September 7, 2019
-
กาแฟขัดผิวที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ(chorogenic acid) สูงและเติมสมุนไพรพื้นบ้าน เพื่อยืดอายุการเก็บรักษาและบํารุงผิวพรรณ
in ผลิตภัณฑ์จากกระแสความนิยมดื่มกาแฟสดในปัจจุบัน จะมีกากกาแฟที่เหลือจากการบด การชง การดื่มจํานวนมาก จึงมีแนวคิดนําเศษกากของกาแฟมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อื่น ๆ เพื่อลดปัญหาขยะ ด้วยลักษณะกากของกาแฟเป็น เม็ดเล็กๆ เหมือนเกลือและทราย ทางบริษัท ไลบรารีกรีน จํากัดและดร.พิชญาพร อายุมัน อาจารย์ประจําสาขาวิชา เทคโนโลยีชีวภาพ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ จึงมีแนวคิดนํากากกาแฟมาขัดผิว จึงดําเนินการขอทุน จากสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) เพื่อทําการวิจัยเกี่ยวกับสครับกาแฟขัดผิว เนื่องจากเราทราบว่ากากกาแฟมีสารที่เรียกว่า “กรดคลอโรจีนิค (Chorogenic acid)” ที่มีคุณสมบัติเป็นสารต้าน อนุมูลอิสระ (Antioxidant) ปริมาณมาก จึงนํามาเป็นส่วนสําคัญที่ทําให้ผิวกระจ่างใส และลดริ้วรอย โดยควบคุม กระบวนการฆ่าเชื้อกากกาแฟให้เหมาะสมเพื่อรักษาปริมาณกรดคลอโรจีนิคให้คงเหลือในกากกาแฟมากที่สุด พร้อม กับเติมสมุนไพรพื้นบ้าน เช่น ขมินและไพล เพื่อยืดอายุการเก็บรักษาและลดการปนเปื้อนจากเชื้อรา และปรับขนาดของกากกาแฟ ให้เหมาะที่จะนํามาใช้กับผิวหน้า โดยปรับขนาดของเม็ดกาแฟให้มีลักษณะเท่ากับเมล็ดบีดกากกาแฟ ผลจากการทดลองใช้ในร้านสปาต่างๆ ในจังหวัดแพร่ พบว่า ผู้บริโภคพึงพอใจในผลิตภัณฑ์เป็นอย่างมาก โดยลูกค้าพอใจในเรื่องของกลิ่น ความนุ่มลื่นและความกระจ่างใสของผิวหลังจากการใช้ผลิตภัณฑ์ จากนั้นทางผู้ประกอบการและนักวิจัยได้พัฒนาต่อยอด โดยทําการขอทุนจากสํานักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (สนช.) ภายใต้โครงการคูปองนวัตกรรมประจําปี 2558 เพื่อสร้างผลิตภัณฑ์สครัปจากกากกาแฟที่มีสารคลอโรจีนิคที่…
-
การใช้ด้วงเต่าตัวห้ำและเชื้อราควบคุมศัตรูพืชโดยชีววิธี
in องค์ความรู้การใช้ด้วงเต่าตัวควบคุมแมลงศัตรูพืช ด้วงเต่าตัวห้ำ (predatory beetle) ด้วงเต่าตัวห้ำ เป็นแมลงในอันดับ Coleoptera อยู่ในวงศ์ Coccinelidae มีเชื่อสามัญเรียกว่า Ladybug Ladybird และ Lady beetle เป็นต้น และทั่วโลกมีด้วงเต่า จํานวน 490 สกุล และมี 4,200 ชนิด ส่วนในประเทศไทย มีรายงานพบ 36 สกุล และ 75 ชนิด และมีจํานวน 62 ชนิดเป็นด้วงเต่าตัวห้ำ ส่วนอีก 13 ชนิดเป็นแมลงศัตรูพืช เช่นด้วงเต่าแตงลายจุด Henosepilachna vigintioctopunctata และหาก สังเกตในธรรมชาติแล้ว ทั้งนี้ด้วงเต่าที่เป็นแมลงศัตรูพืชมักมีจํานวนจุดบนหลังมากกว่าด้วงเต่าตัว ส่วนด้วงเต่าตัวห้ำนั้นมีหลากหลายชนิด หลายขนาด ตั้งแต่เล็กมาก ประมาณ 0.1 เซนติเมตร เช่นด้วงเต่าตัวห้ำที่กินไร เช่น Stethorus spp. ไปจนถึง 1 เซนติเมตร…