โครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีผลิตปุ๋ยอินทรีย์เชิงเดี่ยวคุณภาพสูงมาตรฐาน IFOAM ในระดับอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดใหญ่

รองศาสตราจารย์ ดร.อานัฐ ตันโช หัวหน้าโครงการ

ศูนย์วิจัยและพัฒนาเกษตรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ (จังหวัดเชียงใหม่)

ความเป็นมาและวัตถุประสงค์ของโครงการ 

ผู้ประกอบการหลายรายให้ความสนใจต่อการผลิตสินค้าพรีเมี่ยมโดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ อินทรีย์ในไลน์ผลิตมากขึ้น นับแต่ปีพ.ศ. 2552 เป็นต้นมา อาทิ ผักอินทรีย์ ข้าวอินทรีย์ กาแฟอินทรีย์ และอื่นๆ ส่งผลให้แปลงเกษตรอินทรีย์เพิ่มขึ้นมากในระยะหลังนี้ แต่ทว่าเมื่อเทียบกับพื้นที่เกษตรทั้ง ประเทศแล้ว พื้นที่อินทรีย์ในประเทศไทยยังมีไม่ถึง 1 เปอร์เซ็นต์ และแปลงเหล่านั้นเป็นแปลง ขนาดเล็กและมีหลายแปลงที่ล้มเลิกไปในที่สุด ด้วยสู้กับต้นทุนการปรับปรุงดินและการดูแล โรคแมลงในระยะปรับเปลี่ยนไม่ไหว ทั้งนี้มหาวิทยาลัยแม่โจ้ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยแห่งการเกษตรของ ไทยได้ตระหนักถึงสถานการณ์เกษตรอินทรีย์ดังกล่าวและมีนโยบายที่จะส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ให้ เกิดมากขึ้นในประเทศไทยรวมถึงการเป็นผู้นําด้านการเกษตรอินทรีย์ในภูมิภาคอาเซียนในอนาคต อันใกล้นี้ ซึ่งประจวบเหมาะกับที่จังหวัดเชียงใหม่มีนโยบายดังกล่าวอยู่ก่อนแล้ว จึงเกิดโครงการ ถ่ายทอดเทคโนโลยีผลิตปุ๋ยอินทรีย์เชิงเดี่ยวคุณภาพสูงมาตรฐาน IFOAM ในระดับอุตสาหกรรม ขนาดกลางและขนาดใหญ่ขึ้น โดยโครงการนี้จะเป็นต้นแบบในการนําองค์ความรู้ที่มีอยู่มาผลิต ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรและจากขยะอินทรีย์ด้วยไส้เดือนดินในระดับ อุตสาหกรรม ด้วยเทคโนโลยีที่ใช้ต้นทุนต่ําและผลผลิตปุ๋ยที่ผลิตได้จะมีคุณภาพสูง สามารถขึ้น ทะเบียนปุ๋ยอินทรีย์จากกรมวิชาการเกษตร หรือ IFOAM ได้ ดังนั้นแปลงอินทรีย์ขนาดใหญ่ที่มี ความสนใจในปัจจัยการผลิตอินทรีย์ที่ได้รับอนุญาตให้ใช้กับการเกษตรอินทรีย์ได้นั้น สามารถรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีนี้ไปใช้ภายในแปลงของตน และเมื่อโรงผลิตปุ๋ยอินทรีย์นี้ ก่อสร้างขึ้นในหลายๆ ชุมชนทั่วประเทศและสามารถจําหน่ายปุ๋ยอินทรีย์แก่กลุ่มเกษตรอินทรีย์หรือ ผู้ประกอบการเกษตรอินทรีย์ในราคาต่ําภายในประเทศแล้ว ก็จะเกิตภาพแปลงผลิตพืชอินทรีย์ขนาด ใหญ่ในประเทศไทยขึ้น สร้างความเข้มแข็งของภาคการผลิตผลิตภัณฑ์อินทรีย์ต่างๆ ต่อไปได้อย่าง มั่นคงและยั่งยืน

 

แนะนําหัวหน้าโครงการ 

รองศาสตราจารย์ ดร.อานัฐ ตันโช หรือที่รู้จักกันดีในนาม “มิสเตอร์ไส้เดือนดิน” แห่งมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ปัจจุบันเป็นอาจารย์สอนหนังสืออยู่ในหลักสูตรสาขาวิชาปฐพีศาสตร์ คณะผลิตกรรมการเกษตร รวมถึงดํารงตําแหน่งผู้อํานวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาไส้เดือนดิน และหัวหน้าสถานีวิทยุเพื่อการศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้ สําเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกทางด้าน Applied Biological Sciences สาขา Soil Ecotoxicology and soil Microbiology จากมหาวิทยาลัย Katholieke Universiteit Leuven ประเทศเบลเยี่ยม มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญ ทางด้านการเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะเกษตรธรรมชาติ การใช้จุลินทรีย์ท้องถิ่น การใช้ไส้เดือนดินกําจัดขยะอินทรีย์ การคัดแยกปัสสาวะมนุษย์ไปใช้ทางการเกษตรตามมาตรฐาน EU รวมถึงการปลูกผักในระบบออร์แกนิคไฮโดรโพนิคส์ ตลอดระยะเวลาการทํางานที่ผ่านมา ท่านเป็นวิทยากรให้ความรู้ในด้านต่างๆดังกล่าวแก่หน่วยงานหลายแห่ง นอกจากนี้ยังมีความ เชี่ยวชาญด้านการประชาสัมพันธ์ อาทิเป็นพิธีกรในงานโครงการหลวงแฟร์ที่จัดขึ้นประจําทุกปีใน จังหวัดเชียงใหม่ รวมถึงการดํารงตําแหน่งผู้อํานวยการศูนย์พัฒนาโครงการหลวงห้วยลึก หัวหน้า กองทุนปุ๋ยอินทรีย์และไฮโดรโพนิคส์มูลนิธิโครงการหลวง และการเข้าร่วมเป็นคณะกรรมการ บริหารในสํานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ เครือข่ายภาคเหนือและสถาบันวิจัย และพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) ซึ่งบทบาทเหล่านี้มีส่วนอย่างมากในการบูรณาการความรู้ ที่เกิดขึ้นจากรั้วมหาวิทยาลัยสู่การส่งเสริมใช้อย่างต่อเนื่องและเป็นรูปธรรมแก่เกษตรกรและ ผู้ประกอบการเกษตรอินทรีย์

 

17, 59, 148, 32, 212, 214

โครงการจัดการองค์ความรู้และสื่อสารยุทธศาสตร์เกษตรอินทรีย์ กองแผนงาน มหาวิทยาลัยแม่โจ้. (2559). คู่มือเกษตร อินทรีย์มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เชียงใหม่

ศูนย์วิจัยและพัฒนาเกษตรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ (จังหวัดเชียงใหม่)

เชียงใหม่