การพัฒนาเทคนิคการเลี้ยงปลาเศรษฐกิจ โดยระบบอินทรีย์ เพื่อเพิ่มรายได้วิสาหกิจชุมชน

นิวุฒิ หวังชัย

โครงการพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารอินทรีย์จังหวัดเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยแม่โจ้

วัตถุประสงค์

  1. พัฒนาเทคนิคการเลี้ยงปลาเศรษฐกิจอินทรีย์ต้นแบบเพื่อชุมชน ที่ลดต้นทุน และยั่งยืน สามารถสร้างรายได้ให้กับชุมชน
  2. สร้างศูนย์สาธิตการผลิตการผลิตปลากะพงอินทรีย์ต้นแบบเพื่อชุมชนและตลาดปลาอินทรีย์ 1 ศูนย์
  3. จัดการฝึกอบรมถ่ายทอดความรู้เทคนิคการเลี้ยงปลากะพง ให้แก่เกษตรกร จำนวน 50 ราย
  4. สร้างความมั่นคงทางอาหารและเศรษฐกิจตลอดจนส่งเสริมโครงการ Northern Food Valley ของ   จ.เชียงใหม่ และประเทศ โดยมีผลผลิตปลา จำนวน 2,000 กิโลกรัม (ปลาสดและปลาเป็น)

เป้าหมายผลผลิตและตัวชี้วัด

ตัวชี้วัด หน่วยนับ เป้าหมาย
เชิงปริมาณ

ผลิตภัฒฑ์ปลากระพงขาวสัตว์น้ำอินทรีย์ที่เหมาะสมต่อการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำอินทรีย์ (ปลาเป็น)

น้ำหนัก 2,000 กก.
เชิงปริมาณ

สร้างแหล่งเรียนรู้ศูนย์สาธิตและตลาดปลาอินทรีย์

แห่ง 2
เชิงปริมาณ

จัดฝึกอบรม โดยมีเกษตรกรเข้ารับอบรมจำนวน 50 คน

คน 50
เชิงปริมาณ

ร้อยละของผู้เข้ารับบริการที่มีความรู้เพิ่มขึ้นจากการเข้ารับบริการ

ร้อยละ 80
เชิงคุณภาพ

ร้อยละความพึงพอใจในกระบวนการให้บริการ

ร้อยละ 80

กิจกรรมที่ 1 ผลิตภัณฑ์ปลากะพงขาวสัตว์น้ำอินทรีย์

  1. ผลผลิตภัณฑ์ปลากะพงขาวสัตว์น้ำอินทรีย์

บ่อเลี้ยงปลากะพงขาวเชิงอินทรีย์

ปลากะพงษ์ขาว

กิจกรรมที่ 2 สร้างแหล่งเรียนรู้ศูนย์สาธิตและตลาดปลาอินทรีย์ 1 แห่ง

2.1 สร้างแหล่งเรียนรู้ศูนย์สาธิตและตลาดปลาอินทรีย์ 2 แห่ง เลี้ยงปลากะพงขาวตามแบบอินทรีย์ ต.บ้านเป้า อ.แม่แต่ง จ.เชียงใหม่ และคณะเทคโนโลยีการประมง มหาวิทยาลัยแม่โจ้

ศูนย์สาธิตการเลี้ยงปลากะพงขามตามแบบอินทรีย์ ณ  ต.บ้านเป้า อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ (1) คณะเทคโนโลยีการประมง มหาวิทยาลัยแม่โจ้ (2)

กิจกรรมที่ 3 จัดการฝึกอบรมเกษตรกร

3.1 จัดการฝึกอบรมเกษตรกรจำนวน 57 คน จำนวน 1 วัน

หลักสูตร “การพัฒนาเทคนิคการเลี้ยงปลาเศรษฐกิจ โดยระบบอินทรีย์ เพื่อเพิ่มรายได้ของวิสาหกิจชุมชน” ในวันที่  9 พฤษภาคม 2559 ณ ศูนย์การเรียนรู้ชุมชน หมู่ที่ 1 ตำบลช่อแล อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่

การบรรยายให้ความรู้

ทำอาหารเลี้ยงปลาเชิงอินทรีย์ โดยเกษตรกร

ถ่ายภาพร่วมกันหลังจบการฝึกอบรม

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการดำเนินโครงการ

  1. ได้แนวทางพัฒนาเทคนิคการเลี้ยงปลาเศรษฐกิจอินทรีย์ต้นแบบเพื่อชุมชน ที่ลดต้นทุน และสามารถสร้างรายได้ให้กับชุมชน
  2. สร้างศูนย์สาธิตการผลิตการผลิตปลากะพงอินทรีย์ต้นแบบเพื่อชุมชน 2 แห่ง
  3. จัดการฝึกอบรมถ่ายทอดความรู้เทคนิคการเลี้ยงปลากะพง ให้แก่เกษตรกรจำนวน 50 ราย
  4. สร้างความมั่นคงทางอาหารและเศรษฐกิจตลอดจนสส่งเสริมโครงการ Northem Food Valley ของ  จ.เชียงใหม่ และประเทศโดยมีผลผลิตปลา จำนวน 2,000 กิโลกรัม (ปลาสดและปลาเป็น)

 

ระยะเวลาดำเนินโครงการเริ่มต้น ตุลาคม 2558 สิ้นสุด กันยายน 2559 รอบระยะเวลา 12 เดือน จำนวนงบประมาณ 800,000 บาท

มหาวิทยาลัยแม่โจ้ 63 หมู่ 4 ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ E-mail : maejo@mju.ac.th โทร. 0 5387 5100-2 ต่อ 138 www.mju.ac.th

รัตนา ใจเย็น, ผู้แต่งร่วม

โครงการพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารอินทรีย์จังหวัดเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ E-mail : maejo@mju.ac.th โทร. 0 5387 5100-2 ต่อ 138 www.mju.ac.th

2564