ที่มาและความสำคัญ

ในขณะที่พื้นที่ป่าลดลงความอุดมสมบูรณ์ของสิ่งมีชีวิตก็ลดลงไปด้วย แหล่งอาหารถูกเปลี่ยนตามความต้องการของมนุษย์โดยทุกสิ่งถูกขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีแต่กลับเกิดปัญหาตามมาอย่างมากมาย ทั้งที่ปัจจัยการผลิตทางเกษตรกรรมและการดำรงชีวิตอย่างมีความสุขอย่างยั่งยืนจำเป็นต้องอาศัยธรรมชาติเป็นหลักอยู่ โดยเฉพาะพืชพรรณซึ่งถือว่าเป็นผู้ผลิตหลักในห่วงโซ่อาหารไม่มีสิ่งใดทดแทนหน้าที่นี้ได้ อยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ สิ่งที่น่าเป็นห่วงอย่างหนึ่งเมื่อแหล่งอาหารลดลง คือ ความหลากหลายของพันธุกรรมพืชอาหารพร้อมทั้งวัฒนธรรมการปรุงอาหารที่เป็นภูมิปัญญาดั้งเดิมกำลังจะเลือนหายไปกับกาลเวลา

เพื่อให้ประชาชน เยาวชนเกิดความรัก ความเข้าใจในธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมที่หลากหลายของการบริโภคผักพื้นถิ่นที่สั่งสมจากบรรพบุรุษมานานที่ทำให้เกิดความปลอดภัยต่อสุขภาพและการตระหนักถึงคุณค่าของสิ่งแวดล้อม และเพื่อกระตุ้นให้ประชาชนได้เห็นได้เห็นความสำคัญของผักพื้นถิ่น นำไปสู่การวางแผนอย่างรอบคอบ ยกระดับ พัฒนาผลิตภัณฑ์ ต่อยอดองค์ความรู้บนฐานทรัพยากรในท้องถิ่นให้เกิดความหลากหลายของผลผลิตสอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคที่แตกต่างกัน โดยเน้นความปลอดภัยของผู้บริโภคเป็นหลัก

มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ ได้จัดตั้งศูนย์รวบรวมพรรณไม้และพืชผักท้องถิ่นจังหวัดแพร่และภาคเหนือตอนบน ภายใต้โครงการพัฒนาศูนย์เรียนรู้เกษตรอินทรีย์ต้นแบบ ในพื้นที่ประมาณ 27 ไร่ ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านพืชและผักพื้นถิ่นและถ่ายทอดองค์ความรู้ทั้งทางทฤษฎีและการฝึกปฏิบัติแก่ประชาชน นักเรียน นักศึกษาและผู้ที่สนใจเข้ามาศึกษาพืชผักพื้นถิ่นและยกระดับเป็นพื้นที่ที่ได้รับการรอง เป็นการทำการเกษตรในระบบเกษตรเกษตรอินทรีย์

Auther : อาจารย์ ดร.มณฑล นอแสงศรี อาจารย์ประจำหลักสูตรสาขาวิชาชีววิทยาประยุกต์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ
แหล่งที่มา : http://www.phrae.mju.ac.th/ext/organic-agriculture/
VDO : https://youtu.be/wHxrwt-Z0E4