ศูนย์เรียนรู้วัฒนธรรมเกษตรล้านนา รวบรวมข้อมูล ภูมิปัญญา ตำนาน ความเชื่อ ภาษาล้านนา
ที่มาและความสำคัญ
ศูนย์เรียนรู้วัฒนธรรมเกษตรล้านนา ได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ.2555 ซึ่งมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้ให้ความสำคัญกับการทำการเกษตร จึงได้จัดตั้งศูนย์เรียนรู้ฯเพื่อเป็นฐานการเรียนรู้ที่ใช้ในการสืบสานวัฒนธรรมประเพณีของคนล้านนา เป็นสถานที่ฝึกอบรม สาธิตการทางการเกษตรแบบธรรมชาติและเกษตรอินทรีย์ การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านล้านนา การจำลองกลุ่มบ้านล้านนาและวิถีของคนล้านนา การจัดนิทรรศการการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านเกษตรล้านนา การไถนาโดยใช้ควาย วัฒนธรรมการปลูกข้าว การดูแลป้องกันศัตรูพืช การเก็บเกี่ยว การปลูกผักสวนครัวหลังบ้านและริมรั้วบ้าน การเลี้ยงสัตว์อินทรีย์ เช่น ไก่หลุม หมูหลุม เป็นต้น การน้อมนำแนวคิดเกษตรทฤษฎีใหม่และปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ต่างๆ ให้แก่ นักเรียน นักศึกษา เยาวชน เกษตรกร และผู้ที่สนใจในการเข้าศึกษาดูงาน สาธิตและฝึกอบรม และยังสนับสนุนการเรียนการสอน รายวิชา ผษ101 เกษตรชีวิต ให้กับนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ และการลงปฏิบัติงานฟาร์มของ นักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้
การถ่ายทอดวัฒนธรรมประเพณีของคนล้านนา
- พิธีกรรมแฮกนา
- พิธีสู่ขวัญข้าว
- พิธีมัดมือควาย
ความสำคัญของการทำเกษตรแบบธรรมชาติ
- การผลิตเชื้อราขาว
- การทำน้ำหมักจุลินทรีย์ 3 ประเภท 7 ชนิด
- การผลิตน้ำหมักจุลินทรีย์ป้องกันกำจัดศัตรูพืชและสัตว์
- การเลี้ยงสัตว์อินทรีย์ในหลุม (ไก่หลุม,หมูหลุม)
การผลิตเชื้อราขาว ทำได้ 3 อย่าง
การใช้ประโยชน์ ช่วยย่อยสลาย ปรับความเป็นกรด-ด่าง ทำให้ดินสามารถปล่อยแร่ธาตุได้ดี ทำให้ดินมีออกซิเจนไหลเวียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้พืชต้านทานโรค ลดต้นทุนการผลิต เพิ่มผลผลิต กำจัดกลิ่นเหม็น และกำจัดมลภาวะ
- การเก็บเชื้อราขาว (IMO1)
- การทำหัวเชื้อราขาว (IMO2)
- การทำหัวเชื้อขยาย (IMO3)
การผลิตน้ำหมักจุลินทรีย์ 3 ประเภท 7 ชนิด
- ประเภทที่ 1 จากพืช (พืชสีเขียว ผลไม้สุก พืชสมุนไพร)
- ประเภทที่ 2 จากน้ำซาวข้าว (นมสด เปลือกไข่ ถ่านกระดูกสัตว์)
- ประเภทที่ 3 จากสัตว์ (เศษกุ้ง หอย ปู ปลา ไส้เดือน รกหมู)
การผลิตน้ำหมักจุลินทรีย์ป้องกันกำจัดศัตรูพืชและสัตว์
- วัสดุที่ใช้ (อย่างใดอย่างหนึ่ง) ได้แก่ สาบเสือ ใบยูคา ใบสะเดา ใบยาสูบ ไหลแดง(โล่ติ้น) หนอนตายยาก ตะไคร้หอม บอระเพ็ด กระเทียม พริกขี้หนู ดีปลี ฯลฯ
- อัตรา พืช 7 กก. : น้ำตาลทรายแดง 3 กก.
- ข้อบ่งใช้
- พ่นศัตรูพืช 3-4 ช้อน ต่อน้ำ 10 ลิตร
- พ่นศัตรูสัตว์ 3-4 ช้อน ต่อน้ำ 10 ลิตร
- พ่นวัชพืช 7-10 ช้อน ต่อน้ำ 10 ลิตร
ผู้รับผิดชอบ ว่าที่ร้อยตรีสมบูรณ์ ระดม เบอร์โทรศัพท์ 081-3877736
ตำแหน่ง นักวิชาการเกษตร
สังกัด สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร
Leave a Reply