี้ยงบริเวณด้านบนใบพืชโดยเฉพาะอย่างยิ่งใบแก่ ทำให้ใบเปลี่ยนเป็นสีเขียวจางและเหลืองซีด เนื่องจากสูญเสียคลอโรฟิลล์
  • หมัดดิน ตัวเต็มวัยจะกัดกินใบผักเป็นรูพรุน เริ่มตั้งแต่ระยะต้นกล้าเป็นต้นไป โดยพบการทำลายใบเลี้ยงและลำต้นอ่อนจนต้นกล้าผักไม่สามารถเจริญเติบโตต่อไปได้ ทำให้มีอาการแคระแกร็นหรือตายไปในที่สุด
  • เต่าแตง พบการระบาดในพืชตระกูลแตง เช่นแตงกวา แตงร้าน บวบ มะระ ฟักแม้ว ฟักเขียว แฟง และตำลึง การทำลายเริ่มแรกจะพบตัวเต็มวัยเพศเมียวางไข่ในดินใกล้โคนต้นเป็นฟองเดี่ยว ๆ หรือเป็นกลุ่มเล็ก ๆ ตัวหนอนสีขาวจะอาศัยอยู่ในดิน และกัดกินรากพืชเป็นอาหาร ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อรากพืชตระกูลแตงในระยะต้นอ่อนอยู่ที่ใบ เต่าแตงจะเข้าทำลายแทะกัดกินใบยอด หากระบาดรุนแรง อาจทำให้ต้นพืชชะงักการทอดยอด มักพบการระบาดในสวนแตงที่มีวัชพืชหนาแน่น เนื่องจากตัวอ่อนอาศัยกัดกินรากพืชจึงเป็นปัญหาในแหล่งปลูกใหม่ที่บริเวณโดยรอบไม่มีการไถพรวนดิน และไม่มีการปราบวัชพืชที่เพียงพอ ซึ่งจะพบการระบาดของด้วงเต่าแตงแดงในทุกฤดู โดยเฉพาะในช่วงที่พืชเริ่มแตกใบจริง
  • หมัดกระโดด พบการระบาดอย่างรุนแรงในพืชตระกูลกะหล่ำ เช่น คะน้า กวางตุ้ง กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก ผักกาดหัว เป็นต้น ตัวอ่อนของหมัดชอบกัดกินหรือชอนไชเข้าไปกินอยู่บริเวณโคนต้น หรือรากของผัก ทำให้พืชผักเหี่ยวเฉาและไม่เจริญเติบโต
  • หนอนชนิดต่าง ๆ พืชผักหรือไม้ดอกบางชนิดที่ถูกทำลายเกิดจากตัวเต็มวัยเพศเมียวางไข่ ที่มีขนาดเล็กภายในผิวพืช เมื่อไข่ฟักเป็นตัวหนอนที่มีลักษณะหัวแหลมท้ายป้าน ตัวหนอนจะชอนไชอยู่ในใบ ทำให้เกิดรอยเส้นสีขาวคดเคี้ยวไปมา เมื่อนำใบพืชมาส่องดูจะพบหนอนตัวเล็ก ๆ สีเหลืองอ่อนโปร่งแสงใสอยู่ภายในเนื้อเยื่อใบพืช หากระบาดรุนแรงจะทำให้ใบเสียหายร่วงหล่น ซึ่งจะมีผลต่อผลผลิตพืชหำกพืชนั้น ๆ ไม่สามารถสร้างใบทดแทนได้พืชก็จะตายในที่สุด

วิธีการกำจัดแมลงศัตรูพืชทุกชนิด ส่วนมากนิยมใช้น้ำส้มสายชูผสมเหล้าขาว จากนั้นใช้ เมธาไรเซียมและน้ำหมักไล่ฉีดพ่น

ขั้นตอนการเก็บเกี่ยวผลผลิต

1. ขั้นตอนการเก็บเกี่ยวผลผลิตพืชแต่ละชนิด มี 2 วิธี

1) การถอน ทำการคัดเลือกพืชที่เจริญเติบโตตามความต้องการ ถอนออกจากดินหรือแปลงปลูกเตรียมนำไปตัดแต่ง
2) การตัดแต่ง นำผักมาทำการตัดราก และเด็ดใบที่ไม่สวยงามออก

2. การจัดแต่งผลผลิต

การตัดแต่งเป็นสิ่งสำคัญ ผู้ผลิตควรคำนึงว่าจะทำอย่างไรให้ลูกค้าซื้อแล้วกลับมาซื้ออีก โดยดึงส่วนที่ไม่ใช้หรือไม่ต้องการออก เช่น ใบแก่ ใบที่สีเหลือง แล้วนำส่วนที่เหลือมาล้างให้สะอาด นำผลผลิต ที่ได้บรรจุออกสู่ตลาด

3. บรรจุภัณฑ์ในการใส่ผลผลิต

บรรจุภัณฑ์มีลูกค้าหลายเกณฑ์ เช่น

1) ลูกค้าตลาดสด ใช้ใบตอง และกาบกล้วย
2) ลูกค้าระดับกลาง ใช้เป็นบรรจุภัณฑ์แบบพลาสติกบรรจุผักทั่วไป
3) ลูกค้าระดับสูง ใช้บรรจุภัณฑ์แบบกล่องพลาสติก คือ หั่นแล้วพร้อมทาน

การเพาะเมล็ดพันธ์และวิธีเก็บรักษาเมล็ดพันธ์แต่ละชนิด

1. การเพาะเมล็ดพันธุ์

เริ่มจากทำการแยกชนิดของเปลือกเมล็ดพันธุ์ก่อนว่าเป็นแบบใด แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ เมล็ดพันธุ์ที่มีเปลือกหนาและเมล็ดพันธุ์ที่มีเปลือกบางเมล็ดพันธุ์ที่มีเปลือกบาง ได้แก่ คะน้า กวางตุ้ง ฮ่องเต้ บวบ แตงโม ฟักทอง แตงกวา เมล่อน แคนตาลูป แช่หรือไม่แช่ก่อนปลูกก็ได้ เช่น คะน้า แช่น้ำ 1 ชั่วโมงก่อนปลูก เมล็ดผักบุ้ง สลัด พริก แช่น้ำ 4 ชั่วโมงก่อนปลูก เมล็ดขึ้นฉ่ายแช่น้ำ 1 คืนก่อนปลูก เวลาปลูกต้องตะแคงเม็ดแนวนอนสักประมาณ 1 เซนติเมตรลงไปในดิน

เมล็ดผักบุ้ง : หลังจากแช่น้ำแล้วสามารถหว่านได้ทันที
เมล็ดผักสลัดและพริก : เมื่อแช่จนครบเวลาแล้วให้นำมาบ่ม โดยใช้ผ้าขนหนูชุบน้า เอาเมล็ดวาง แล้วนำไปบ่ม ถ้าหากเป็นสลัดกับผักขึ้นฉ่ายให้นำไปแช่ตู้เย็นที่ 4 องศาเซลเซียสเป็นเวลา 1-2 วัน แต่ถ้าเป็นพริกให้บ่มที่อุณหภูมิปกติ โดยสังเกตจากราก ถ้ารากงอกจึงจะนำไปลงถาดเพาะได้

การทำพีทมอส นำแกลบดำ ขุยมะพร้าวละเอียด ขี้วัวที่หมักกับอีเอ็มแล้วตากแห้ง (เอาขี้วัวไปบดก่อนแล้วเอาอีเอ็มราดให้เปียก แล้วพลิกกลับไปมาให้ครบ 7 วัน ) แหนแดงแห้งบดละเอียด อย่างละ 1 ส่วน ผสมกับดินบดละเอียด 1 ส่วน หมัก 7-15 วัน กลับกองทุกวัน

2. วิธีเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์

เมล็ดพืชทุกชนิดได้มาแล้วเก็บใส่ตู้เย็นก่อน โดยก่อนทำการเก็บเมล็ดต้องตากแดดอย่างน้อย 5-7 วัน เพื่อเป็นการทำลายเชื้อรา เมื่อถึงวันสุดท้ายให้ตากเมล็ดที่แดดจัดครึ่งวัน และอีกครึ่งวันให้เก็บเมล็ดเข้าที่ร่มเพื่อปรับสภาพอุณหภูมิ หลังจากนั้นจึงเก็บเมล็ดใส่ภาชนะเข้าตู้เย็น

Author : กิติพงษ์ วุฒิญาณ นักวิชาการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ

แหล่งที่มา : http://www.phrae.mju.ac.th/ext/organic-agriculture/