Sittichai Wimala

  • ศึกษาระบบ Ica Atom และมาตรฐาน ISAD (G) ณ หอจดหมายเหตุ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)

    ศึกษาระบบ Ica Atom และมาตรฐาน ISAD (G) ณ หอจดหมายเหตุ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)

    by

    |

    in

    นางสาวเบญจรัตน์ ศุภอุดมฤกษ์ หัวหน้ากลุ่มภารกิจจดหมายเหตุ พร้อมด้วยนายสิทธิชัย วิมาลา และนายณัฐชาพงษ์ รักสกุลกานต์ เข้าศึกษาดูงานระบบจัดการข้อมูลจดหมายเหตุ ica Atom และมาตรฐานการจัดการข้อมูลจดหมายเหตุ ISAD(G) ณ หอจดหมายเหตุ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เมื่อวันที่ 25 – 26 กรกฎาคม 2559

  • แสดงความยินดีกับบุคลากรหอจดหมายเหตุ มหาวิทยาลัยพายัพ ในโอกาสเกษียณอายุราชการ

    แสดงความยินดีกับบุคลากรหอจดหมายเหตุ มหาวิทยาลัยพายัพ ในโอกาสเกษียณอายุราชการ

    by

    |

    in

    นางสาวเบญจรัตน์ ศุภอุดมฤกษ์ หัวหน้ากลุ่มภารกิจจดหมายเหตุและสารนิเทศท้องถิ่น พร้อมบุคลากรกลุ่มภารกิจฯเข้าพบเพื่อแสดงความยินดีกับนายถาวร รัตนา หัวหน้าฝ่ายอนุรักษ์  หอจดหมายเหตุ มหาวิทยาลัยพายัพ ในโอกาสเกษียณอายุราชการ ในปี 2559 ณ หอจดหมายเหตุ มหาวิทยาลัยพายัพ เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2559 ถ่ายภาพรวม

  • โรงเรียนมัธยมวิสามัญเกษตรกรรม

    โรงเรียนมัธยมวิสามัญเกษตรกรรม

    by

    |

    in

    ในปี พ.ศ. 2477 สมัยพระสาสน์ ประพันธ์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงธรรมการ ในระยะนี้เนื่องจากนโยบายในการศึกษาการเกษตรเปลี่ยนแปลงไป กวี จุติกุล (2527) ได้ระบุว่า กระทรวงธรรมการเห็นว่า  โรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรมที่มีอยู่ 3 แห่งนั้น  ผลิตครูเกษตรมากเกินความต้องการ เกรงว่าจะไม่มีงานทำ  พระช่วงเกษตรศิลปาการ หลวงอิงคศรีกสิการ และหลวงสุวรรณวาจกกสิกิจ อาจารย์ใหญ่ทั้งสามท่านจึงได้เสนอโครงการเพื่อขอให้คงการฝึกหัดครูกสิกรรมไว้ 1 แห่งที่แม่โจ้ เทพประสงค์ วรยศ (2524) ได้อธิบายเรื่องนี้ไว้ว่า ปี พ.ศ. 2478  […]

  • ศาสตราจารย์ ดร.วิภาต บุญศรี วังซ้าย

    ศาสตราจารย์ ดร.วิภาต บุญศรี วังซ้าย

    by

    |

    in

    ศาสตราจารย์ ดร.วิภาต บุญศรี วังซ้าย เป็นปูชนียบุคคล ที่ชาวแม่โจ้ให้ความรักเคารพนับถือและอยู่ในดวงใจของพวกเราตลอดมา โดยท่านได้สร้างคุณูปการแก่แม่โจ้มากมาย ท่านถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2527 จึงถือเอาวันที่ 30 ตุลาคม ของทุกปี เป็นวันวิภาต บุญศรี วังซ้าย รำลึกถึงคุณงามความดีของ ศ.ดร.วิภาต บุญศรี วังซ้าย ที่ได้มอบให้กับแม่โจ้ วันที่ 30 ตุลาคมของทุกปี ชาวแม่โจ้ ทั้งศิษย์เก่า ศิษย์ปัจจุบัน พร้อมใจกันมาวางพวงมาลา […]

  • กำเนิดสถานีทดลองกสิกรรมภาคพายัพ

    by

    |

    in

    เทพประสงค์ วรยศ, ๒๕๒๔. ได้พรรณนาว่า พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเห็นว่า ม.จ.สิทธิพร กฤดากร แม้ว่าจะทรงเล่าเรียนด้านวิศวกรรมและไม่เคยปรากฏว่าได้ทรงเล่าเรียนวิชาการเกษตรจากสถาบันการศึกษาใด แต่ก็เป็นผู้ที่มีประสบการณ์ด้านพืชตอน (พืชไร่) และไร่นาผสมมาก โดยได้ทรงทำการปฏิบัติและทดลองที่ฟาร์มบางเบิดมากว่า 10 ปี พระองค์จึงได้ทรงเชิญ ม.จ.สิทธิพรฯ มาวางโครงการปรับปรุงงานเกษตร เมื่อปลายปี พ.ศ. 2474 และโปรดเกล้าฯให้ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมตรวจกสิกรรม (กรมเพาะปลูกเดิม) กระทรวงพาณิชย์ ในต้นปี พ.ศ. 2475 จากประสบการณ์และความเชี่ยวชาญที่ประกอบกิจการฟาร์มบางเบิดด้วยหัตถ์ของพระองค์มาอย่างได้ผลเป็นที่ประจักแก่ชาวไทยและแม้ชาวต่างประเทศโดยทั่วไปมาแล้วนี้ พระองค์ท่านได้ตระหนักอย่างแน่ชัดว่าวิธีจะแก้ไขสภาวะเศรษฐกิจของประเทศให้กระเตื้องฟื้นคืนดีขึ้นต้องแก้ที่ชาวนา โดยหาทางปรับปรุงส่งเสริมให้ชาวนารู้จักและนิยมปลูกพืชไร่หมุนเวียนไปกับการทำนา […]

  • การสร้างศาลเจ้าแม่โจ้

    การสร้างศาลเจ้าแม่โจ้

    by

    |

    in

    ปี พ.ศ. 2499 มีการสร้างศาลเจ้าแม่โจ้ เนื่องมาจากในช่วงนั้นนักเรียนแม่โจ้มีเรื่องราวที่ไม่ดีเกิดขึ้นมากมาย โดยต้นคิดและหัวเรี่ยวหัวแรงสำคัญในการก่อสร้างคือคุณปรีชา ถาวร ศิษย์เก่าแม่โจ้ รุ่น 19 โดยศาลครั้งแรกที่มีการสร้างนั้นเป็นเพียงการนำไม้มาตีต่อเป็นศาลมีหลังคาปิดไว้ มีขนาดเล็กๆ ไม่คงทนถาวร และไม่มีการถ่ายภาพไว้เป็นหลักฐานแต่อย่างใด สาเหตุที่มีการเรียกชื่อศาลนี้ว่า “ศาลเจ้าแม่โจ้” เนื่องมาจากคนที่ทำพิธีกรรมในครั้งแรกนั้นได้เรียกว่า “ศาลเจ้า แม่โจ้” หรือ “ศาล เจ้าแม่โจ้” คนจึงเรียกต่อๆ กันมาว่าเป็น “ศาลเจ้าแม่โจ้” แต่ศาลเจ้าแม่โจ้ ศาลแรกสร้างได้ไม่นานก็ผุพังลงไป และได้มีการสร้างขึ้นมาใหม่เป็นครั้งที่สอง ในบริเวณเดียวกันกับศาลแรก ดังปรากฎในภาพนี้ หมายเหตุ:ภาพต้นฉบับเป็นขาวดำ […]

  • ครั้งหนึ่งแม่โจ้เคยจัดงานประชุมกล้วยไม้เอเชียแปซิฟิก ครั้งที่ 4 The Fourth Asia Pacific Orchid Conference (APOC 4)

    ครั้งหนึ่งแม่โจ้เคยจัดงานประชุมกล้วยไม้เอเชียแปซิฟิก ครั้งที่ 4 The Fourth Asia Pacific Orchid Conference (APOC 4)

    by

    |

    in

    งานประชุมกล้วยไม้เอเชียแปซิฟิก ครั้งที่ 4 The Fourth Asia Pacific Orchid Conference (APOC 4) นับเป็นครั้งแรกที่ประเทศไทยได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพจัดงานประชุมกล้วยไม้ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกขึ้นที่จังหวัดเชียงใหม่และในการจัดงานครั้งนี้สถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้ได้รับเลือกเป็นสถานที่การประชุมกล้วยไม้เอเชียแปซิฟิก ครั้งที่ 4 ในระหว่างวันที่ 20-26 มกราคม พ.ศ.2535โดยถือเป็นการเฉลิมพระเกียรติในวโรกาสที่สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ ทรงเจริญพระชนมายุครบ60 พรรษาสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดงาน ณสถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้เมื่อวันที่ 22 มกราคม 2535 การจัดงานประกอบด้วย การประชุมทางวิชาการกล้วยไม้การจัดแสดงและประกวดกล้วยไม้ทุกชนิดทั้งในประเทศและต่างประเทศ การประกวดจัดสวนกล้วยไม้การประกวดศิลปะการจัดดอกกล้วยไม้ การประกวดภาพสีและสไลด์สีเกี่ยวกับกล้วยไม้การประกวดศิลปกรรมงานกล้วยไม้ ตลอดจนการจัดรายการท่องเที่ยวและทัศนศึกษาการจัดงานครั้งนี้ใช้พื้นที่ไม่น้อยกว่า 30,000 […]

  • วิทยาลัยเกษตรกรรมเชียงใหม่

    วิทยาลัยเกษตรกรรมเชียงใหม่

    by

    |

    in

    วิทยาลัยเกษตรกรรมเชียงใหม่ เป็นโรงเรียนอาชีวศึกษาชั้นสูง แผนกเกษตรกรรมสังกัดกองโรงเรียนเกษตรกรรม กรมอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ โรงเรียนนี้ตั้งอยู่ในท้องที่ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ ห่างจากตัวเมืองเชียงใหม่ประมาณ 18 กิโลเมตร บริเวณของโรงเรียนทั้งหมดมีเนื้อที่ประมาณ 800 ไร่ เป็นโรงเรียนที่รับนักเรียนประจำ (กินนอน) โรงเรียนนี้ได้เริ่มตั้งขึ้นมาเป็นปีที่ 23 มีประวัติสังเขปดังนี้ เนื้องจากกรมเกษตร (กรมกสิกรรม) กระทรวงเกษตราธิการ ได้จัดตั้งสถานีทดลองกสิกรรมภาคพายัพขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2476 (ปัจจุบันเรียกสถานีกสิกรรมแม่โจ้ ตั้งอยู่ติดกับโรงเรียนทางด้านเหนือ) ซึ่งขณะนั้นพระช่วงเกษตรศิลปการ ได้ดำรงตำแหน่งเป็นหัวหน้าสถานีฯ ในปี […]

  • ชีวประวัติของ ศาสตราจารย์ ดร.วิภาต บุญศรี วังซ้าย

    ชีวประวัติของ ศาสตราจารย์ ดร.วิภาต บุญศรี วังซ้าย

    by

    |

    in

    ศาสตราจารย์ ดร.วิภาต บุญศรี วังซ้าย เป็นปูชนียบุคคล ที่ชาวแม่โจ้ให้ความรักเคารพนับถือและอยู่ในดวงใจของพวกเราตลอดมา โดยท่านได้สร้างคุณูปการแก่แม่โจ้มากมาย สิ่งที่ควรยกย่องในการทำงานของท่าน ศาสตราจารย์ ดร. วิภาต บุญศรี วังซ้าย ทั้งชีวิต การเรียน และการทำงานที่ควรนำมาเป็นแบบอย่างให้แก่ลูกแม่โจ้ อาทิ ท่านเป็นนักประชาธิปไตยตัวอย่าง ,เป็นผู้มีเมตตาธรรม,เป็นผู้มีความคิดและพัฒนางานใหม่ ,เป็นนักพัฒนาชนบท,เป็นผู้ส่งเสริมทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมไทย ,เป็นนักปกครองที่ดีเยี่ยม , เป็นครูที่ประเสริฐ และ เป็นผู้มีความสมถะ ศาสตราจารย์ ดร.วิภาต บุญศรี วังซ้าย คือปูชนียบุคคล ของชาวแม่โจ้ […]

  • ศาสตราจารย์ ดร.ระพี สาคริก เยี่ยมชมกลุ่มภารกิจจดหมายเหตุฯ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยแม่โจ้

    ศาสตราจารย์ ดร.ระพี สาคริก เยี่ยมชมกลุ่มภารกิจจดหมายเหตุฯ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยแม่โจ้

    by

    |

    in

    นางสาวเบญจรัตน์ ศุภอุดมฤกษ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สำนักหอสมุด และหัวหน้ากลุ่มภารกิจจดหมายเหตุและสารนิเทศท้องถิ่น พร้อมบุคลากรสำนักหอสมุด ให้การต้อนรับศาสตราจารย์ ดร.ระพี สาคริก เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2559 ณ ห้องจดหมายเหตุ ชั้น 3 สำนักหอสมุด ในการเยี่ยมชมงานจดหมายเหตุของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ และพูดคุยพร้อมให้โอวาทแก่บุคลากรสำนักหอสมุด

  • ประวัติโรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรมภาคเหนือ

    ประวัติโรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรมภาคเหนือ

    by

    |

    in

    ประวัติโรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรม: จากบันทึก พระช่วงเกษตรศิลปการ โรงเรียนนี้เป็นโรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรมที่สามที่รัฐบาลจัดตั้งขึ้น เพราะแต่เดิมนั้น มีโรงเรียนฝึกหัดครูอยู่แล้วที่โนนวัด โรงเรียนฝึกหัดครูที่สองจัดตั้งขึ้นที่คอหงษ์หาดใหญ่ ทั้งสองโรงเรียนนั้นได้ร่วมงานไปกับสถานีทดลองกสิกรรมของกรมเกษตร โรงเรียนนี้ได้จัดตั้งขึ้้นเมื่อต้น พ.ศ.2477 ข้าพเจ้าจำได้อย่างแม่นยำว่า เมื่อกลางเดือน เมษายน พ.ศ.2477 กระทรวงธรรมการได้ให้ข้าพเจ้ายืมเงิน 3000 บาท มาจัดการก่อสร้างโรงเรียนชั่วคราวขึ้น และเริ่มประกาศรับนักเรียน แต่เดือน พฤษภาคม มีนักเรียนเดินทางมาเล่าเรียนอยู่เรื่อยๆ เป็นนักเรียนในบำรุง 35 คน นอกบำรุง 11 คน อุปสรรคแรกที่ต้องวิตกมากก็คือน้ำใช้ แม้ว่าได้จัดตอกบ่อลึกถึง […]

  • โครงการพัฒนาความร่วมของเครือข่ายจดหมายเหตุมหาวิทยาลัยแม่โจ้

    โครงการพัฒนาความร่วมของเครือข่ายจดหมายเหตุมหาวิทยาลัยแม่โจ้

    by

    |

    in

    สำนักหอสมุด โดยกลุ่มภารกิจจดหมายเหตุและสารนิเทศท้องถิ่น จัดการบรรยาย เรื่อง “การทำลายเอกสารราชการ” ภายใต้โครงการพัฒนาความร่วมของเครือข่ายจดหมายเหตุมหาวิทยาลัยแม่โจ้ บรรยายโดย นางสาวศิริพร ภาณุรัตน์ นักจดหมายเหตุชำนาญการ หัวหน้าหอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ เชียงใหม่ เมื่อวันศุกร์ที่ 18 กันยายน 2558 ณ ห้องสายน้ำผึ้ง สำนักหอสมุด โดยมี นางอรณา พิทยากรศิลป์ ผู้อำนวยการสำนักหอสมุด เป็นประธานในพิธีเปิดการบรรยาย การทำลายเอกสารราชการ