Salads

ลาบควาย

1 ชั่วโมง Cook
Scroll to recipe
[youtube https://www.youtube.com/watch?v=Y1_OhDvadWc?feature=oembed&w=1140&h=641]

ลาบนั้นมีต้นกำเนิดมาจากมณฑลยูนนานทางใต้ของประเทศจีน โดยนิยมกินกันมากในอาณาจักรล้านนา ลาว และภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรืออีสาน ที่มาของคำว่าลาบนั้นในความหมายของคำกริยาซึ่งหมายถึงการสับให้ละเอียด ทำให้แตกละเอียด ลาบซึ่งพ้องเสียงกับคำว่าโชคลาภ,ลาภ ดังนั้นลาบหรือการกินลาบจึงเป็นอาหารที่นิยมทำกินกันในโอกาสพิเศษหรืองานเลี้ยงในเทศกาลต่างๆ เช่น งานแต่ง งานขึ้นบ้านใหม่สงกรานต์ หรืองานศพ เป็นต้น คนล้านนามีการทำลาบกินมานาน แต่ไม่ปรากฏบันทึกชัดเจนว่าเริ่มขึ้นเมื่อใด ซึ่งหากจะประเมินตามระยะเวลาที่เริ่มมีเครื่องเทศเข้ามาในภูมิภาคนี้ประเมินได้ประมาณ 300 กว่าปี (สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคเหนือ: 2542)

Share
ลาบควาย

ลาบควาย

pawarisa
ส่วนประกอบหลักของลาบคือ เนื้อสัตว์สด เช่น เนื้อหมู เนื้อวัว เนื้อควาย ซึ่งนำมาสับให้ละเอียดคลุกเคล้ากับเลือดสดและเครื่องในต้มหั่นซอย ปรุงด้วยเครื่องปรุงอันประกอบด้วยพริกแห้งผิงไฟให้เกรียมและเครื่องเทศต่างๆ เรียกเครื่องปรุงนี้ว่า น้ำพริกลาบ การกินลาบจะกินกับผักสดนานาชนิด โดยเฉพาะประเภทสมุนไพรที่มีกลิ่นหอมแรงและเรียกผักที่นำมากินกับลาบว่า ผักกับลาบ
prep time
1 ชั่วโมง
cooking time
1 ชั่วโมง
servings
4-5 คน
total time
2 โมง

Equipment

  • เขียงไม้

  • มีด

  • ทัพพี

  • กะละมัง

  • กระทะ

  • เตาไฟฟ้า

  • ชามผสม

  • ชาม

Ingredients

  • วัตถุดิบหลัก

  • เนื้อแดง 1 กิโลกรัม

  • เลือดดิบ 3 ช้อนโต๊ะ

  • เครื่องใน 200 กรัม

  • เครื่องปรุง

  • พริกลาบสำเร็จรูป

  • ผงชูรส

  • น้ำปลา

  • น้ำดีสำเร็จรูป

  • เครื่องเคียง

  • เทียนแกลบ (ยี่หร่า)

  • ผักแพม (ผักแปม ลิ้นงูเห่า)

  • ยอดลิ้นไม้ (ฝักเพกา เผา)

  • บ่าแคว้งขม (มะแว้ง)

  • บ่าแคว้งกุลวา (มะเขือพวง)

  • ผักคาวตอง (พลูแก พลูคาว ก้านทอง)

  • หอมด่วน (สะระแหน่)

  • ผักป้อม (ผักชี)

  • อัญชัน

  • กะหล่ำปลี

  • แตงกวา

  • ต้นหอม

  • ผักกาดขาว

  • ยอดมะกอก

  • ผักไผ่ (ผักแพว)

  • ถั่วฝักยาว

  • ยอดเล็บครุฑ

  • ยอดแค ดอกแค

  • มะเขือเปราะ

  • มะเขือส้ม (มะเขือเทศ)

  • กระถิน

  • ดีปลากั้ง

  • ผักฮ้วน

  • บะห่อย (มะระขี้นก)

  • ผักชีฝรั่ง

Instructions

1

การเตรียมชิ้นลาบ

นำเนื้อ เครื่องใน ล้างให้สะอาด สะเด็ดน้ำพักไว้ จากนั้นนำเนื้อมาสับให้ละเอียดและใส่เลือดก้อนลงไปสับพร้อมกับเนื้อ ส่วนเครื่องในต้มให้สุกแล้วน็อคด้วยน้ำแข็งแล้วค่อยนำมาหั่นซอย ซึ่งอาจหั่นเครื่องในดิบผสมกับลาบโดยตรงได้ และหากเนื้อค้างคืนมีกลิ่นอาจสับยอดฝรั่งลงไปช่วยดับกลิ่นด้วย
2

การเตรียมผัก

นำผักที่เตรียมไว้ ล้างให้สะอาด แล้วสะเด็ดน้ำพักไว้ ซอยพักไผ่(ผักแพว),สะระแหน่,ต้นหอมและผักชี พักไว้
3

การเตรียมน้ำเพรี้ย

นำขี้เพรี้ยตั้งไฟต้มในหม้อให้มีกลิ่นหอม เสร็จแล้วพักไว้รอให้เย็น
4

การปรุงลาบ

การปรุงลาบ เรียกว่า "ยำลาบ" หรือ "โสะลาบ" เป็นการผสมน้ำพริกลาบและชิ้นลาบที่เตรียมไว้ทุกอย่างมาคลุกเคล้าเข้าด้วยกัน โดยการนำเอาน้ำพริกลาบมาละลายในน้ำต้มเพรี้ยจนเข้ากันดี (น้ำต้มเพรี้ยใช้ในปริมาณเล็กน้อยถ้าใส่มาก ลาบจะแฉะ) แล้วนำเนื้อและเครื่องในลงไปคลุกเคล้าด้วยใช้ทัพพีคนโดยกดให้ส่วนผสมต่างๆ เข้ากันได้ดี ซึ่งบางคนอาจใช้มือขยำก็ได้ แล้วเติมเครื่องปรุงรส เช่น น้ำปลา ผงชูรส ให้มีรสตามที่ต้องการ สำหรับลาบวัวและลาบควายนิยมให้มีรสขม โดยการใช้น้ำเพรี้ยละลายน้ำพริกลาบและอาจเติมน้ำดีสำเร็จรูปลงไปด้วย ใส่ผักไผ่ (ผักแพว) สะระแหน่,ต้นหอมและผักชี ตามต้องการ ตักใส่ชามพร้อมเสิร์ฟ

Notes

ในปัจจุบันการแพทย์และสาธารณสุขสมัยใหม่ได้พิสูจน์แล้วว่า การบริโภคเนื้อนั้นอาจทำให้เกิดโรคที่ติดต่อจากสัตว์ได้ โดยเฉพาะโรคพยาธิ ดังนั้นจึงควรระวังโรคและความเจ็บป่วยที่อาจมากับการบริโภคลาบ อ้างอิงสูตรจาก การแข่งขันทำลาบโดยสำนักหอสมุด ในพิธีรดน้ำดำหัวผู้อาวุโสและบุคลากร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
1 posts

About author
Intern Student form Faculty of Humanities, Chiang Mai University
Articles
You may also like
Salads

ตำบะแคว้ง (มะเขือพวง)

20 นาที Cook
ตำบะแคว้ง หรือที่เรียกกันอีกชื่อหนึ่งว่า ตำมะเขือพวง เป็นอาหารพื้นบ้านของภาคเหนือที่ทำง่ายและมีประโยชน์ต่อร่างกาย มะเขือพวงมีรสชาติฝาดเล็กน้อยแต่เมื่อปรุงร่วมกับเครื่องแกงและสมุนไพรจะให้รสชาติกลมกล่อมและอร่อย เมนูนี้เป็นที่นิยมรับประทานในครอบครัว และเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการอาหารที่มีประโยชน์และอุดมไปด้วยวิตามินจากมะเขือพวง ประวัติความเป็นมา ตำบะแคว้ง เป็นอาหารพื้นบ้านที่ได้รับความนิยมในภาคเหนือ โดยใช้มะเขือพวงเป็นส่วนประกอบหลัก มะเขือพวงเป็นพืชที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพและหาได้ง่ายในพื้นที่ การนำมะเขือพวงมาต้มให้สุกแล้วโขลกรวมกับเครื่องแกงและสมุนไพรต่าง ๆ เป็นวิธีการที่ชาวบ้านใช้ในการเพิ่มรสชาติให้กับอาหาร ผู้ให้ข้อมูล : นายปาดู่ ปู่ปัน, ตำบลเมืองคอง… Share this:FacebookXLike this:Like Loading...
Salads

ส้าผักกาดน้อย

10 นาที Cook
ส้าผักกาดน้อย เป็นเมนูพื้นบ้านที่ได้รับความนิยมในภาคเหนือของประเทศไทย โดยเฉพาะในจังหวัดเชียงราย การนำผักกาดต้นอ่อนหรือผักกาดน้อยมาผสมกับเครื่องแกงและมะกอกเป็นวิธีการที่ชาวบ้านใช้ในการเพิ่มรสชาติและสารอาหาร ทำให้เมนูนี้มีรสเปรี้ยวหอมจากมะกอกและรสเข้มข้นจากเครื่องแกง นอกจากนี้ยังเป็นอาหารที่อุดมไปด้วยคุณค่าทางโภชนาการจากผักกาดน้อยและปลาต้มสุก ประวัติความเป็นมา ส้าผักกาดน้อย เป็นเมนูพื้นบ้านที่ชาวเหนือคุ้นเคยและนิยมรับประทานกันในครัวเรือน การใช้ผักกาดต้นอ่อนหรือผักกาดน้อยมาเป็นส่วนประกอบหลักนั้นสะท้อนถึงการใช้วัตถุดิบที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น การปรุงด้วยเครื่องแกงแบบภาคเหนือและมะกอกเพิ่มความเปรี้ยวธรรมชาติ ทำให้เมนูนี้เป็นเมนูที่สดชื่นและอร่อยในทุกมื้ออาหาร ผู้ให้ข้อมูล : หร่วน สร้อยแก้ว, ตำบลเวียงเหนือ อำเภอเวียงชัย จังหวัดเชียงราย Share this:FacebookXLike this:Like Loading...
Salads

หลู้หมู

2 ชั่วโมง Cook
หลู้หมู: รสชาติพื้นบ้านที่สืบทอดจากรุ่นสู่รุ่น หลู้หมู เป็นอาหารพื้นบ้านที่มีความเป็นมาที่ยาวนานในวัฒนธรรมของชาวเหนือ โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคเหนือตอนบนอย่างเชียงใหม่ หลู้หมูเป็นเมนูที่มีรสชาติเฉพาะตัว เนื่องจากมีการใช้วัตถุดิบสดอย่างเลือดหมูผสมเข้ากับเนื้อหมูและเครื่องในที่สุกพอประมาณ แล้วปรุงด้วยเครื่องเทศและสมุนไพรอย่างพริก กระเทียม และข่า หลู้หมูมักนิยมทำในโอกาสพิเศษ หรือเป็นอาหารสำคัญในเทศกาลต่าง ๆ ของ ท้องถิ่นประวัติความเป็นมา: หลู้หมูเป็นอาหารประเภทดิบสด นิยมใช้เลือดสดๆ ของหมูมาผสมกับเครื่องเทศและสมุนไพร เป็นเมนูพื้นบ้านที่มักจะพบในภาคเหนือของไทย โดยมีประเพณีการทำในช่วงเวลาพิเศษหรือเทศกาล… Share this:FacebookXLike this:Like Loading...

Leave a Reply