การผลิตปุ๋ยโบกาฉิเพื่อการเพาะปลูกพืช

Maejo University Archives · Bokashi

โบกาฉิ (Bokashi) เป็นคำศัพท์ในภาษาญี่ปุ่นที่แปลว่า การหมัก (Compost) ซึ่งการทำปุ๋ยโบกาฉินั้นเกิดจากการทำหัวเชื้อจุลินทรีย์ EM ในรูปแบบน้ำให้เป็นแห้ง ผู้คิดค้นคนแรกคือ ศ.ดร.เทรูโอะ ฮิหงะ สรุปได้ว่า การทำปุ๋ยโบกาฉินั้นเป็นการทำปุ๋ยหมักด้วยอินทรียวัตถุ ที่หมักด้วยจุลินทรีย์ EM เท่านั้น มาประยุกต์ใช้โดยผ่านกระบวนการหมักแบบแห้ง มีการผสมกากน้ำตาลเข้าไปเพื่อช่วยในกระบวนการย่อยสลายของจุลินทรีย์ ก่อนจะหมักด้วยวัตถุดิบตามสูตรจนได้ที่ และนำไปใช้ให้เกิดผลดีในการปรับสภาพโครงสร้างดินให้ร่วนซุยและมีคุณภาพในการเพาะปลูกพืช

วัสดุและอุปกรณ์ในการทำ

1. แกลบหยาบ 20 กิโลกรัม
2. มูลสัตว์ 30 กิโลกรัม
3. รำละเอียด 50 กิโลกรัม
4. หัวเชื้อจุลินทรีย์ที่ขยายแล้ว 10 ลิตร
5. น้ำสะอาด 30 ลิตร (ไม่มีส่วนผสมของคลอรีน)

วิธีการทำ

นำส่วนผสมทุกอย่างคลุกเคล้าให้เข้ากัน โดยนำของแห้งผสมกันก่อน จึงค่อยเติมน้ำสะอาดและหัวเชื้อจุลินทรีย์ลงไป ทำการผสมต่อให้เข้ากัน โดยให้ปุ๋ยมีความชื้นประมาณ 60-70 เปอร์เซ็นต์ สามารถสังเกตได้จากบีบตัวปุ๋ย หากบีบเป็นก้อนแล้วมีน้ำไหล เนื้อปุ๋ยแตกเป็น 3 ก้อน นั่นคือความชื้นพอดีแล้ว หลังจากนั้นจึงทิ้งไว้ในที่ร่มแล้วกลับกองทุกวัน (กองสูงประมาณ 30 เซนติเมตร) จนครบ 7 วัน สามารถนำไปใช้ได้เพื่อผสมดินเพาะปลูก หากยังไม่ใช้ สามารถเก็บไว้ในกระสอบหรือถุงได้ โดยควรใช้ภายในระยะเวลา 1 ปี

แผนภาพแสดงวิธีการทำปุ๋ยโบกาฉิ

Author

  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ตะวัน ฉัตรสูงเนิน
    อาจารย์ประจำหลักสูตรสาขาเทคโนโลยีชีวภาพทางอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ
    โทรศัพท์ : 0969754005
    E-mail : tawan@mju.ac.th
  • นายธวัชชัย ชัยธวัชวิถี
    นักวิทยาศาสตร์ด้านเทคโนโลยีชีวภาพ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ
    tawatchai-c@mju.ac.th
  • นางสาวสุกัญญา ลางคุลานนท์
    นักวิชาการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ