โครงการ ฝึกอบรมการผลิตปุ๋ยอินทรีย์แบบไม่พลิกกลับกอง ของชุมชนเพื่อเป็นปัจจัยการผลิตผักอินทรีย์

ผศ.ธีระพงษ์ สว่างปัญญางกูร

สาขาวิศวกรรมอาหาร คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้

ความเป็นมาและวัตถุประสงค์ของโครงการ

คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มีนวัตกรรมใหม่ในการผลิต ปุ๋ยหมักปริมาณมากได้โดยไม่ต้องพลิกกลับกองตั้งแต่ปี พ.ศ.2552 จากการใช้หลักการทางวิศวกรรม มาประยุกต์ใช้ ซึ่งนวัตกรรมใหม่นี้สามารถทำได้ง่าย เพื่อจูงใจให้เกษตรกรหันมาใช้ประโยชน์จาก เศษพืช ลดการเผา มีการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ขึ้นใช้เองมากขึ้น ลดต้นทุนการผลิตจากการลดการใช้ปุ๋ยเคมี ซึ่งจะส่งผลดีต่อเกษตรกรผู้ผลิต และอุตสาหกรรมอาหารอินทรีย์ของจังหวัดเชียงใหม่ ให้มีปริมาณผลผลิตที่เพิ่มขึ้นด้วยต้นทุนที่ต่ำลง ดังนั้นในชุดโครงการพัฒนาอุตสาหกรรมอาหาร อินทรีย์จังหวัดเชียงใหม่นี้ จึงได้จัดให้มีโครงการย่อยคือโครงการฝึกอบรมการผลิตปุ๋ยอินทรีย์แบบ ไม่พลิกกลับกองของชุมชนเพื่อเป็นปัจจัยการผลิตผักอินทรีย์ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดฝึกอบรม การผลิตปุ๋ยอินทรีย์แบบไม่พลิกกลับกองในอำเภอต่างๆ ของจังหวัดเชียงใหม่รวม 10 ครั้ง ครั้งละ 100 คน และสนับสนุนมูลสัตว์ให้แก่กลุ่มเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ 40 กลุ่ม กลุ่มละ 1,000 กระสอบ ซึ่งจะสามารถผลิตปุ๋ยอินทรีย์นวัตกรรมใหม่ได้กลุ่มละ 33 ตัน สำหรับนําไปใช้เป็นปัจจัย ในการปลูกพืชผักและข้าวอินทรีย์ต่อไป

แนะนําหัวหน้าโครงการ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ธีระพงษ์ สว่างปัญญางกูร หรือ “อาจารย์ลุง” แห่งเพจห้องเรียน ปุ๋ยหมักแบบไม่พลิกกองแม่โจ้ เป็นผู้ริเริ่มคิดค้นพัฒนากระบวนวิธีการผลิตปุ๋ยหมักแบบกองเติมอากาศ และพัฒนาต่อยอดสู่นวัตกรรมการผลิตปุ๋ยหมักวิธีวิศวกรรมแม่โจ้ 1 ที่ไม่ต้องใช้ไฟฟ้าและพัดลมอีกต่อไป เป็นกองปุ๋ยรูปสามเหลี่ยมแถวยาวที่ไม่ต้องพลิกกลับกองเลยวัตถุดิบมีเพียงเศษพืช และมูลสัตว์เท่านั้น ใช้เวลาเพียงสองเดือน โดยอาศัยหลักการทางวิศวกรรม “การพาความร้อน ช่วยให้มีการเติมอากาศเข้าไปในกองปุ๋ยตลอดเวลาตามธรรมชาติ ปุ๋ยหมักที่ผลิตได้มีคุณภาพสูง ผ่านมาตรฐานปุ๋ยอินทรีย์ของประเทศ ซึ่งง่ายต่อการผลิตของเกษตรกร สามารถทำได้ทุกที่ทุกเวลา ใช้ระยะเวลาสั้น ได้ปุ๋ยอินทรีย์ที่มีคุณภาพสูงในปริมาณมาก สามารถลดต้นทุนของเกษตรกรได้เป็น อย่างดี ทำให้เป็นที่นิยมของเกษตรกรเป็นจำนวนมาก ดังนั้นในชุดโครงการพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารอินทรีย์จังหวัดเชียงใหม่นี้ จึงได้มอบหมายให้อาจารย์และทีมงานจากคณะวิศวกรรมและ อุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นผู้รับผิดชอบโครงการฝึกอบรมการทำปุ๋ยอินทรีย์แบบ ไม่พลิกกลับกองเพื่อเป็นปัจจัยการผลิตผักอินทรีย์ เพื่อเป็นการสนับสนุนให้เกษตรกรในจังหวัดเชียงใหม่ และพื้นที่ใกล้เคียง สามารถผลิตปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงไว้ใช้เองไดในโครงการดังกล่าวประกอบด้วยผู้รับผิดชอบโครงการจำนวน 3 ท่าน ได้แก่ ผศ.ธีระพงษ์ สว่างปัญญางกูร เป็นหัวหน้าโครงการ โดยมี ผศ.ดร.ชนวัฒน์ นิทัศน์วิจิตร และอาจารย์แสนวสันต์ ยอดค้า จากคณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร เป็นผู้ร่วมรับผิดชอบโครงการ

อาจารย์ธีระพงษ์ สว่างปัญญางกูร สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท ด้านวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ปัจจุบันเป็นอาจารย์ประจำสาขาวิศวกรรมอาหาร คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มีความเชี่ยวชาญด้านการจัดการขยะ มูลฝอยชุมชนแบบบูรณาการ การผลิตปุ๋ยอินทรีย์ปริมาณมากแบบไม่พลิกกลับกอง การแก้ปัญหา ดินเสื่อมหรือดินเป็นกรดเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรและการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ เพื่อใช้เป็นปัจจัยใน การผลิตผักและข้าวอินทรีย์ที่ผลผลิตมีราคาสูง ต้นทุนต่ำ เพิ่มคุณภาพชีวิตเกษตรกร

 

สาขาวิศวกรรมอาหาร คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้

207, 182, 16, 17, 231, 232, 233, 234

โครงการจัดการองค์ความรู้และสื่อสารยุทธศาสตร์เกษตรอินทรีย์ กองแผนงาน มหาวิทยาลัยแม่โจ้. (2559) คู่มือเกษตร

โครงการจัดการองค์ความรู้และสื่อสารยุทธศาสตร์เกษตรอินทรีย์ กองแผนงาน มหาวิทยาลัยแม่โจ้. (2559)

ไทย