การผลิตเมล็ดพันธุ์ถั่วแขก
และผักกาดหอมในระบบเกษตรอินทรีย์

การผลิตเมล็ดพันธุ์ถั่วแขก ในระบบเกษตรอินทรีย์

  1. การเตรียมดิน ใส่ปุ๋ยหมักอัตราส่วน 3 ตัน/ไร่
  2. การคลุมพลาสติก เพื่อป้องกันวัชพืชและรักษาความชื้น
  3. การเพาะกล้า เมื่อกล้าอายุ 15-20 วันมีใบจริง 2-3 ใบจึงย้ายปลูก
  4. การดูแลรักษา
    – ใส่ปุ๋ย ช่วงอายุ 7 วัน หลังย้ายปลูกใส่ปุ๋ยปลาผสมหอย อัตราส่วน 1:1 ผสมน้ำ 200 ลิตร อัตรา 250 ml/ต้น
    – เมื่ออายุ 15 วันหลังย้ายปลูก ใส่ปุ๋ยปลาผสมหอย อัตราส่วน 2:2 ผสมน้ำ 200 ลิตร อัตรา 250 m/ต้น
    – เมื่ออายุ 20 วันหลังย้ายปลูก ใส่ปุ๋ยมูลค้างคาวตราซากุระ หรือปุ๋ยหมักโบกาฉิ อัตราส่วน 2/ไร่
    – พ่นสารชีวภาพ สารชีวภาพทุกๆ 7 วัน
    – การให้น้ำ ให้น้ำอย่างสม่ําเสมอทุกวัน
  1. การถอนพันธุ์ปน
    – ระยะผลผลิตสด ทําการตรวจสอบพันธุ์ปนเมื่อทานผลผลิตสุดหากพบเจอให้ถอนทิ้ง
    – ระยะออกดอก เมื่อพบสีดอกที่ไม่ตรงตามสายพันธุ์ให้ถอนทิ้ง
    – ระยะเมล็ด ถ้าสีเมล็ดไม่ตรงตามสายพันธุ์ให้ถอนทิ้ง
  1. การเก็บเกี่ยว เมื่อถั่วแขกมีลักษณะแก่ซึ่งมีสีฝึกเป็นสีเหลือง ประมาณ 70-80% ของต้น เริ่มทําการ เก็บเกี่ยว
  2. การลดความชื้น เมื่อเก็บเกี่ยวเรียบร้อยแล้วนําเมล็ดมาลดความชื้นด้วยการตากให้แห้งประมาณ 3-4 แดด ความชื้นเมล็ดอยู่ที่ 10-12%
  3. การทําความสะอาด
    – นําเมล็ดมาตีเอาเปลือกออกพร้อมทั้งร่อนเอากากออก จากนั้นนําไปเป่าโดยใช้
    – เครื่องเป่าแรงลมให้สะอาดและคัดด้วยมือคนอีกครั้ง
  4. การบรรจง นําเมล็ดบรรจุในซองพลาสติก ปิดผนึกให้แน่น เก็บเข้าห้องควบคุมอุณหภูมิประมาณ 15 องศา

การผลิตเมล็ดพันธุ์ผักกาดหอมในระบบเกษตรอินทรีย์

  1. การเตรียมดิน ใส่ปุ๋ยหมักอัตราส่วน 3 ตัน/ไร่
  2. การคลุมพลาสติก เพื่อป้องการวัชพืชและรักษาความชื้น
  3. การเพาะกล้า เมื่อกล้าอายุ 15-20 วัน มีใบจริง 2-3ใบจึงย้ายปลูก
  4. การดูแลรักษา
    – ใส่ปุ๋ย ช่วงอายุ 7 วัน หลังย้ายปลูกใส่ปุ๋ยปลาผสมหอย อัตราส่วน 1:1 ผสมน้ำ 200 ลิตร อัตรา 250 ml/ต้น
    – เมื่ออายุ 15 วันหลังย้ายปลูก ใส่ปุ๋ยปลาผสมหอย อัตราส่วน 2.2 ผสมน้ำ 200 ลิตร อัตรา 250 ml/ต้น
    – เมื่ออายุ 20 วันหลังย้ายปลูก ใส่ปุ๋ยมูลค้างคาวตราซากุระหรือปุ๋ยหมักโบกาฉิ อัตราส่วน /ไร่
    – พ่นสารชีวภาพ สารชีวภาพทุกๆ 7 วัน
    – การให้น้ำ ให้น้ำอย่างสม่ําเสมอทุกวัน
  1. การถอนพันธุ์ปน
    – ระยะผลผลิตสด ทําการตรวจสอบพันธุ์ปนเมื่อทานผลผลิตสุดหากพบเจอให้ถอนทิ้ง
    – ระยะออกดอก เมื่อพบสีดอกที่ไม่ตรงตามสายพันธุ์ให้ถอนทิ้ง
    – ระยะเมล็ด ถ้าสีเมล็ดไม่ตรงตามสายพันธุ์ให้ถอนทิ้ง
  2.  การเก็บเกี่ยว เมื่อสลัดบานโดยมีปุยนุ่นสีขาว ประมาณ 70-80% ของต้น ทําการเขย่าเอาเมล็ดออกหรือตัดทั้งต้นจากนั้นเขย่า ลงในถังพลาสติก
  3. การลดความชื้นเมื่อเก็บเกี่ยวเมล็ดแล้วนํามาลดความชื้นด้วยการตากให้แห้งประมาณ 3-4 แดด ความชื้นเมล็ดอยู่ที่ 10-12%
  4. การทําความสะอาด นําเมล็ดมาร่อนเอาปุยนุ่นออก จากนั้นนําไปเป่าโดยใช้เครื่องเป่าแรงลมให้สะอาดและคัดด้วยมือคนอีกครั้ง
  5. การบรรจุ นําเมล็ดบรรจุในซองพลาสติก ปิดผนึกให้แน่น เก็บเข้าห้องควบคุมอุณหภูมิประมาณ 15 องศา

Author : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ฉันทนา วิชรัตน์ คณะผลิตกรรมการเกษตร
แหล่งที่มา : http://www.organic.mju.ac.th  และ http://researchex.rae.mju.ac.th/agikl/
VDO : https://youtu.be/zU4dyM5Hj98
Illustration : https://unsplash.com