Orawan Surak
-
“ผำ”พืชที่กำลังได้รับความนิยมในการนำมาปรุงเป็นอาหาร
ผำ หลายคนอาจเคยได้ยินชื่อ แต่อีกจำนวนไม่น้อยที่ไม่เคยรู้จัก บางคนอาจรู้จักแต่ไม่เคยได้ลิ้มลองรสชาติของผำส่วนใหญ่จะมีขายที่ตลาดใส่ถุงไว้เป็นสีเขียวสดๆ หรือหลายคนอาจรู้จักในชื่อ ไข่แหน, ไข่น้ำ, ไข่ขำ “ผำ” เป็นพืชที่มีดอกขนาดเล็กที่สุด อาศัยลอยอยู่บนผิวน้ำ อาจลอยอยู่เป็นกลุ่มล้วนๆหรือลอยปนกับพืชชนิดอื่นๆก่อได้ อยู่บนผิวหนองน้ำหรือบ่อน้ำ ในน้ำนิ่งๆที่ต้องสะอาด มองไกลๆ คล้ายๆกับจอกแหน แต่ถ้าเข้ามาดูใกล้ๆจะเห็นว่า หน้าตาของมันดูคล้ายสาหร่ายหรือไข่ปลาจิ๋วๆ มากว่า ผำอาศัยอยู่บนน้ำ มีรูปร่างรีๆ ค่อนข้างกลม มีขนาดยาวประมาณ 1 มิลลิเมตร ต้นจะมีสีเขียวสดเม็ดเล็กละเอียด ไม่มีรากไม่มีใบ เห็นเล็กๆแบบนี้ ผำ ยังเต็มไปด้วยสารอาหารโดยเฉพาะโปรตีนและกรดไขมันโอเมก้า […]
-
อำมาตย์โท พระช่วงเกษตรศิลปการ “บิดาเกษตรแม่โจ้”
อำมาตย์โท พระช่วงเกษตรศิลปะการ(ช่วง โลจายะ) ขอเทิคพระคุณและบูชาบูรพาจารย์ อำมาตย์โท พระช่วงเกษตรศิลปะการ(ช่วงโลจายะ) “บิดาเกษตรแม่โจ้” ผู้บุกเบิกงานหนักเพื่อสร้างแม่โจ้ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ทางการเกษตรของประเทศไทย เกิดเมื่อวันที่ ๒๐ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๔๔๒ ปีกุน รัตนโกสินทร์ศก ๑๑๘ ณ บ้านแข่ ตำบลพระประแดง อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ เป็นบุตรคนเล็กในจำนวนพี่น้องสองคนของร้อยเอก หลวงศรีแผ้ว ร.น. (ขาว โลจายะ)กับนางทองหยด โลจายะ การศึกษาขั้นต้นที่โรงเรียนวัดทรงธรรม อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการและระดับมัธยมศึกษาที่โรงเรียนมัธยมวัดสุทัศน์ […]
-
อนุสาวรีย์ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.วิภาต บุญศรี วังซ้าย คนต้นแบบลูกแม่โจ้ “งานหนักไม่เคยฆ่าคน”
อนุสาวรีย์ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.วิภาต บุญศรี วังซ้าย คนต้นแบบลูกแม่โจ้ “งานหนักไม่เคยฆ่าคน” แนวความคิดการจัดสร้างอนุสาวรีย์ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.วิภาต บุญศรี วังซ้าย ครั้งแรกเกิดขึ้นภายหลังจากเสร็จพิธีพระราชทานเพลิงศพท่าน เมื่อวันอาทิตย์ที่ 17 กุมภาพันธ์ 2528 โดยองค์การนักศึกษาแม่โจ้ ซึ่งมี นายจรูญ พุทธจรรยา (ดร.จรูญเกียรติ ภัทรมนตรสินพุทธจรรยา) นายกองค์การนักศึกษาแม่โจ้ (แม่โจ้ 48) และศิษย์เก่าแม่โจ้จำนวนหนึ่ง ได้หารือร่วมกันพิจารณา หาทุนการจัดสร้างอนุสาวรีย์รูปเหมือนของศาสตราจารย์ ดร.วิภาต บุญศรี วังซ้ายไว้เป็นที่ระลึกสักการะของชาวแม่โจ้ […]
-
ประติมากรรมคนลากเกวียน
ประติมากรรมคนลากเกวียน มีการไขข้อข้องใจของศิษย์เก่าแม่โจ้ แต่ยังสรุปไม่ได้ว่าควรเป็นภาพในปีไหนและบุคคลในภาพชื่ออะไรบ้าง ก่อนที่จะมีพิธีเปิดงานประติมากรรมคนลากเกวียนที่ลานจัตุรัสนานนาชาติในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2547 นายสงวน จันทะเล ที่ปรึกษาอธิการบดี ได้รับมอบหมายหน้าที่จาก รองศาสตราจารย์ ดร.เทพ พงษ์พานิช อธิการบดีในช่วงนั้น ให้สืบหาชื่อบุคคลและที่มาของภาพดังกล่าวให้ได้ ซึ่งในเวลาในการสอบถามจากบุคคลหลายท่าน ก็ทราบไม่แน่ชัดและไม่ยืนยันว่าเป็นภาพในปี พ.ศ. ใด จนได้ข้อมูลจากรุ่นพี่อาวุโสรุ่นที่ 2 พี่วิชัย พี่วิเชียน และพี่สมบูรณ์ แสงแก้ว ทำให้ทราบว่าบุคคลในภาพ มีชื่อ ดังนี้ หน้าเกวียน […]
-
“งานหนักไม่เคยฆ่าคน”
“งานหนักไม่เคยฆ่าคน” หากได้ยินคำนี้จะทำให้เรานึกถึงลูกแม่โจ้ แต่หลายท่านอาจจะไม่รู้ประวัติความเป็นของปรัชญางานหนักไม่เคยฆ่าคน ฝ่ายจดหมายเหตุและคอลชั่นพิเศษ จึงขอกล่าวถึงเรื่องราวความเป็นมาของประวัติปรัชญางานหนักไม่เคยฆ่าคน ศาตราจารย์ ดร.วิภาต บุญศรี วังซ้าย ให้ไว้เมื่อปี พ.ศ. 2497 ศาตราจารย์ ดร.วิภาต บุญศรี วังซ้าย ได้รับราชการในตำแหน่งอาจารย์ใหญ่โรงเรียนเกษตรกรรมแม่โจ้ นับเป็นช่วงสำคัญของการพัฒนาแม่โจ้สู่มิติใหม่ โดยรับจำนวนนักศึกษาเกินกว่าที่กรมอาชีวศึกษากำหนด จึงต้องพิสูจน์ให้เห็นว่านักศึกษาเหล่านั้นมีความพร้อมและต้องการเรียนเกษตรจริง ๆ ด้วยการทำงานหนักหลังผ่านการทดสอบได้เดือนเศษ ท่านได้กล่าวแสดงความยินดีต่อนักศึกษาที่เหลืออยู่ว่า “การเรียนเกษตรที่แม่โจ้นี้ ต้องฝึกความทรหดสู้งานทุกอย่างได้ ไม่ถ้อถอย เพื่อจะได้เป็นลูกแม่โจ้ที่อดทน เข้มแข็ง ไม่กลัวงานหนัก ท่านขอให้จดจำคำพูดของท่านเสมอว่า […]