โครงการ พัฒนาผลิตภัณฑ์มหาวิทยาลัยแม่โจ้ สู่มาตรฐานเกษตรอินทรีย์สากล

รศ.ดนุวัต เพ็งอัน

สถาบันบริการตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานผลิตภัณฑ์

ความเป็นมาและวัตถุประสงค์ของโครงการ

ปัจจุบันแนวโน้มผู้บริโภคให้ความสนใจกับการดูแลรักษาสุขภาพมากขึ้น จึงเกิดกระแสการบริโภคสินค้าเกษตรอินทรีย์ เพื่อการดูแลรักษาสุขภาพของผู้บริโภคการผลิต สินค้าอินทรีย์เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องให้ความสำคัญ เพราะเกี่ยวเนื่องต่อสุขภาพอนามัยของ เกษตรกรและประชาชนทั้งประเทศ ซึ่งเป็นมาตรฐานความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชนและสิ่งแวดล้อม ของประเทศที่ปราศจากมลพิษ ตลอดจนเป็นการอนุรักษ์พื้นดินและทรัพยากรธรรมชาติของประเทศ ให้คงอยู่อย่างยั่งยืนถาวร

จังหวัดเชียงใหม่ เป็นจังหวัดที่มีศักยภาพด้านที่ตั้งภูมิประเทศ และภูมิอากาศเอื้ออำนวย ส่งผลให้มีศักยภาพที่โดดเด่นด้านเกษตรกรรมดังนั้นกระแสการบริโภคสินค้าเกษตรปลอดภัย/เกษตรอินทรีย์จึงเป็นโจทย์ที่หน่วยงานภาครัฐ และเอกชนสนใจ ตั้งแต่หน่วยงานระดับนโยบายโดยรัฐบาล กระทรวง กรม และจังหวัดเชียงใหม่ ให้การส่งเสริมสนับสนุนด้านการผลิต ให้สอดคล้อง กับความต้องการของตลาด เพื่อให้สินค้าเกษตรปลอดภัย/เกษตรอินทรีย์ที่ผลิตและบริโภคมีความ ปลอดภัย ได้มาตรฐาน อันจะนำไปสู่การมีสุขภาพดีถ้วนหน้าของประชาชน

เนื่องจากมหาวิทยาลัยแม่โจ้เป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำที่มีความเป็นเลิศทางการเกษตร ในระดับนานาชาติและก้าวไปสู่มหาวิทยาลัยอินทรีย์ มหาวิทยาลัยมีผลิตภัณฑ์มากมายที่สามารถ สร้างชื่อเสียงและจำหน่ายเพื่อสร้างรายได้ให้แก่มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ซึ่งจากการที่สถาบันบริการ ตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานผลิตภัณฑ์เป็นที่ปรึกษาให้กับหน่วยงานต่าง ๆ มากมายให้ได้ รับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ประเทศไทยและต่างประเทศ เช่นประเทศสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป ดังนั้นสถาบันบริการตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานผลิตภัณฑ์ จึงได้รับมอบหมายให้เป็น ผู้รับผิดชอบโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์มหาวิทยาลัยแม่โจ้ สู่มาตรฐานเกษตรอินทรีย์สากล เพื่อเป็นการสนับสนุนนโยบายของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ พัฒนาสู่มหาวิทยาลัยเกษตรอินทรีย์และ เป็นตัวอย่างแก่เกษตรกรรุ่นใหม่ในการทำเกษตรอินทรีย์อีกทั้งยังช่วยประชาสัมพันธ์มหาวิทยาลัย ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศอีกด้วย ผลการดำเนินงานและแนวทางการต่อยอดโครงการ

แนะนำหัวหน้าโครงการ

โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์มหาวิทยาลัยแม่โจ้สู่มาตรฐานเกษตรอินทรีย์สากลนี้ อยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของสถาบันบริการรับรองคุณภาพและมาตรฐานผลิตภัณฑ์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ หรือ IOS ซึ่งมีหน้าที่ให้บริการในการส่งเสริมและให้การรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ แก่ทั้งหน่วยงานภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยอยู่แล้ว โดยมีรองศาสตร์จารย์ดนุวัต เพ็งอัน ซึ่งเป็นผู้อำนวยการสถาบันเป็นหัวหน้าโครงการ ทำงานบูรณาการกับทุกกิจกรรมภายในชุดโครงการ พัฒนาอุตสาหกรรมอาหารอินทรีย์จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อให้การสนับสนุนด้านการตรวจรับรอง มาตรฐานให้แก่ทุกผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้นในโครงการ

รองศาสตร์ดนุวัต เพ็งอ้น ปัจจุบันแม้ว่าเกษียณอายุราชการแล้ว แต่ยังคงรับหน้าที่เป็น ผู้อำนวยการสถาบัน IOS ของมหาวิทยาลัยอยู่ เนื่องจากอาจารย์เป็นทั้งผู้ก่อตั้ง และเป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญด้านการตรวจรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีของเกษตรกร ผู้ประกอบการและนักวิชาการที่ทำงานเกี่ยวข้องกับเกษตรอินทรีย์ นอกจากนี้ยังมีประสบการณ์สูง ในการทำการวิจัยและส่งเสริมมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ ทั้งมาตรฐานในประเทศ เช่น Organic Thailand และมาตรฐานต่างประเทศ เช่น USDA, EU, IFORM, Jas และอื่นๆ สามารถเพิ่มมูลค่าสินค้าไทยส่งออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศสร้างความเชื่อมั่นให้ผู้บริโภคทั่วโลกด้วย มาตรฐานเกษตรอินทรีย์สากล และเครื่องมือวิทยาศาสตร์ที่ผ่านมาตรฐาน ISO

แหล่งที่มา : โครงการจัดการองค์ความรู้และสื่อสารยุทธศาสตร์เกษตรอินทรีย์ กองแผนงาน มหาวิทยาลัยแม่โจ้. (2559). คู่มือเกษตร อินทรีย์มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เชียงใหม่

ศูนย์วิจัยและพัฒนาเกษตรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ (จังหวัดเชียงใหม่)

59, 148, 230

2559