MJU Articles

  • การทำกล่องอนุรักษ์หนังสือ

    การทำกล่องอนุรักษ์หนังสือ

    by

    |

    in

    ฝ่ายจดหมายเหตุและคอลเล็กชั่นพิเศษ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยแม่โจ้ วันนี้จะมาสอนการทำกล่องอนุรักษ์หนังสือแบบง่ายๆมาให้ทดลองทำ สามารถดัดแปลงให้มีขนาดใดก็ได้ ชอบกระดาษสีไหนก็เลือกได้ สามารถดัดแปลงตามความเหมาะสมได้เลย การทำกล่องอนุรักษ์หนังสือ จะทำให้หนังสือของเรายืดอายุการใช้งานเพิ่มมากขึ้น สวยและเป็นระเบียบ ป้องกันสัตว์หรือแมลงกัดกินหนังสือของเรา  อุปกรณ์ที่ใช้ 1. หนังสือที่จะใช้อนุรักษ์ 2. มีดคัดเตอร์ 3. ไม้บรรทัด 4. ยางลบ 5. ดินสอ 6. Bone Folder (ไม้รีดกระดาษ) 7. แผ่นรองตัด 8. กระดาษแข็งทำกล่อง […]

  • ศาลเจ้าพ่อโจ้ (ศาลเจ้าพ่อขวัญชัยมงคล)

    ศาลเจ้าพ่อโจ้ (ศาลเจ้าพ่อขวัญชัยมงคล)

    by

    |

    in

        ศาลเจ้าพ่อ แม่โจ้ จากการสืบค้นข้อมูลการกำเนิดศาลเจ้าพ่อโจ้ ซึ่งไม่มีการบันทึกในเอกสารที่สามารถใช้อ้างอิงได้นั้น ทีมงานจากศูนย์ศิลปวัฒนธรรมได้ประสานงานขอความร่วมมือจากคณาจารย์ศิษย์เก่า นับตั้งแต่รุ่นแรกๆ จนถึงรุ่น 50 การสัมภาษณ์และสืบค้นข้อมูลสามารถประมวลได้ว่าศาลเจ้าพ่อโจ้ กำเนิดขึ้นจากการได้รับงบประมาณสร้างหอพักสหมิตรในปี พ.ศ. 2501 ใช้นามสกุลของนายสนั่น สุมิตร อธิบดีกรมอาชีวศึกษาที่อนุมัติงบประมาณการก่อสร้างจำนวน 890,000 บาท เป็นชื่อหอพัก หลังจากสร้างเสร็จ โดยระหว่างก่อสร้างนั้นได้มีการสร้างศาลเพียงตาของเจ้าที่เพื่อให้การก่อสร้างหอพัก เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและราบรื่น จวบจนนักศึกษาแม่โจ้รุ่น 34 เข้ามาไหว้ศาล โดยเรียกว่าศาลเจ้าพ่อ (ยังไม่รู้จักกันอย่างกว้างขวางนัก) สันนิษฐานว่าเพื่อล้อกับเจ้าแม่ แม่โจ้ อย่างไรก็ดีในช่วงหลังศาลเจ้าพ่อมีบทบาทกับกิจกรรมรับน้องใหม่ […]

  • ลาแล้วแม่โจ้

    ลาแล้วแม่โจ้

    by

    |

    in

            สัมผัสประสบการณ์ เรื่องเล่าการเริ่มต้นเดินทางมาเรียนที่เชียงใหม่ บรรยากาศในการเดินทางมาเรียนและการดำเนินชีวิตในแม่โจ้ จนเรียนจบถึงเวลาที่ต้องลาจากแม่โจ้อันเป็นที่รักยิ่ง ที่มีมาอย่างยาวนาน บางส่วนบางตอนจากหนังสือ “อนุสรณ์แม่โจ้ รุ่น 21″ เขียนโดย คุณปรีชา ถาวร  แม่โจ้รุ่น 21 ความว่า…         เสียงระฆังกังวาลขึ้นบอกเวลาเที่ยงคืน ลมหนาวพัดผ่านเข้ามาทางช่องหน้าต่างทำให้อากาศในห้องเริ่มหนาวขึ้น ทุกสิ่งทุกอย่างบนอาณาจักรแม่โจ้เงียบสงัดดูคล้ายกับว่ากำลังหลับสนิท เสียงสุนัขหอนมาจากหมู่บ้าน ดังแว่วๆอย่างโหยหวนเยือกเย็น แต่ข้าพเจ้ายังคงนอนไม่หลับพลิกตัวไปมาบนที่นอนอันแสนจะอบอุ่น เสียงนาฬิกาปลุกบนโต๊ะเดินอยู่เป็นจังหวะๆ ข้าพเจ้าอดที่จะคิดถึงอดีตที่ผ่านมามิได้ มันยังคงฝังแน่นอยู่ในความทรงจำอย่างไม่มีวันลืม […]

  • ประติมากรรมเขาควาย

    ประติมากรรมเขาควาย

    by

    |

    in

      เมื่อโรงเรียนเกษตรกรรมแม่โจ้ ได้รับการยกฐานะเป็น วิทยาลัยเกษตรกรรมเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2499 เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก แม่โจ้เวลานั้น เข้าสู่ยุคการพัฒนาอย่างรวดเร็ว เป็นสถานศึกษาเกษตรแห่งเดียวที่เปิดหลักสูตรการเรียนการสอนในระดับอุดมศึกษารวม 5 ปี (เพิ่มหลักสูตรใหม่ ประกาศนียบัตร ประโยคครูมัธยมเกษตรกรรม: ป.ม.ก. อีก 6 ปี) นักศึกษาที่จบ ป.ม.ก. จากแม่โจ้ออกไปนั้น ภายหลังได้ดำรงตำแหน่ง อาจารย์ใหญ่ และผู้อำนวยการสถานศึกษาเกษตรของกรมอาชีวศึกษาเกือบทั่วประเทศ ส่วนที่แม่โจ้ หลักสูตร ป.ม.ก. […]

  • ประเพณีขึ้นดอยปุย

    ประเพณีขึ้นดอยปุย

    by

    |

    in

    ประเพณีขึ้นดอยปุย เป็นประเพณีที่รุ่นพี่แม่โจ้ได้ปฏิบัติมาตั้งแต่อดีต เพราะก่อนที่จะจากอ้อมอกของ “แม่โจ้” พวกเราต้องจากไปอย่าง “ลูกชายของแม่โจ้” ที่แท้จริง สัมผัสประสบการณ์ขึ้นดอยปุยที่มีมาอย่างยาวนาน บางส่วนบางตอนจากหนังสือ “อนุสรณ์แม่โจ้ รุ่น 21″ เขียนโดย คุณอุทัย สอนหลักทรัพย์ แม่โจ้รุ่น 21 ความว่า…         การศึกษาปีสุดท้ายทุกสมัยที่ผ่านมา ก่อนที่ทุกคนจะต้องจากแม่โจ้ไปดำเนินชีวิต ที่พวกเรา จะต้องไปเพื่อการต่อสู้กับเหตุการณ์ของโลกอันไพศาล ข่าวที่นำความซาบซึ้งมาถึง พวกเราที่ได้รับทราบเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2500 นั้นคือ […]

  • พระพิรุณทรงนาค มหาวิทยาลัยแม่โจ้

    พระพิรุณทรงนาค มหาวิทยาลัยแม่โจ้

    by

    |

    in

    จากข้อมูลจารึกปรากฏบนป้ายใกล้กับประติมากรรมพระพิรุณทรงนาค สัญลักษณ์ของการเกษตรบนฐานกลางสระน้ำ “พระพิรุณทรงนาค อนุสรณ์แม่โจ้ รุ่น 27” พระพิรุณหรือพระวิรุณหรือพระวรุณ เป็นเทพเจ้าแห่งฝน แห่งน้ำ หรือทะเลเป็นผู้บันดาลให้ฝนตก เป็นโลกบาลทิศประจิม(ทิศตะวันตก) พญานาคเป็นพาหนะของพระพิรุณและเป็นกำลังในการให้น้ำ พระพิรุณทรงนาคจึงเป็นเครื่องหมายแห่งความอุดมสมบูรณ์อันสืบเนื่องจากพื้นแผ่นดิน…แม่โจ้จึงให้พระพิรุณทรงนาค เป็นสัญลักษณ์ของสถาบันสืบต่อมา สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2510 โดยศิษย์เก่าแม่โจ้ รุ่น 27 (2505) ออกแบบโดยอาจารย์ นิกร อักษรพรหม จากโรงเรียนยุพราชวิทยาลัย หลังจากสร้างเรียบร้อยได้มีการขุดสระปลูกบัวล้อมรอบพระพิรุณทรงนาค และต่อมามีผู้ไปขุดดินกลบสระเพื่อให้ผู้คนเข้าสักการะอย่างใกล้ชิด แต่อาจารย์วิภาต บุญศรี วังซ้าย […]

  • อนุสาวรีย์อำมาตย์โท พระช่วงเกษตรศิลปการ “บิดาเกษตรแม่โจ้”

    อนุสาวรีย์อำมาตย์โท พระช่วงเกษตรศิลปการ “บิดาเกษตรแม่โจ้”

    by

    |

    in

    อนุสาวรีย์พระช่วงเกษตรศิลปการ ” บิดาเกษตรแม่โจ้ ” เริ่มก่อสร้างเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2530  แล้วเสร็จเมื่อเดือน มกราคม 2531  งบประมาณประมาณก่อสร้าง จำนวนเงิน 1,019,821บาท ได้จากเงินสมทบค่าก่อสร้างของครอบครัวพระช่วงฯ และศิษย์เก่าแม่โจ้     อนุสาวรีย์พระช่วงเกษตรศิลปการ ก่อสร้างบนพื้นที่บริเวณหลังอาคาร ” พระช่วงเกษตรศิลป์ ” (หรืออาคารตึกเรียน ที่แม่โจ้รุ่นก่อน ๆ เรียกชื่อ เพราะมีอาคารตึกเดียว ที่ก่อสร้างเป็นอาคาร คอนกรีตเสริมเหล็กขนาดสองชั้น อาคารถาวรแรกสุดของโรงเรียนเกษตรแม่โจ้ เมื่อปี […]

  • การศึกษากสิกรรม

    การศึกษากสิกรรม

    by

    |

    in

    ธรรมเนียมโบราณ การศึกษาเป็นงานเฉพาะตัว ไม่จำเป็นต้องเรียนทั่วหน้า วิชาที่เรียนก็คือเลขและหนังสือ ซึ่งในภาษาอังกฤษ เรียกว่า The 3 Rs. ธรรมเนียมเป็นเช่นนี้เหมือนกันทั้งตะวันออกและตะวันตก ต่อมาได้เกิดมีการเปลี่ยนแปลงขึ้นในเมื่อไม่กี่ศตวรรษที่แล้วมานี้เอง ว่าชาติหรือประเทศจะเจริญก็เพราะคนทั้งชาติเจริญ โดยได้รับการศึกษาทั่วหน้า จึงเกิดวางแผน “ศึกษาชาติ” กันขึ้น ในแผนศึกษาชาตินี้เอง ต้องวางชั้นการศึกษาเป็น ประถม, มัธยม, อุดม, เพื่อให้ชนทุกชั้นเลือกได้ตามภูมิปัญญา กับให้มีทั้งสามัญและวิสามัญศึกษา เพื่อทุกคนได้มีความรู้ทางอาชีพพอควรแก่อัตภาพ วิสามัญศึกษานี้ กล่าวโดยประเภท เป็น กสิกรรม, อุตสาหกรรม และพาณิชการ […]

  • “ผำ”พืชที่กำลังได้รับความนิยมในการนำมาปรุงเป็นอาหาร

    “ผำ”พืชที่กำลังได้รับความนิยมในการนำมาปรุงเป็นอาหาร

    ผำ หลายคนอาจเคยได้ยินชื่อ แต่อีกจำนวนไม่น้อยที่ไม่เคยรู้จัก  บางคนอาจรู้จักแต่ไม่เคยได้ลิ้มลองรสชาติของผำส่วนใหญ่จะมีขายที่ตลาดใส่ถุงไว้เป็นสีเขียวสดๆ  หรือหลายคนอาจรู้จักในชื่อ ไข่แหน, ไข่น้ำ, ไข่ขำ “ผำ” เป็นพืชที่มีดอกขนาดเล็กที่สุด อาศัยลอยอยู่บนผิวน้ำ อาจลอยอยู่เป็นกลุ่มล้วนๆหรือลอยปนกับพืชชนิดอื่นๆก่อได้ อยู่บนผิวหนองน้ำหรือบ่อน้ำ ในน้ำนิ่งๆที่ต้องสะอาด มองไกลๆ คล้ายๆกับจอกแหน แต่ถ้าเข้ามาดูใกล้ๆจะเห็นว่า หน้าตาของมันดูคล้ายสาหร่ายหรือไข่ปลาจิ๋วๆ มากว่า ผำอาศัยอยู่บนน้ำ มีรูปร่างรีๆ ค่อนข้างกลม มีขนาดยาวประมาณ 1 มิลลิเมตร ต้นจะมีสีเขียวสดเม็ดเล็กละเอียด ไม่มีรากไม่มีใบ เห็นเล็กๆแบบนี้ ผำ ยังเต็มไปด้วยสารอาหารโดยเฉพาะโปรตีนและกรดไขมันโอเมก้า […]

  • อำมาตย์โท พระช่วงเกษตรศิลปการ “บิดาเกษตรแม่โจ้”

    อำมาตย์โท พระช่วงเกษตรศิลปการ “บิดาเกษตรแม่โจ้”

    by

    |

    in

    อำมาตย์โท พระช่วงเกษตรศิลปะการ(ช่วง โลจายะ) ขอเทิคพระคุณและบูชาบูรพาจารย์ อำมาตย์โท พระช่วงเกษตรศิลปะการ(ช่วงโลจายะ) “บิดาเกษตรแม่โจ้” ผู้บุกเบิกงานหนักเพื่อสร้างแม่โจ้ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ทางการเกษตรของประเทศไทย เกิดเมื่อวันที่ ๒๐ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๔๔๒  ปีกุน รัตนโกสินทร์ศก ๑๑๘ ณ บ้านแข่ ตำบลพระประแดง อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ เป็นบุตรคนเล็กในจำนวนพี่น้องสองคนของร้อยเอก หลวงศรีแผ้ว ร.น. (ขาว โลจายะ)กับนางทองหยด โลจายะ   การศึกษาขั้นต้นที่โรงเรียนวัดทรงธรรม อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการและระดับมัธยมศึกษาที่โรงเรียนมัธยมวัดสุทัศน์ […]

  • อนุสาวรีย์ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.วิภาต บุญศรี วังซ้าย คนต้นแบบลูกแม่โจ้ “งานหนักไม่เคยฆ่าคน”

    อนุสาวรีย์ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.วิภาต บุญศรี วังซ้าย คนต้นแบบลูกแม่โจ้ “งานหนักไม่เคยฆ่าคน”

    by

    |

    in

    อนุสาวรีย์ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.วิภาต บุญศรี วังซ้าย คนต้นแบบลูกแม่โจ้ “งานหนักไม่เคยฆ่าคน” แนวความคิดการจัดสร้างอนุสาวรีย์ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.วิภาต บุญศรี วังซ้าย ครั้งแรกเกิดขึ้นภายหลังจากเสร็จพิธีพระราชทานเพลิงศพท่าน เมื่อวันอาทิตย์ที่ 17 กุมภาพันธ์ 2528 โดยองค์การนักศึกษาแม่โจ้ ซึ่งมี นายจรูญ พุทธจรรยา (ดร.จรูญเกียรติ ภัทรมนตรสินพุทธจรรยา) นายกองค์การนักศึกษาแม่โจ้ (แม่โจ้ 48) และศิษย์เก่าแม่โจ้จำนวนหนึ่ง ได้หารือร่วมกันพิจารณา หาทุนการจัดสร้างอนุสาวรีย์รูปเหมือนของศาสตราจารย์ ดร.วิภาต บุญศรี วังซ้ายไว้เป็นที่ระลึกสักการะของชาวแม่โจ้ […]

  • ประติมากรรมคนลากเกวียน

    ประติมากรรมคนลากเกวียน

    by

    |

    in

     ประติมากรรมคนลากเกวียน มีการไขข้อข้องใจของศิษย์เก่าแม่โจ้ แต่ยังสรุปไม่ได้ว่าควรเป็นภาพในปีไหนและบุคคลในภาพชื่ออะไรบ้าง ก่อนที่จะมีพิธีเปิดงานประติมากรรมคนลากเกวียนที่ลานจัตุรัสนานนาชาติในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2547 นายสงวน จันทะเล ที่ปรึกษาอธิการบดี ได้รับมอบหมายหน้าที่จาก รองศาสตราจารย์ ดร.เทพ พงษ์พานิช อธิการบดีในช่วงนั้น ให้สืบหาชื่อบุคคลและที่มาของภาพดังกล่าวให้ได้ ซึ่งในเวลาในการสอบถามจากบุคคลหลายท่าน ก็ทราบไม่แน่ชัดและไม่ยืนยันว่าเป็นภาพในปี พ.ศ. ใด จนได้ข้อมูลจากรุ่นพี่อาวุโสรุ่นที่ 2 พี่วิชัย พี่วิเชียน และพี่สมบูรณ์ แสงแก้ว ทำให้ทราบว่าบุคคลในภาพ มีชื่อ ดังนี้ หน้าเกวียน […]