การจัดการปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับเชื้อราอาบัสคูลาร์ไมคอร์ไรซาปรับปรุงดินในระยะปรับเปลี่ยนเพื่อเข้าสู่ระบบเกษตรอินทรีย์

ชื่อเรื่องอื่น

ดร.ผานิตย์ นาขยัน

คณะผลิตกรรมการเกษตร

บทคัดย่อ

การศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงสมบัติของปุ๋ยหมักมูลสัตว์ร่วมกับสปอร์ของเชื้อราไมคอร์ไรซา ผลของการใช้ปุ๋ยหมักร่วมเชื้อราอาบัสคูลาร์ไมคอร์ไรซาต่อการเจริญเติบโตในระบบปลูกข้าวไร่และ ข้าวโพด และการใช้พืชร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์และเชื้อราไมคอร์ไรซาต่อการเปลี่ยนแปลงสมบัติทางเคมีและฟิสิกส์ของดินที่ผ่านการทําเกษตรเคมี ทําการศึกษาการเปลี่ยนแปลงสมบัติของปุ๋ยหมักมูลสัตว์ร่วมกับสปอร์ของเชื้อรา ไมคอร์ไรซา โดยศึกษาสมบัติของปุ๋ยหมักมูลสัตว์หลังการหมักของสัปดาห์ที่ 1, 4 และ 8 และนําไปวิเคราะห์สมบัติของปุ๋ยอินทรีย์ ศึกษาผลของการใช้ปุ๋ยหมักร่วมเชื้อราอาบัสคูลาร์ไมคอร์ไรซาต่อการเจริญเติบโตในระบบปลูกข้าวไร่และข้าวโพด โดย าเนินการในแปลงเกษตรกร

วัตถุประสงค์

1.เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงสมบัติของปุ๋ยหมักมูลสัตว์ร่วมกับสปอร์ของเชื้อราไมคอร์ไรซา

2.เพื่อศึกษาผลของการใช้ปุ๋ยหมักร่วมเชื้อราอาบัสคูลาร์ไมคอร์ไรซาต่อการเจริญเติบโตในระบบปลูกข้าวไร่และข้าวโพด

3.เพื่อศึกษาการใช้พืชร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์และเชื้อราไมคอร์ไรซาต่อการเปลี่ยนแปลงสมบัติทางเคมีและฟิสิกส์ของดินที่ผ่านการทําเกษตรเคมี

วิธีการดำเนินงาน

การศึกษาโครงการย่อยที่ 1 การศึกษาการเปลี่ยนแปลงสมบัติของปุ๋ยหมักมูลสัตว์ร่วมกับสปอร์

ของเชื้อราไมคอร์ไรซา

การเตรียมปุ๋ยหมักร่วมกับสปอร์ไมโครไรซ่าสหรับการศึกษาสมบัติของปุ๋ยอินทรีย์

นําปุ๋ยหมักมูลหมูและปุ๋ยหมักมูลวัว ชั่งน้ำหนักปุ๋ยคอกทั้งสองชนิด ๆ ละ 2 กิโลกรัมพร้อมกับใส่ จํานวนสปอร์ตามสัดส่วนของปุ๋ยที่ใช้ แล้วนําไปบ่มและหมักไว้โถพลาสติกขนาด 20 ลิตร และปิดฝาในช่วงหมักประกอบด้วย 3 ซ้ำโดยเก็บตัวอย่างปุ๋ยเพื่อวิเคราะห์ธาตุอาหารและสมบัติของปุ๋ยหลังการบ่ม 7, 28, และ 56 วัน ตามลําดับ

การศึกษาโครงการย่อยที่ 2 ผลของการใช้ปุ๋ยหมักร่วมเชื้อราอาบัสคูลาร์ไมคอร์ไรซาต่อการ เจริญเติบโตในระบบปลูกข้าวไร่และข้าวโพด

ดำเนินการในแปลงเกษตรกร โดยมีเงื่อนไขการศึกษา โดยใช้แผนการศึกษาแบบ RCBD โดยมีรายละเอียดดังนี้

Methods Reference
pH กรมวิชาการเกษตร, 2541
EC กรมวิชาการเกษตร, 2541
TOM (Nelson and Sommers, 1996)
Total N (Bremner, 1965)
Total P (Jones et al., 1991)
Total K (Walinga et al., 1989)
% การงอก รมวิชาการเกษตร, 2541

 

การศึกษาโครงการย่อยที่ 3 การใช้พืชร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์และเชื้อราไมคอร์ไรซาต่อการ เปลี่ยนแปลงสมบัติทางเคมีและฟิสิกส์ของดินที่ผ่านการทําเกษตรเคมี

  1. แผนการทดลอง

การวางแผนการทดลองแบบ Randomize Complete Block Design (RCBD) จํานวน 3 ซ้ำใช้ พื้นที่ปลูกข้าวไร่ของเกษตรกร โดยมีชนิดของปุ๋ยอินทรีย์ คือ
1.ชุดควบคุม
2.ปุ๋ยหมัก
3.ปุ๋ยหมัก+ AME ชนิดที่ 1
4. ปุ๋ยหมัก+ AMF ชนิดที่ 2 โดยมีราละเอียด ดังต่อไปนี้

ตำรับการทดลอง สัญญาลักษณ์ รายละเอียด
C1 Cno ไม่ใส่ปุ๋ย
C2 Cs ปุ๋ยหมักกากถั่วเหลือง
C3 Crs ปุ๋ยหมักฟางข้าว
C4 Cs+rs ปุ๋ยหมักกากถั่วเหลือง+ฟางข้าว
T1 Tsrsgg ปุ๋ยหมักกากถั่วเหลือง+ปุ๋ยหมักฟางข้าวร่วมกับหัวเชื้อGG
T2 Tsrsgm ปุ๋ยหมักกากถั่วเหลือง+ปุ๋ยหมักฟางข้าวร่วมกับหัวเชื้อGM
T3 Tsrsge ปุ๋ยหมักกากถั่วเหลือง+ปุ๋ยหมักฟางข้าวร่วมกับหัวเชื้อGE
T4 Tsrsg+e ปุ๋ยหมักกากถั่วเหลือง+ปุ๋ยหมักฟางข้าวร่วมกับหัวเชื้อG+E
T5 Tsrsaf ปุ๋ยหมักกากถั่วเหลือง+ปุ๋ยหมักฟางข้าวร่วมกับหัวเชื้อAF
T6 Tsrs5 ปุ๋ยหมักกากถั่วเหลือง+ปุ๋ยหมักฟางข้าวร่วมกับหัวเชื้อทั้ง 5 ชนิด

 

 

 

 

 

 

 

 

 

2 วิธีการศึกษา

2.1 การเตรียมเมล็ดข้าวโพดและการปลูก

มีการขึ้นแปลงและตากดินไว้ 3-5 วัน ยกร่องพร้อมปลูกสูง 25-30 ซม. ระยะห่างระหว่างแปลง                30 ซม. ระยะห่างระหว่างหลุม 25 เซนติเมตร ขนาดแปลง 1m x 4m ในขณะเดียวกันมีการเตรียมเมล็ด

ภาพที่ 1 ขั้นตอนการเตรียมต้นกล้าข้าวโพดพร้อมปลูก

2.2 การใส่ปุ๋ย (ตามทรีท์เมนต์) แบ่งใส่ 2 ครั้งคือ หลังถอนแยก 20 และ 40 วัน

                             

 

การเตรียมปุ๋ยผสมเชื้อราดไมคอร์ไรซา

หัวเชื้อดินไมคอร์ไรซาที่ใช้ในการศึกาครั้งนี้ ได้แก่ Glomus etunicatum, Glomus geosporum, Glomus mossaac, Glomus foveata นำปุ๋ยหมักฟางข้าวที่หมักสมบูรณ์แล้ว  25 กรัม ผสมกับหัวเชื้อดินไมคอร์ไรซา 25 กรัม คุลกเคล้าให้เข้ากัน แล้วนำปุ๋ยคลุกเคล้ากับดินในแปลงทดลอง

ภาพที่ 3 ปุ๋ยชนิดต่าง ๆ ที่ใช้สำหรับการทดลอง

 

การตรวจหาเชื้อราอาบัสคูลาร์ไมคอร์ไรซาในราก (Root colonization)

การตรวจหาเชื้อราอาบัสคูลาร์ไมคอร์ไรซาในรากด้วยการย้อมสีรากพืช ตามวิธีของ McGonigle และ คณะโดยนำตัวอย่างรากพืชมาล้างน้ำให้สะอาด นำไปต้มในน้ำยาโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ เข้มข้น 10 เปอร์เซ็นต์ (10% KOH) อุณหภูมิ 121 องศาเซลเซียส 4 นาที แล้วล้างด้วยน้ำ จากนั้นซับพอหมาด นำไปย้อมด้วย 0.05% trypan blue ใน tactoglycerol ที่อุณหภูมิไม่เกิน 121 องศาเซลเซียลนาน 4 นาที จากนั้นนำรากวางบนสไลด์แล้วส่องดูใต้กล้องจุลทรรศน์

สรุปผล

จากการศึกษาเปลี่ยนแปลงสมบัติของปุ๋ยหมักมูลสัตว์ร่วมกับสปอร์ของเชื้อราไมคอร์ไรซา พบว่าปุ๋ยมูลหมูมีคุณสมบัติทางปุ๋ยอินทรีย์สูงกว่าปุ๋ยมูลวัวอย่างมีนัยทางสถิติตลอดระยะเวลาการหมัก 56 วัน และเชื้อ G.etunicatum มีประสิทธภาพต่อการเปลี่ยนแปลงปุ๋ยอินทรีย์มากที่สุด โดยอัตราการเปลี่ยนแปลง นั้นสามารถแบ่งเป็น 2 ช่วง โดยช่วงแรกปุ๋ยทั้งสองมีกิจกรรมที่เกิดขึ้นจากจุลินทรีย์ต่าง ๆ เกิดกระบวนการย่อยสลายอินทรีย์วัตถุที่อยู่ในปุ๋ยหมัก และเมื่อเวลาผ่านไป กระบวนการเหล่านี้จะลดลงก็จะทำให้กิจกรรมของจุลินทรีย์มีอัตราลดลงจนถึงที่ต่ำสุดและคงที่เมื่อสิ้นสุดการหมักปุ๋ย แสดงให้เห็นถึงศักยภาพที่จะนำไปใช้ในการประเมินความสมบูรณ์ในการหมักของปุ๋ยหมัก และเชื้อ G.etunicatum มีประสิทธิภาพต่อการเปลี่ยนแปลงปุ๋ยอินทรีย์มากที่สุด การวิเคราะห์ดินตามการใส่เชื้อไมคอร์ไรซาแต่ละชนิด พบว่าในฤดูปลูกที่ 1 ค่า P และ   Water Soluble Carbon (WSC) ใส่เชื้อ G.mosseae (GM) มีค่าสูงสุด, ค่า NO3- และNH4+ ที่ใส่เชื้อทุกชนิด มีค่าสูงสุด และในฤดูปลูกที่ 2 ค่า pH และ   Zn ที่ใส่เชื้อ G.geosporum (GG) มีค่าสูงสุด ค่า K ที่ใส่เชื้อ A.foveata (AF) มีค่าสูงสุด

ข้อมูลจาก สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร
ภาพหน้าปกจาก pixabay.com

รศ.ดร.ศุภธิดา อ่ำทอง

คณะผลิตกรรมการเกษตร

2565