หน่วยความเป็นเลิศด้านการปรับปรุงพันธุ์ข้าวมหาวิทยาลัยแม่โจ้

หน่วยความเป็นเลิศด้านการปรับปรุงพันธุ์ข้าวมหาวิทยาลัยแม่โจ้

หน่วยความเป็นเลิศด้านการปรับปรุงพันธุ์ข้าวมหาวิทยาลัยแม่โจ้

การปรับปรุงพันธุ์ข้าวในประเทศไทยโดยทั่วไปยังคงใช้วิธีการปรับปรุงพันธุ์แบบมาตรฐานอยู่ แต่หน่วยความเป็นเลิศด้านการวิจัยและพัฒนาการปรับปรุงพันธุ์ข้าวมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ทำการปรับปรุงพันธุ์ข้าวโดยใช้เครื่องหมายโมเลกุลช่วยในการคัดเลือก การนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้ โดยเฉพาะการใช้เทคโนโลยีเครื่องหมายโมเลกุลจะเป็นการเพิ่มโอกาสให้การปรับปรุงพันธุ์ประสบความสำเร็จได้มากขึ้น การปรับปรุงพันธุ์พืชให้มีลักษณะตามที่ต้องการจะต้องมีการคัดเลือกลักษณะนั้น ๆ อย่างถูกต้อง แม่นยำ และมีประสิทธิภาพสูงที่สุด เน้นการคัดเลือกที่ยีนซึ่งเป็นอีกระบบที่มีการคัดเลือกที่แม่นยำและมีประสิทธิภาพสูง

ข้าวเป็นพืชที่มีพื้นที่เพาะปลูกมากที่สุดในประเทศไทย ซึ่งคิดเป็น 46.1% ของพื้นที่การเกษตรทั้งหมดของประเทศ และมีครัวเรือนที่ปลูกข้าวถึง 4.9 ล้านครัวเรือน ซึ่งคิดเป็น 60.5% ของจำนวนครัวเรือนภาคเกษตรทั้งหมดของประเทศ
ในปีเพาะปลูก 2564/65 ประเทศไทยปลูกข้าวทั้งหมด 63 ล้านไร่ เป็นข้าวเจ้า 46 ล้านไร่ และเป็นข้าวเหนียว 17 ล้านไร่ ผลผลิตรวมทั้งประเทศ 26 ล้านตัน ข้าวเจ้า 20 ล้านตัน ข้าวเหนียว 6 ล้านตัน

– ผลผลิตต่อไร่เฉลี่ยของทั้งประเทศ 425 กิโลกรัมต่อไร่ : ข้าวเจ้า 443 กิโลกรัมต่อไร่ และข้าวเหนียว 377 กิโลกรัมต่อไร่
– ผลผลิตต่อไร่เฉลี่ยของผลผลิตต่อไร่ของคู่แข่ง : เวียดนาม อยู่ที่ 930 กิโลกรัมต่อไร่ และอินเดีย 800 กิโลกรัมต่อไร่

เนื่องจากความสำคัญของข้าวที่มีต่อคนไทยซึ่งเป็นทั้งอาหารหลัก และสินค้าการเกษตรที่ส่งออกที่สำคัญ ดังนั้นมหาวิทยาลัยแม่โจ้ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาที่เก่าแก่ทางด้านการเกษตรจึงให้ความสำคัญในการปรับปรุงพันธุ์ข้าวโดยใช้เครื่องหมายโมเลกุลมาช่วยในการคัดเลือก โดยหน่วยความเป็นเลิศด้านการวิจัยและพัฒนาการปรับปรุงพันธุ์ข้าว คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เริ่มงานปรับปรุงพันธ์ข้าว ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547-ปัจจุบัน เป็นระยะเวลายาวนานถึง 20 ปีอย่างต่อเนื่อง

– ในปี พ.ศ. 2558 ได้รับรองพันธุ์ข้าว “กข-แม่โจ้ 2” ร่วมกับกรมการข้าว ข้าวพันธุ์นี้เป็นข้าวเหนียว หอม ต้นเตี้ย ไม่ไวต่อช่วงแสง
– ในปี พ.ศ. 2562 ได้จดทะเบียนพันธุ์พืชใหม่ คือ พันธุ์ข้าว “เจ้าก่ำหอมแม่โจ้ 1เอ” ซึ่งเป็นข้าวเจ้า หอม สีดำ ต้นเตี้ย ไม่ไวต่อช่วงแสง
– ในปี พ.ศ. 2564 ได้จดทะเบียนพันธุ์พืชใหม่ ซึ่งเป็นข้าวเหนียว หอม ต้นเตี้ย ไม่ไวต่อช่วงแสง จำนวน 3 พันธุ์ ได้แก่ หอมแม่โจ้ 6 หอมแม่โจ้ 8 และหอมแม่โจ้ 16
– ในปี พ.ศ. 2564 ได้ยื่นคำขอจดทะเบียนพันธุ์พืชใหม่ คือ พันธุ์ข้าว “หอมแม่โจ้ 17” เป็นข้าวเจ้า หอม ต้นเตี้ย ไม่ไวต่อช่วงแสง

ติดต่อได้ที่
หน่วยความเป็นเลิศด้านการปรับปรุงพันธุ์ข้าวมหาวิทยาลัยแม่โจ้
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
63 ม.4 ต.หนองหาร อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ 50290
โทร. 061-2681144
Facebook : https://www.facebook.com/MJURice
Line ID : mjurice

แหล่งที่มา : สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้

หน่วยความเป็นเลิศด้านการปรับปรุงพันธุ์ข้าวมหาวิทยาลัยแม่โจ้ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ 63 ม.4 ต.หนองหาร อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ 50290 โทร. 061-2681144 Facebook : https://www.facebook.com/MJURice Line ID : mjurice

หน่วยความเป็นเลิศด้านการปรับปรุงพันธุ์ข้าวมหาวิทยาลัยแม่โจ้

2566

ประเทศไทย