การทำการเกษตรกรรมสมัยใหม่ (Modern Agriculture) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและเพิ่มเสถียรภาพทางด้านอาหารให้กับชุมชน สังคมตลอดจนระดับภูมิภาค ด้วยการเพิ่มปริมาณและปรับปรุงคุณภาพของผลผลิตทางการเกษตรให้มีปริมาณเพียงพอต่อประชากรที่เพิ่มขึ้นตลอดจนลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมที่กำลังเสื่อมโทรมลง
ศูนย์ความเป็นเลิศด้านนวัตกรรมเกษตรสมัยใหม่
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.โชติพงศ์ กาญจนประโชติ
หน่วยวิจัยสมาร์ทฟาร์มและโซลูชั่นทางการเกษตร
การทำการเกษตรกรรมสมัยใหม่ (Modern Agriculture) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและเพิ่มเสถียรภาพทางด้านอาหารให้กับชุมชน สังคมตลอดจนระดับภูมิภาค ด้วยการเพิ่มปริมาณและปรับปรุงคุณภาพของผลผลิตทางการเกษตรให้มีปริมาณเพียงพอต่อประชากรที่เพิ่มขึ้นตลอดจนลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมที่กำลังเสื่อมโทรมลง การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเข้ามาในงานฟาร์ม จนเป็นระบบการทำการเกษตรกรรมสมัยใหม่ อาทิเช่น เกษตรกรรมยั่งยืน (Sustainable agriculture) การทำฟาร์มปลอดสารพิษ (Organic Farming) การทำฟาร์มแบบเร่งรัด (Intensive Farming) เกษตรแม่นยำ (Precision Farming) การทำฟาร์มอัจฉริยะ (Smart Farming) และธุรกิจเกษตรครบวงจร (Agribusiness) เป็นต้น
ปัจจุบันโลกได้ก้าวเข้าสู่ยุค Internet of Things (IoT) อย่างเต็มตัว เทคโนโลยีนี้จะเข้ามาเปลี่ยนโฉมหน้าของระบบการทำการเกษตรอย่างถาวร ด้วยเทคโนโลยีการถ่ายโอนข้อมูลความเร็วสูง 4G และ 5G จะทำให้เกิดนวัตกรรมและเครื่องมือที่เข้ามาช่วยงานในฟาร์มอย่างหลากหลาย และการเกิดขึ้นของ Big Data จะนำไปสู่ระบบดิจิตอลสำหรับสนับสนุนการทำการเกษตร (Agriculture Decision support system; ADSs) ที่ผ่านมารัฐบาลมุ่งนโยบายการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน โดยส่งเสริมให้นำองค์ความรู้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้เพิ่มศักยภาพในภาคการเกษตร และเปลี่ยนเกษตรกรไปสู่ผู้ประกอบการเกษตรเกษตรมืออาชีพ (Smart Farmer) ในขณะเดียวกันกระแสการทำฟาร์มเกษตรด้วยวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมสมัยใหม่นี้ยังเป็นกระแสในกลุ่มประเทศเพื่อนบ้านข้างๆ เราใน ASEN ซึ่งการเปลี่ยนโฉมการทำการเกษตรสมัยใหม่นี้ สามารถช่วยลดต้นทุน เพิ่มปริมาณและคุณภาพของผลผลิตซึ่งมีผลกับการแข่งขันทางการตลาดอย่างแน่นอน
หน้าที่
1. เผยแพร่การใช้งานอุปกรณ์และระบบสนับสนุนการทำการเกษตรสมัยใหม่ (เกษตรแม่นยำและเกษตรอัจฉริยะ) สู่ชุมชนและสังคมภายนอกมหาวิทยาลัย สร้างศูนย์ฐานข้อมูลกลางทางการเกษตรเพื่อสนับสนุนกิจกรรมทางการเกษตรในพื้นที่ที่รับผิดชอบ
2. หารายได้จากผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับระบบอุปกรณ์เกษตรแม่นยำและเกษตรอัจฉริยะ
3. จัดอบรมถ่ายทอดความรู้เทคโนโลยีแก่นักวิชาการ เกษตรกร และผู้ที่สนใจ
หัวหน้าศูนย์ฯ : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.โชติพงศ์ กาญจนประโชติ
แหล่งข้อมูล : สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
หน่วยวิจัยสมาร์ทฟาร์มและโซลูชั่นทางการเกษตร
หน่วยวิจัยสมาร์ทฟาร์มและโซลูชั่นทางการเกษตร
2566
ประเทศไทย