เชื้อรา

  • การทําเกษตรแบบธรรมชาติ (ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง)

    การทําเกษตรแบบธรรมชาติ (ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง)

    การทําเกษตรแบบธรรมชาติ(ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง) โดยใช้สัตว์เป็นยุทธศาสตร์ในการพัฒนาการเกษตร เน้น 1) ลดต้นทุนการผลิต 2) ใช้ปัจจัยการผลิตในท้องถิ่น 3) ปลอดภัยจากสารพิษ (ไม่ใช้สารเคมี) 4) การส่งเสริมสภาพแวดล้อม 5) นําแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มาปรับใช้ในการผลิตทางการเกษตร หมายถึง การนําเอาเชื้อจุลินทรีย์ มาใช้ในการผลิตทางการเกษตรได้แก่ การปลูกพืช เลี้ยงสัตว์และการประมง บนฐานความคิดที่ว่า อยู่ที่ไหนใช้จุลินทรีย์ ที่นั้น จุลินทรีย์นี้ คือ เชื้อราขาว เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีขนาดเล็กมองไม่เห็นด้วย ตาเปล่า, มีประโยชน์ต่อธรรมชาติ ไม่ชอบแสงแดด ชอบกินของหวานจาก น้ำตาลทรายแดง และน้ำหมักจุลินทรีย์ 7 ชนิด โดยสรุป เป็นการผลิตอาหารสัตว์ใช้เองราคาถูกนําไปเลี้ยงสัตว์และประมง ผลิตปุ๋ยราคาถูกใช้เอง (จากวัสดุรองพื้นคอกสัตว์ หรือ สัตว์ทําสัตว์หมักและคน ทําคนหมัก) นําไปใช้กับการปลูกพืช โดยใช้จุลินทรีย์ แล้ววางแผนการปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ประมง ให้เกิดรายได้ประจําวัน ประจําเดือนและประจําปี หัวใจสําคัญของการทําการเกษตรแบบธรรมชาติ คือ การผลิต 1) การผลิตเชื้อราขาว 2) น้ำหมักจุลินทรีย์…

  • การใช้ด้วงเต่าตัวห้ำและเชื้อราควบคุมศัตรูพืชโดยชีววิธี

    การใช้ด้วงเต่าตัวห้ำและเชื้อราควบคุมศัตรูพืชโดยชีววิธี

    การใช้ด้วงเต่าตัวควบคุมแมลงศัตรูพืช ด้วงเต่าตัวห้ำ (predatory beetle) ด้วงเต่าตัวห้ำ เป็นแมลงในอันดับ Coleoptera อยู่ในวงศ์ Coccinelidae มีเชื่อสามัญเรียกว่า Ladybug Ladybird และ Lady beetle เป็นต้น และทั่วโลกมีด้วงเต่า จํานวน 490 สกุล และมี 4,200 ชนิด ส่วนในประเทศไทย มีรายงานพบ 36 สกุล และ 75 ชนิด และมีจํานวน 62 ชนิดเป็นด้วงเต่าตัวห้ำ ส่วนอีก 13 ชนิดเป็นแมลงศัตรูพืช เช่นด้วงเต่าแตงลายจุด Henosepilachna vigintioctopunctata และหาก สังเกตในธรรมชาติแล้ว ทั้งนี้ด้วงเต่าที่เป็นแมลงศัตรูพืชมักมีจํานวนจุดบนหลังมากกว่าด้วงเต่าตัว ส่วนด้วงเต่าตัวห้ำนั้นมีหลากหลายชนิด หลายขนาด ตั้งแต่เล็กมาก ประมาณ 0.1 เซนติเมตร เช่นด้วงเต่าตัวห้ำที่กินไร เช่น Stethorus spp. ไปจนถึง 1 เซนติเมตร…