January 22, 2021

  • การผลิตปุ๋ยโบกาฉิเพื่อการเพาะปลูกพืช

    การผลิตปุ๋ยโบกาฉิเพื่อการเพาะปลูกพืช

    Maejo University Archives · Bokashi โบกาฉิ (Bokashi) เป็นคำศัพท์ในภาษาญี่ปุ่นที่แปลว่า การหมัก (Compost) ซึ่งการทำปุ๋ยโบกาฉินั้นเกิดจากการทำหัวเชื้อจุลินทรีย์ EM ในรูปแบบน้ำให้เป็นแห้ง ผู้คิดค้นคนแรกคือ ศ.ดร.เทรูโอะ ฮิหงะ สรุปได้ว่า การทำปุ๋ยโบกาฉินั้นเป็นการทำปุ๋ยหมักด้วยอินทรียวัตถุ ที่หมักด้วยจุลินทรีย์ EM เท่านั้น มาประยุกต์ใช้โดยผ่านกระบวนการหมักแบบแห้ง มีการผสมกากน้ำตาลเข้าไปเพื่อช่วยในกระบวนการย่อยสลายของจุลินทรีย์ ก่อนจะหมักด้วยวัตถุดิบตามสูตรจนได้ที่ และนำไปใช้ให้เกิดผลดีในการปรับสภาพโครงสร้างดินให้ร่วนซุยและมีคุณภาพในการเพาะปลูกพืช วัสดุและอุปกรณ์ในการทำ 1. แกลบหยาบ 20 กิโลกรัม 2. มูลสัตว์ 30 กิโลกรัม 3. รำละเอียด 50 กิโลกรัม 4. หัวเชื้อจุลินทรีย์ที่ขยายแล้ว 10 ลิตร 5. น้ำสะอาด 30 ลิตร (ไม่มีส่วนผสมของคลอรีน) วิธีการทำ นำส่วนผสมทุกอย่างคลุกเคล้าให้เข้ากัน โดยนำของแห้งผสมกันก่อน จึงค่อยเติมน้ำสะอาดและหัวเชื้อจุลินทรีย์ลงไป ทำการผสมต่อให้เข้ากัน โดยให้ปุ๋ยมีความชื้นประมาณ 60-70 เปอร์เซ็นต์…

  • การเพาะเลี้ยงแหนแดง

    การเพาะเลี้ยงแหนแดง

    Maejo University Archives · IH – EP5 – การเพาะเลี้ยงแหนแดง แหนแดง เป็นพรรณไม้น้ำชนิดลอยบนผิวน้ำ ลักษณะทั่วไปประกอบด้วยลำต้น ราก และ ใบแหนแดงมีลักษณะพิเศษ คือ ใบบน เป็นใบที่มีโพรงใบ ซึ่งเป็นที่อยู่ของสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน (Anabaena azollae) ในลักษณะพึ่งพาอาศัยกัน สาหร่ายสีน้ำเงินแกมเขียวที่อาศัยในโพรงใบของแหนแดงสามารถตรึงไนโตรเจนได้ แล้วทำการเปลี่ยนไนโตรเจนให้เป็นแอมโมเนียม ซึ่งแหนแดงสามารถนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการเติบโตได้ ซึ่งจะช่วยเพิ่มจำนวนแหนแดงได้ถึง 2 เท่า ภายใน 3-5 วัน แหนแดงสำหรับปุ๋ยในนาข้าว ใบแหนแดงมีโพรงขนาดเล็กที่เป็นที่อาศัยของสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน Anabana azollae ที่สามารถตรึงไนโตรเจนจากอากาศได้ ด้วยภายในเซลล์จะมีเอนไซม์ Nitrogenase ซึ่งใช้เหล็ก และโมลิดินั่มสำหรับเป็นโคแฟคเตอร์ในปฏิกิริยา พร้อมกับรีดิวซ์ก๊าซไนโตรเจนให้เป็นแอมโมเนีย และเก็บไว้ในเซลล์ และไนโตรเจนที่ตรึงได้นี้กลายเป็นธาตุอาหารสำคัญในการเติบโตของแหนแดง ทำให้แหนแดงมีคุณสมบัติเป็นปุ๋ยพืชสดได้เหมือนกับพืชตระกูลถั่วอื่นๆ แหนแดงที่อยู่ในสภาพที่เหมาะสม แหล่งอาศัยมีธาตุอาหารสูงจะสามารถเพิ่มจำนวนต้นได้รวดเร็ว โดยในเวลา 30 วัน แหนแดงสามารถเพิ่มจำนวน และเติบโตจนได้ต้นสดได้มากถึง 3 ตัน/ไร่ ซึ่งจะตรึงไนโตรเจนได้ประมาณ 5-10…

  • การทําเกษตรแบบธรรมชาติ (ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง)

    การทําเกษตรแบบธรรมชาติ (ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง)

    การทําเกษตรแบบธรรมชาติ(ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง) โดยใช้สัตว์เป็นยุทธศาสตร์ในการพัฒนาการเกษตร เน้น 1) ลดต้นทุนการผลิต 2) ใช้ปัจจัยการผลิตในท้องถิ่น 3) ปลอดภัยจากสารพิษ (ไม่ใช้สารเคมี) 4) การส่งเสริมสภาพแวดล้อม 5) นําแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มาปรับใช้ในการผลิตทางการเกษตร หมายถึง การนําเอาเชื้อจุลินทรีย์ มาใช้ในการผลิตทางการเกษตรได้แก่ การปลูกพืช เลี้ยงสัตว์และการประมง บนฐานความคิดที่ว่า อยู่ที่ไหนใช้จุลินทรีย์ ที่นั้น จุลินทรีย์นี้ คือ เชื้อราขาว เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีขนาดเล็กมองไม่เห็นด้วย ตาเปล่า, มีประโยชน์ต่อธรรมชาติ ไม่ชอบแสงแดด ชอบกินของหวานจาก น้ำตาลทรายแดง และน้ำหมักจุลินทรีย์ 7 ชนิด โดยสรุป เป็นการผลิตอาหารสัตว์ใช้เองราคาถูกนําไปเลี้ยงสัตว์และประมง ผลิตปุ๋ยราคาถูกใช้เอง (จากวัสดุรองพื้นคอกสัตว์ หรือ สัตว์ทําสัตว์หมักและคน ทําคนหมัก) นําไปใช้กับการปลูกพืช โดยใช้จุลินทรีย์ แล้ววางแผนการปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ประมง ให้เกิดรายได้ประจําวัน ประจําเดือนและประจําปี หัวใจสําคัญของการทําการเกษตรแบบธรรมชาติ คือ การผลิต 1) การผลิตเชื้อราขาว 2) น้ำหมักจุลินทรีย์…