Ethnic FoodsSweet snacks & dessertsอาหารกลุ่มชาติพันธุ์ไทลื้อ

ขนมดอกส้อ หรือเรียกว่า ขนมลิ้นหมา ขนมชาติพันธุ์ไทลื้อ

30 นาที Cook
Scroll to recipe
[youtube https://www.youtube.com/watch?v=sMEQiLJ-VyI?feature=oembed&w=1140&h=855]

ขนมลิ้นหมา บ้างเรียกว่า เข้าหนมเปี่ยง หรือเข้าเปี่ยง เป็นขนมที่ทำมาจากแป้งข้าวเหนียวดำนวดกับน้ำจนหนืดแต่ไม่เละ เติมเกลือให้มีรสเค็มเล็กน้อย บ้างใช้แป้งข้าวเหนียวสีขาวนวดกับน้ำอ้อยและเกลือให้มีรสหวานๆ เค็มๆ นำมะพร้าวขูดคลุกกับน้ำตาลทราย ช่วยให้ขนมอร่อย และน่ารับประทาน (รัตนา พรหมพิชัย, 2542, หน้า 824; รัตนา ไชยนันท์, สัมภาษณ์, 28 มิถุนายน 2550)

อีกทั้งพฤติกรรมการรับประทานอาหารสมัยเมื่อก่อนล้อมรับประทานแบบเป็นขันโตก ให้ผู้อาวุโสรับประทานก่อน โดยจะไม่มีจานแบ่ง ช้อนแบ่ง ถ้าหากเป็นน้ำแกงจะใช้ช้อน แต่ถ้าหากเป็นข้าวเหนียวจะใช้มือเป็นส่วนใหญ่

Share

phakwilai
prep time
15 นาที
cooking time
30 นาที
servings
4
total time
45 นาที

Equipment

  • 1. กระจาดใส่ดอกส้อ

  • 2. กะละมัง

  • 3. ชามใส่น้ำอ้อย

  • 4. ซึ้ง

Ingredients

  • วัตถุดิบ

  • 1.แป้งข้าวเหนียว

  • 2.ดอกส้อ

  • 3.น้ำอ้อย

Instructions

1

ขั้นตอนการเก็บดอกส้อมาตำ

เก็บดอกส้อมาแล้ว นำไปตากแดดให้แห้งสนิท และนำดอกส้อมาตำในครกให้ละเอียด
2

ขั้นตอนการนำดอกส้อมาผสมกับแป้งและน้ำอ้อย

นำดอกส้อที่ตำละเอียดแล้วมาป่นร่อนโดยใช้ตะแกรง ผสมแป้งข้าวเหนียว และน้ำอ้อย นวดให้เป็นเนื้อเดียวกัน จนกว่าเนื้อแป้งจะเป็นสีน้ำตาล
3

ขั้นตอนการห่อขนมด้วยใบตอง

นำแป้งขนมมาห่อใบตองเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ปริมาณช้อนแกงเล็กน้อย พอพับใบตองเรียบร้อยแล้วให้รีดขนมให้แบนๆตามขนาดใบตองที่ห่อ แล้วนำไปนึ่งให้สุกใช้เวลาประมาณ15-20 นาที โดยภาชนะที่ใส่ขนมดอกส้อเป็นซึ้งแบบหม้อดินที่มีรูตรงกลางเล็กๆ
4

ขั้นตอนตอนนึ่งเสร็จและพร้อมรับประทาน

พอนึ่งเรียบร้อย ก็สามารถนำมารับประทานทันที รับประทานตอนร้อนมีความอร่อย โดยทางไทลื้อจะไม่รับประทานกับมะพร้าว จะรักษาความเป็นธรรมชาติที่ไม่ปรุงแต่งใดๆ

Notes

ที่มาของคำว่า ขนมดอกส้อ มาจากต้นไม้ที่ชื่อว่าต้นส้อที่เป็นไม้ยืนต้น เชื่อว่าเป็นไม้มงคล ชาวไทลื้อนิยมนำไม้ส้อ มาแกะเป็นพระพุทธรูป จารึกอักขระคำอุทิศถวายไว้กับวัด นอกจากนี้ยังนำมาทำของใช้ในบ้านเรือน เช่น ไหข้าว กล่องข้าว เป็นต้น
10 posts

About author
Intern Student form Faculty of Humanities, Chiang Mai University
Articles
You may also like
Sweet snacks & desserts

ขนมจ๊อก

1 ชั่วโมง Cook
ขนมจ๊อก เป็นขนมพื้นบ้านที่มีต้นกำเนิดจากการนำมะพร้าวที่หาได้ง่ายในท้องถิ่นมาแปรรูปเพื่อสร้างรายได้และใช้ในเทศกาลต่าง ๆ ขนมนี้ทำจากแป้งข้าวเหนียวนวดกับกะทิ และใช้ไส้มะพร้าวผสมกับน้ำตาลปิ้ปที่เคี่ยวจนเหนียวแล้วนำไปนึ่งในใบตอง ขนมจ๊อกมีความหอมหวานและนุ่มจากแป้งข้าวเหนียวและไส้มะพร้าวเคี่ยว ซึ่งทำให้เป็นที่นิยมในครัวเรือนและงานประเพณีของชาวแม่ฮ่องสอน ประวัติความเป็นมา ขนมจ๊อก เป็นขนมพื้นบ้านที่นิยมในภาคเหนือและเฉพาะในจังหวัดแม่ฮ่องสอน การนำมะพร้าวมาใช้ในขนมนี้เป็นการใช้วัตถุดิบที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น การทำขนมจ๊อกเป็นการผสมผสานระหว่างแป้งข้าวเหนียวที่นวดกับกะทิ และไส้มะพร้าวที่เคี่ยวกับน้ำตาลปิ้ป เมื่อนำไปนึ่งในใบตองจะได้ขนมที่มีกลิ่นหอม รสชาติหวานมัน และมีเนื้อสัมผัสที่นุ่มเหนียว ผู้ให้ข้อมูล : นายสงกรานต์ ทนันชัย,… Share this:FacebookXLike this:Like Loading...
Sweet snacks & desserts

ขนมเกลือ

1 ชั่วโมง Cook
ขนมเกลือ เป็นขนมพื้นบ้านที่มีชื่อเสียงในจังหวัดเชียงราย ทำจากแป้งข้าวเจ้าและแป้งมันที่ผสมกับน้ำตาลและเกลือ การนวดและนึ่งขนมนี้จะให้รสชาติที่กลมกล่อม ทั้งหวานและเค็มเบา ๆ ที่ลงตัว ขนมเกลือเป็นขนมที่คนรุ่นใหม่อาจไม่คุ้นเคย แต่กลับเป็นขนมที่แฝงไปด้วยวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ของชุมชนท้องถิ่น ประวัติความเป็นมา ขนมเกลือเป็นขนมพื้นบ้านที่สืบทอดกันมาหลายรุ่นในภาคเหนือของประเทศไทย โดยเฉพาะในจังหวัดเชียงราย ชาวบ้านนิยมทำขนมเกลือในงานประเพณีและงานเทศกาลต่าง ๆ รสชาติของขนมนี้มีความเฉพาะตัว เนื่องจากใช้แป้งข้าวเจ้าและแป้งมันผสมกับเกลือและน้ำตาลอย่างลงตัว การนำไปนึ่งจะทำให้ขนมมีเนื้อสัมผัสที่นุ่มและหนืด ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของขนมชนิดนี้ ผู้ให้ข้อมูล :… Share this:FacebookXLike this:Like Loading...
Sweet snacks & desserts

ขนมวง (ข้าวมูนโข่ย)

1 ชั่วโมง Cook
ขนมวง (ข้าวมูนโข่ย) – ขนมพื้นบ้านของแม่ฮ่องสอน ขนมวง หรือ ข้าวมูนโข่ย เป็นขนมพื้นบ้านที่มีรสชาติหอมหวานและเป็นเอกลักษณ์จากน้ำอ้อยที่เคี่ยวอย่างพิถีพิถัน ขนมนี้นิยมทำในครัวเรือนในช่วงเทศกาลหรือโอกาสพิเศษ โดยใช้วัตถุดิบธรรมชาติ เช่น แป้งข้าวเหนียวและน้ำอ้อย เมนูนี้เป็นที่นิยมในพื้นที่แม่ฮ่องสอนและเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมการทำขนมของคนในชุมชน ประวัติความเป็นมา ขนมวง (ข้าวมูนโข่ย) เป็นขนมพื้นบ้านที่มีการทำสืบทอดกันมาหลายรุ่นในพื้นที่แม่ฮ่องสอน โดยใช้วัตถุดิบจากธรรมชาติที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น เช่น งาขาวและน้ำอ้อยที่เคี่ยวจนเหนียว… Share this:FacebookXLike this:Like Loading...

Leave a Reply

×
CurryEthnic Foodsอาหารกลุ่มชาติพันธุ์ไทลื้อ

จิ้นต้มคั่ว หรือ จิ้นซ่ำพริก อาหารชาติพันธุ์ไทลื้อ

20 นาที Cook