การผลิตข้าวอินทรีย์ เป็นระบบการผลิตข้าวที่ไม่ใช้ สารเคมีทางการเกษตรทุกชนิดในทุกขั้นตอนการผลิต เป็นการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและเป็นการ พัฒนาการเกษตรแบบยั่งยืนอีกด้วย

การผลิตข้าวอินทรีย์มีขั้นตอนการปฏิบัติ เช่นเดียวกับการผลิตข้าวโดยทั่วไปจะแตกต่างกันที่ต้อง หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีสังเคราะห์ในทุกขั้นตอนการ ผลิต จึงมีข้อควรปฏิบัติดังนี้

  1. การเลือกพื้นที่ปลูก

เลือกพื้นที่ที่มีขนาดใหญ่ติดต่อกัน และมีความอุดม สมบูรณ์ของดินโดยธรรมชาติค่อนข้างสูงประกอบด้วย ธาตุอาหารที่จําเป็นต่อการเจริญเติบโตของข้าวอย่าง เพียงพอ มีแหล่งน้ำสําหรับการเพาะปลูก ไม่ควรเป็น พื้นที่ที่มีการใช้สารเคมีในปริมาณมากติดต่อกันเป็น เวลานาน หรือมีการปนเปื้อนของสารเคมีสูง และห่าง จากพื้นที่ที่มีการใช้สารเคมีการเกษตร

  1. การเลือกใช้พันธุ์ข้าว

ใช้เมล็ดพันธุ์ที่สมบูรณ์ มีความบริสุทธิ์ ตรงตาม พันธุ์ ไม่มีสิ่งเจือปน มีคุณภาพตามมาตรฐานความ บริสุทธิ์ไม่น้อยกว่า 98% ความงอกไม่น้อยกว่า 80% พันธุ์อื่นปนไม่เกิน 0.2%

  1. การเตรียมเมล็ดพันธุ์ข้าว

การเลือกใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวที่ได้มาตรฐาน ผลิตจาก แปลงผลิตเมล็ดพันธุ์ที่ได้รับการดูแลอย่างดี มีความงอก ดี ผ่านการเก็บรักษาโดยไม่ใช้สารเคมีสังเคราะห์ ปราศจากโรค แมลงและเมล็ดวัชพืช

  1. การเตรียมดิน

การเตรียมดินมีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างสภาพที่ เหมาะสมต่อการปลูกและการเจริญเติบโตของข้าว ช่วยควบคุมวัชพืช โรค แมลงและสัตว์ศัตรูข้าวบาง ชนิด การเตรียมดินมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับคุณสมบัติ ดิน สภาพแวดล้อมในแปลงนาก่อนปลูกและวิธีการ ปลูก โดยไถดะ ไถแปร คราด และทําเทือก

  1. วิธีปลูก

การปลูกข้าวแบบปักดําจะเหมาะสมที่สุดกับการ ผลิตข้าว เพราะการเตรียมดิน ทําเทือก การควบคุม ระดับน้ำในนาจะช่วยลดปริมาณวัชพืชได้และการปลูก กล้าข้าวลงดินจะช่วยให้ข้าวสามารถแข่งขันกับวัชพืช ได้ ต้นกล้าที่ใช้ปักดําควรมีอายุประมาณ 30 วัน เลือก ต้นกล้าที่เจริญเติบโตแข็งแรงดี ปราศจากโรคและ แมลงทําลาย

  1. การจัดการความอุดมสมบูรณ์ของดิน

เนื่องจากการปลูกข้าวอินทรีย์ต้องหลีกเลี่ยงการใช้ ปุ๋ยเคมี โดยใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักแทน ในช่วงการ เตรียมดินอัตรา 500 กิโลกรัมต่อไร่ และช่วงระยะแตกกอ อัตรา 500 กิโลกรัมต่อไร่ ซึ่งเหมาะสมกับการ ปลูกข้าวอินทรีย์

     7.ระบบการปลูกพืช

ใช้ระบบการปลูกพืชหมุนเวียนโดยการปลูกข้าว สลับกับพืชตระกูลถั่ว หรือปอเทือง เพื่อลดการเกิด โรคและแมลงศัตรูพืช อีกทั้งยังลดการเกิดวัชพืชในนา ข้าวได้อีกด้วย

     8.การควบคุมวัชพืช

ให้ควบคุมวัชพืชโดยวิธีกล เช่น การเตรียมดินที่ เหมาะสม วิธีการทํานาที่ลดปัญหาวัชพืช การใช้ระดับ น้ำควบคุมวัชพืช การใช้วัสดุคลุมดิน การถอนด้วยมือ วิธีเขตกรรมต่าง ๆ การใช้เครื่องมือ รวมทั้งการปลูกพืช หมุนเวียน เป็นต้น

     9.การป้องกันกําจัดโรค แมลง และสัตว์ศัตรูพืช

– ใช้สารป้องกันแมลงศัตรูพืชที่ผลิตจาก สารเร่ง พด.7 ที่เจือจางแล้วอัตรา 50 ลิตรต่อไร่ สําหรับใช้ใน พืชไร่ พืชผัก และไม้ดอก เพื่อป้องกันแมลงศัตรูพืช เช่น เพลี้ยต่างๆ หนอนเจาะผลและลําต้น หนอนใยผัก หนอนชอนใบ หนอนคืบ หนอนกระทู้ หนอนกอ ไรแดง และแมลงหวี่ เป็นต้น

-ใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาชนิดสดในรูปน้ำสามารถ ใช้เชื้อสดผสมน้ำในอัตรา 100 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร กรอง น้ำเชื้อด้วยผ้าหรือกระชอนตาถี่ จะได้เชื้อชนิดน้ำสําหรับ ใช้พ่น ราด รดลงดิน หรือพ่นส่วนบนของต้นพืช

     10.การจัดการน้ำ

การจัดการน้ำ ระดับน้ำมีความสัมพันธ์กับการ เจริญเติบโตทางลําต้นและการให้ผลผลิตของข้าว โดยตรง ในระยะปักดําจนถึงแตกกอ ควรรักษาระดับน้ำ ให้อยู่ที่ประมาณ 5 เซนติเมตร จนถึงระยะก่อนเก็บเกี่ยว ประมาณ 7-10 วัน จึงระบายน้ำออกเพื่อให้ข้าวสุกแก่ พร้อมกัน

     11.การเก็บเกี่ยวการนวดและการลดความชื้น

เก็บเกี่ยวข้าวหลังจากออกดอก ประมาณ 28-30 วัน สังเกตจากเมล็ดในรวงข้าวสุกแก่เมล็ดเปลี่ยนเป็นสี ฟาง เรียกว่า ระยะพลับพลึง

     12.การเก็บรักษาข้าวเปลือก

ควรมีการลดความชื้นให้ต่ํากว่า 14 เปอร์เซ็นต์ แล้ว จึงนําเมล็ดข้าวไปเก็บรักษาในยุ้งฉางหรือใส่ในภาชนะที่ มิดชิด

     13.การสี

ควรแยกเครื่องสี ไม่ใช้เครื่องสีร่วมกับเครื่องสีข้าว ปกติที่ไม่ใช่ข้าวอินทรีย์

     14.การบรรจุหีบห่อเพื่อการค้า

ควรบรรจุข้าวกล้องหรือข้าวสารในถุงขนาดเล็ก ตั้งแต่ 1 กิโลกรัม ถึง 5 กิโลกรัม โดยบรรจุในสภาพ สูญญากาศ

Author : อาจารย์ ดร.ธิดารัตน์ ศิริบูรณ์ คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
แหล่งที่มา : http://www.organic.mju.ac.th  และ http://researchex.rae.mju.ac.th/agikl/
Picture : https://unsplash.com