CurryEthnic Foodsอาหารกลุ่มชาติพันธุ์ไทลื้อ

จิ้นต้มคั่ว หรือ จิ้นซ่ำพริก อาหารชาติพันธุ์ไทลื้อ

20 นาที Cook
Scroll to recipe

จิ้นซ่ำพริกอาหารประจำถิ่นของชาวไทลื้อ เนื้อหมู นำไปย่างไฟให้สุก แล้วนำมาทุบให้นิ่ม

จากนั้นนำมาผัดกับพริกและกระเทียมหอม นำใบมะกรูดที่โรยให้ทั่ว และยกลงพร้อมทาน

อีกทั้งพฤติกรรมการรับประทานอาหารสมัยเมื่อก่อนล้อมรับประทานแบบเป็นขันโตก ให้ผู้อาวุโสรับประทานก่อน โดยจะไม่มีจานแบ่ง ช้อนแบ่ง ถ้าหากเป็นน้ำแกงจะใช้ช้อน แต่ถ้าหากเป็นข้าวเหนียวจะใช้มือเป็นส่วนใหญ่

Share

phakwilai
prep time
30 นาที
cooking time
20 นาที
servings
5
total time
1 ชั่วโมง

Equipment

  • 1.หม้อดิน

  • 2.ครก

  • 3.สาก

  • 4.เขียง

  • 5.มีด

  • 6.ทัพพี

  • 7.ชาม

  • 8.ช้อน

Ingredients

  • วัตถุดิบและเครื่องปรุง

  • 1.เนื้อหมู (จะเป็นส่วนที่ติดมัน)

  • 2.ตะไคร้

  • 3.พริกแห้ง

  • 4.ขมิ้น

  • 5.เกลือเม็ด

  • 6.ใบมะกรูด

  • 7.หอมแดง

  • 8.กระเทียม

  • 9.กะปิ

  • 10.น้ำมัน

Instructions

1

ขั้นตอนการนำเนื้อหมูมาย่างบนเตา

นำเนื้อหมูที่ติดมันนำไปย่างบนตะแกรงที่ก่อไฟขึ้นมาโดยวิธีโบราณ นั้นก็คือหินที่ชาวไทลื้อเรียกว่าหินสามเส้า โดยจะย่างไม่ต้องสุกมากเพราะจะนำเนื้อหมูไปต้มกับเครื่องแกงในขั้นตอนต่อไป *โดยจะย่างหมูทิ้งไว้บนตะแกรง และไปทำขั้นตอนของเครื่องแกงที่จะมาตำใส่กับหมู*
2

ขั้นตอนการตำเครื่องแกง

นำพริก ตะไคร้ ขมิ้น กะเทียม เกลือ กะปิ และใส่หอมแดงตามลงไป จากนั้นตำให้ละเอียด และตักพักไว้ในจานก่อน และหั่นหมูออกเป็นชิ้นๆ จากนั้นนำหมูไปตำรวมกับเครื่องแกงส่วนหนึ่งให้หมูเข้ากับเครื่องแกงก่อน ถึงจะตักพักใส่จานเพื่อนำไปขั้นตอนต่อไป
3

ขั้นตอนการผัดกระเทียมให้หอมและนำหมูลงไปผัด

นำหม้อดินมาตั้งแล้วใส่น้ำมันและกะเทียมลงไปผัดให้เกิดความเหลือง หอม จากนั้นใส่เครื่องแกงที่ตำแล้วใส่ลงไปผัด ผัดประมาณ 2 นาที จากนั้นใส่หมูที่ตำแล้วลงไปผัดพร้อมกับเครื่องแกง แล้วคนให้เข้ากันจึงจะเติมน้ำเปล่าเข้าไปให้ท่วมตัวหมู
4

ขั้นตอนการโรยใบมะกรูดและตักใส่ชามพร้อมรับประทาน

จากนั้นนำใบมะกรูดมาโรยเพื่อให้เกิดความหอมมากขึ้น รอให้เครื่องแกงกับเนื้อหมูเข้ากันประมาณ 2 นาที จากนั้นตักใส่ชามพร้อมรับประทานกับข้าวเหนียว โดยจะมีผักเป็นเครื่องเคียง เช่น ต้นหอม ผักชี หอมแดง และผักขี้หูด

Notes

โดยจากการสัมภาษณ์ชาวไทลื้อจะรับประทานผักตามฤดูกาล เช่น หน้าหนาวนี้จะมีผักที่ชื่อว่า ผักฮี้ ผักเฮือด เป็นผักพื้นบ้านตามฤดูกาลที่มีคุณค่า ช่วยเสริมสร้างสุขภาพให้แข็งแรง อีกทั้งอาหารไทลื้อใช้วัตถุดิบที่มีในท้องถิ่น สามารถลดค่าใช้จ่ายในการบริโภคอาหารของครัวเรือน จากการศึกษาพบว่า อาหารไทลื้อที่เป็นธรรมชาติ และไม่มีการปรุงแต่ง เช่น น้ำปลา น้ำตาล
10 posts

About author
Intern Student form Faculty of Humanities, Chiang Mai University
Articles
You may also like
Curry

แกงอ่อมเครื่องในหมู

30 นาที Cook
แกงอ่อมเครื่องในหมู แกงอ่อมเครื่องในหมู เป็นเมนูพื้นบ้านที่ได้รับความนิยมในภาคเหนือของประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่แม่ฮ่องสอน อาหารจานนี้เป็นการผสมผสานระหว่างเครื่องในหมูและสมุนไพรไทยที่หอมกรุ่น เช่น ข่า ตะไคร้ และใบมะกรูด ทำให้เมนูนี้มีรสชาติเข้มข้นและหอมสมุนไพร นอกจากนี้ยังเป็นเมนูที่ช่วยบำรุงร่างกายและระบบย่อยอาหารได้ดี ประวัติความเป็นมา แกงอ่อมเครื่องในหมู เป็นเมนูที่สืบทอดกันมาหลายชั่วอายุคนในภาคเหนือ โดยใช้เครื่องในหมูที่มีรสชาติและเนื้อสัมผัสที่เข้มข้น ผสมกับสมุนไพรไทยที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น เพื่อเพิ่มรสชาติและกลิ่นหอม เมนูนี้มักถูกนำมารับประทานในโอกาสพิเศษหรืองานสำคัญในชุมชน ผู้ให้ข้อมูล :… Share this:FacebookXLike this:Like Loading...
Curry

แกงยอดมะพร้าวอ่อนใส่ไก่ (แกงออกป้าว)

20 นาที Cook
แกงยอดมะพร้าวอ่อนใส่ไก่ – อาหารพื้นบ้านจากเชียงใหม่ แกงยอดมะพร้าวอ่อนใส่ไก่ เป็นเมนูพื้นบ้านที่ทำง่ายและอร่อย โดยการใช้ยอดมะพร้าวอ่อนที่มีความกรอบและสดใหม่ ผสมผสานกับเนื้อไก่ที่มีรสชาติกลมกล่อม การใช้สมุนไพรต่าง ๆ เช่น ตะไคร้ พริก และกระเทียม ช่วยเพิ่มความหอมและรสชาติที่เข้มข้น เมนูนี้เป็นที่นิยมของชาวบ้านในภาคเหนือ โดยเฉพาะในพื้นที่เชียงใหม่ ประวัติความเป็นมา แกงยอดมะพร้าวอ่อนใส่ไก่เป็นเมนูที่ใช้วัตถุดิบจากธรรมชาติที่หาได้ในท้องถิ่น ยอดมะพร้าวอ่อนเป็นส่วนที่อ่อนและกรอบของต้นมะพร้าว ซึ่งนิยมใช้ในการทำแกงและอาหารต่าง… Share this:FacebookXLike this:Like Loading...
Curry

แกงผักขี้หูดใส่หมูสามชั้น

20 นาที Cook
แกงผักขี้หูดใส่หมูสามชั้น เป็นเมนูอาหารพื้นบ้านที่นิยมในภาคเหนือ โดยเฉพาะในจังหวัดเชียงใหม่ ความพิเศษของเมนูนี้อยู่ที่การผสมผสานรสชาติจากผักขี้หูดและหมูสามชั้นที่มีความนุ่มละมุน ทำให้รสชาติกลมกล่อมและเต็มไปด้วยความอร่อย เหมาะสำหรับการรับประทานในมื้ออาหารของครอบครัว ประวัติความเป็นมา เมนู แกงผักขี้หูดใส่หมูสามชั้น เป็นอาหารที่สืบทอดมาจากคนในท้องถิ่นภาคเหนือ โดยผักขี้หูดและหมูสามชั้นถูกนำมาปรุงร่วมกันในเมนูแกงพื้นบ้าน เพื่อเพิ่มความเข้มข้นและความอร่อย การใช้หมูสามชั้นช่วยให้แกงมีความมันและรสชาติที่เข้ากันได้ดีกับผักขี้หูดที่มีกลิ่นหอมและมีคุณค่าทางโภชนาการ ผู้ให้ข้อมูล : นางศรีนวล เดือนแจ่ม, ตำบลเมืองคอง อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ Share this:FacebookXLike this:Like Loading...

Leave a Reply

×
Ethnic FoodsSweet snacks & dessertsอาหารกลุ่มชาติพันธุ์ไทลื้อ

ขนมดอกส้อ หรือเรียกว่า ขนมลิ้นหมา ขนมชาติพันธุ์ไทลื้อ

30 นาที Cook