18, 63

ฐานเรียนรู้การผลิตเห็ดเศรษฐกิจ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
Mushroom Maejo University : SM

ประวัติความเป็นมา

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์) สาขาพืชสวน คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นสาขาวิชาที่จัดการเรียนการสอนด้านการผลิตพืชผักและการผลิตเห็ดในระดับปริญญาตรี แต่ละปีการศึกษามีนักศึกษาที่จบปริญญาตรีด้านพืชผักประมาณ 60 คน การเรียนการสอนเน้นหนักด้านการปฏิบัติได้จริง โดยมีการเรียนการสอนเรื่องระบบการผลิตพืชผักและการผลิตเห็ดที่ปลอดภัยจากสารพิษ โดยเฉพาะระบบการผลิตเห็ดในถุงทั้งเห็ดเมืองร้อนและเห็ดเมืองหนาวที่คำนึงถึงระบบการปฏิบัติที่ถูกต้องและเหมาะสมในการผลิต

การประยุกต์ใช้วัตถุดิบที่เหลือใช้ทางการเกษตรมาทำการเพาะเห็ดเพื่อเพิ่มมูลค่าและลดมลภาวะการเกิดหมอกควันที่เกิดจาการเผา นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยต่าง ๆ อาทิเช่น โครงการวิจัยและพัฒนาเห็ดในโรงเรือน การวิจัยเห็ดสำหรับเมืองร้อนและเมืองหนาว การวิจัยคุณภาพเห็ดพื้นเมือง เป็นต้น ประกอบกับในแต่ละภาคการศึกษา หลักสูตรฯได้เปิดสอนวิชา พส 413 การผลิตเห็ด ให้แก่นักศึกษาที่สนใจลงทะเบียนเรียนเป็นวิชาเลือก ภาคเรียนละ 50 คน

จากกิจกรรมต่างๆ ดังกล่าวนอกจากจะเป็นประโยชน์ต่อการเรียนการสอนและการวิจัยแล้ว ยังเป็นประโยชน์แก่เกษตรกร ประชาชนทั่วไป รวมทั้งนักเรียนและนักศึกษาที่เข้ามาฝึกอบรม ศึกษาและดูงานเป็นประจำ ปี 2558 มีผู้เข้าฝึกอบรมระยะสั้นในฐานเรียนรู้เห็ดเศรษฐกิจ จำนวน 87 คน ศึกษาดูงาน จำนวน 5,839 คน และเป็นวิทยากรอบรมภายนอก จำนวน 245 คน รวมทั้งสิ้น 6,171 คน การจัดทำโครงการนี้ขึ้นจะทำให้หลักสูตรฯสามารถใช้ศักยภาพที่มีอยู่สนับสนุนวิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยในหัวข้อการเป็นเลิศด้านวิชาการการเกษตร (ด้านการผลิตเห็ด)

เกี่ยวกับโครงการ

วิสัยทัศน์
มุ่งสู่ความเป็นเลิศในศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร

นโยบายผู้บริหาร

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์) สาขาพืชสวน คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นสาขาวิชาที่จัดการเรียนการสอนด้านการผลิตพืชผักและการผลิตเห็ดในระดับปริญญาตรี แต่ละปีการศึกษามีนักศึกษาที่จบปริญญาตรีด้านพืชผักประมาณ 60 คน การเรียนการสอนเน้นหนักด้านการปฏิบัติได้จริง โดยมีการเรียนการสอนเรื่องระบบการผลิตพืชผักและการผลิตเห็ดที่ปลอดภัยจากสารพิษ โดยเฉพาะระบบการผลิตเห็ดในถุงทั้งเห็ดเมืองร้อนและเห็ดเมืองหนาวที่คำนึงถึงระบบการปฏิบัติที่ถูกต้องและเหมาะสมในการผลิต

พันธกิจ
1.จัดการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพ
2.วิจัยที่มุ่งสู่ความเป็นเลิศด้านการเกษตร
3.บริการวิชาการอย่างทั่วถึง ประชาชนนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้
4.ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมการเกษตรไทย ธำรงไว้ซึ่งศาสนาและประเพณีที่ดีงาม
5.สนับสนุนกิจกรรมนักศึกษาที่สร้างประโยชน์แก่สังคมและสร้างความเข้มแข็งให้นักศึกษา
6.ปลุกจิตสำนึกแก่สังคมในการอนุรักษ์และหวงแหนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ปรัชญา
คุณธรรม ปัญญา ใฝ่รู้ สู้งาน เลิศวิชาการเกษตร

วัตถุประสงค์
1.สนับสนุนงานด้านการเรียนการสอนภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติแก่นักศึกษาทุกสาขาวิชาที่ลงทะเบียนเรียนวิชา พส ๔๑๓ การผลิตเห็ดตลอดปีการศึกษา
2.พัฒนาให้สาขาพืชผักเป็นฐานเรียนรู้ถ่ายทอดเทคโนโลยีและสาธิตด้านการผลิตเห็ดเศรษฐกิจ ให้แก่เกษตรกรและประชาชนทั่วไปที่สนใจจะนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ในการประกอบอาชีพทั้งอาชีพหลักและอาชีพเสริม
3.เป็นฐานเรียนรู้ด้านการผลิตเห็ด ของนักเรียน นักศึกษา รวมทั้งนักวิชาการและเจ้าหน้าที่ส่งเสริม ตลอดจนชุมชนโดยรอบมหาวิทยาลัยฯ

เป้าหมายการดำเนินโครงการ
1.ทำให้หลักสูตรฯสามารถใช้ศักยภาพที่มีอยู่สนับสนุนวิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยในหัวข้อการเป็นเลิศด้านวิชาการการเกษตร (ด้านการผลิตเห็ด)
2.เป็นแหล่งหรือศูนย์กลางแห่งการเรียนรู้ด้านการเกษตร (เห็ด)
3.ยุทธศาสตร์เรื่องการขยายโอกาสการศึกษาของประชาชนและเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการเกษตรของชุมชน

สถานที่ดำเนินโครงการ
1. สาขาพืชผัก คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
2. ในบริเวณสำนักฟาร์มมหาวิทยาลัยแม่โจ้ บนพื้นที่ 907 ไร่

หน่วยงานที่รับผิดชอบ
สาขาพืชผัก คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้

เข้าสู่ฐานข้อมูล

Leave a Reply