Mindblown: a blog about philosophy.
-
เทศบาลตำบลสันป่าเปา
ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล ประกาศ ณ วันที่ 16 ธันวาคม 2539 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้ลงนามในประกาศจัดตั้งสภาตำบล จำนวน 3,637 แห่ง เป็นองค์การบริหารส่วนตำบล ประจำปี 2540 และประกาศดังกล่าวได้ลงในราชกิจจานุเบกษาฉบับประกาศทั่วไปเล่ม 113 ตอนพิเศษ 52 ง ลงวันที่ 25 ธันวาคม 2539 โดยมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2540 องค์การบริหารส่วนตำบลสันป่าเปาจึงเริ่มดำเนินการตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมา ต่อมาได้ทำการ ปรับขนาดเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลขนาดกลางเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2549 และได้รับการจัดตั้งเป็นเทศบาลตำบลสันป่าเปา ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลสันป่าเปา อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ เป็นเทศบาลตำบลสันป่าเปา ณ วันที่ 27 ตุลาคม 2552 จำนวนประชากร 4,600 คน 2,332 ครัวเรือน พื้นที่รับผิดชอบ หมู่ที่ 1…
-
เทศบาลตำบลป่าไผ่
เทศบาลตำบลป่าไผ่ เมื่อประมาณ 250 ปีมาแล้ว ได้มีราษฎรจำนวนหนึ่งอพยพมาจากรับเชียงตุงทางตอนเหนือของพม่า และได้มาพบที่แห่งนี้มีทำเลที่เหมาะสมแก่การอยู่อาศัย พื้นที่เป็นที่ราบเชิงเขาและมีต้นไผ่ขึ้นอยู่มากมาย จึงได้ตั้งชื่อว่า “บ้านป่าไผ่” ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง จึงเปลี่ยนเป็น “ตำบลป่าไผ่” ในปี 2483 ตำบลป่าไผ่ถูกยุบไปรวมกับตำบลเมืองเล็น ในปี 2538 ตำบลป่าไผ่ได้ถูกจัดให้ปกครองในรูปแบบของสภาตำบล และในปีถัดมา ปี 2539 สภาตำบลป่าไผ่ ได้รับการยกฐานะให้เป็น องค์การบริหารส่วนตำบลป่าไผ่ จากนั้นเปลี่ยนเป็นเทศบาลตำบลป่าไผ่จนกระทั่งถึงปัจจุบัน จำนวนประชากรในเขต เทศบาล. 13,042 คน และจำนวนหลังคาเรือน 5,628 หลังคาเรือน ฐานข้อมูลล่าสุดประจำปี 2563 พื้นที่รับผิดชอบ หมู่ที่ 1 บ้านป่าไผ่ หมู่ที่ 2 บ้านห้วยแหน หมู่ที่ 3 บ้านป่าจี้ หมู่ที่ 4 บ้านหล่ายท่า หมู่ที่ 5 บ้านชีวิตใหม่ หมู่ที่ 6 บ้านดงสักงาม…
-
เทศบาลตำบลเจดีย์แม่ครัว
เทศบาลตำบลเจดีย์แม่ครัว ตำบลแม่แฝกใหม่ อำภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ มีพื้นที่ครอบคลุมการพัฒนาในตำบลแม่แฝกใหม่ทั้งตำบล ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของอำเภอสันทราย ระยะห่างจากที่ตั้งอำเภอสันทราย 18 กิโลเมตร ห่างจากศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่ประมาณ ๒5 กิโลเมตร หรืออยู่ประมาณ เส้นรุ้งที่ 18 57 – 19 02 เหนือ เส้นแวงที่ 98 58 99 02 ตะวันออก ตามถนนสายหลักทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1001 (เชียงใหม่-พร้าว) มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 36,722 ไร่ หรือประมาณ 58.75 ตารางกิโลเมตร พื้นที่ตำบลแม่แฝกใหม่ มีพื้นที่ป่า จำนวน 25,394 ไร่ ทางด้านทิศตะวันออกของตำบล โดยอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ (ป่าสันทราย) มีสันเขาเป็นแนวแบ่งเขตกับเทศบาลตำบลลวงเหนือ อำเภอดอยสะเก็ด มีป่าไม้ประเภท ป่าเต็งรัง ประกอบด้วย ไม้เต็ง ไม้รัง ไม้เหียง ไม้พลวง และไม้ชนิดอื่น ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 242 (พ.ศ.2510)…
-
เทศบาลตำบลหนองจ๊อม
ในอดีตที่ผ่านมา พระนางเจ้าจามเทวี เจ้าผู้ครองนครลำพูน ได้เสด็จมาสรงน้ำ ในสระแห่งหนึ่ง ในเขตตำบลหนองจ๊อม ปัจจุบัน เมื่อสรงน้ำเสร็จแล้วได้เสด็จกลับ พระนางได้ลืม จ๊อมปักผมไว้ที่สระสรงน้ำนั้น เมื่อเสด็จถึงหมู่บ้านแห่งหนึ่ง พระนางได้เหลียวมาดูหมู่บ้านแห่งนั้น ปัจจุบันได้ชื่อว่า บ้านนางเหลียว และสระที่พระนางฯ ลืมจ๊อมไว้จึงได้ชื่อว่า หนองจ๊อม ตามภาษาพื้นเมืองคำว่า “หนอง” หมายถึง “สระ” และ “จ๊อม”หมายถึง “ ปิ่น” เป็นชื่อ ตำบลหนองจ๊อม ในปัจจุบัน ตำบลหนองจ๊อม ได้รับการยกฐานะจากสภาตำบลหนองจ๊อม ขึ้นเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลหนองจ๊อม เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2538 โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 112 ตอนพิเศษ ลงวันที่ 3 มีนาคม 2538 หน้า 15 และปัจจุบันได้รับการยกฐานะจากองค์การบริหารส่วนตำบลหนองจ๊อม เป็นเทศบาลตำบลหนองจ๊อม เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2550 ได้แบ่งการปกครองภายในตำบลเป็น 8 หมู่บ้าน ประชากรทั้งหมด 8,307 คน พื้นที่รับผิดชอบ หมู่ที่ 1 บ้านฟ้ามุ่ย หมู่ที่ 2 บ้านนางเหลียว หมู่ที่ 3 บ้านโป่ง-สันป่าสัก หมู่ที่…
-
เทศบาลตำบลสันนาเม็ง
จากคำบอกเล่าขายตำนานของตำบลสันนาเม็ง โดยการบอกเล่าสืบต่อกันมาหลายชั่วอายุคน โดยปู่ย่าตายาย แต่ไม่ปรากฏหลักฐานเป็นลายลักษณ์อักษรว่าประชาชนในตำบอลสันนาเม็งสืบเชื่อสายมากจากชาวเม็ง ชาวมอญ ที่อพยพมาจากประเทศพม่าโดยการปลูกบ้านเรือนที่ทำจากไม้ยกพื้นสูงหลังคามุงด้วยหญ้าคา สมัยก่อนเมื่อถึงฤดูหนาวน้ำหลากประมาณเดือน 8 เดือน 9 น้ำจะท่วมพื้นที่ของตำบลและหมู่บ้านทุกปี ทำให้ชาวบ้านเดือดร้อนเพราะชาวบ้านประกอบอาชีพเกษตรกร คือการทำนา ทำไร่และเมื่อเกิดการเจ็บไข้ได้ป่วย หรือการเกิดโรคระบาดในชุมชน ก็จะไปหาหมอแผนโบราณในหมู่บ้านรักษาด้วยสมุนไพรจากรากไม้ รักษาด้วย หมอเป่า หมอเสก และรักษาทางไสยศาสตร์ เช่นการระบาดของโรคตาแดงใช้วิธีรักษาด้วยการเป่าแต่เมื่อเวลาผ่านไปความเจริญได้เข้ามาสู่ชุมชน เริ่มมีคนต่างถิ่นได้อพยพเข้ามาอาศัยในตำบอลสันนาเม็งเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ คนส่วนใหญ่ก็เป็นคนพื้นเมืองนับถือศาสนาพุทธ ทุกหลังคาเรือนมีความรักใคร่กันดี เนื่องจากเป็นญาติพี่น้องกันหมด มีความผูกพันกันอย่างใกล้ชิด อาศัยอยู่ด้วยกันอย่างมีความสุข มีการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ชุมชนตำบลสันนาเม็ง การศึกษาในสมัยก่อน ไม่นิยมส่งบุตรหลานเข้าเรียนหนังสือ ทำให้คนในชุมชนสมัยก่อนไม่รู้หนังสือเป็นส่วนมาก และการเดินทางไปมาหากันในสมัยนั้นต้องใช้การเดินเท้า จักรยานและล้อเกวียน เป็นหลัก จนกระทั่งความเจริญทางด้านวัตถุได้เข้ามาแทนที่ ทำให้การคมนาคมสะดวกมากขึ้นโดยมีถนนสายเชียงใหม่-ดอยสะเก็ต ผ่านตำบลสันนาเม็ง ทำให้แต่ละชุมชนเริ่มมีถนนหนทางเข้าหมู่บ้านทำให้การคมนาคมในชุมชนดียิ่งขึ้นการเดินทางสะดวกสบาย เปลี่ยนมาใช้รถจักรยานยนต์และรถยนต์เพิ่มมากขึ้น วิถีชีวิตของคนในชุมชนก็เริ่มเปลี่ยนไปเป็นสังคมกึ่งเมืองกึ่งชนบท เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2539 ได้รับการจัดตั้งตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 เป็นองค์การบริหารส่วนตำบลสันนาเม็ง อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ เป็นหน่วยบริหารราชการส่วนท้องถิ่นและมีฐานะเป็นนิติบุคคล ฐานะการคลังอยู่ในระดับชั้นขนาดกลาง ต่อมาได้ยกฐานะเป็นเทศบาลตำบลสันนาเม็งตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่…
-
เทศบาลตำบลสันพระเนตร
ตำบลสันพระเนตร ได้รับการประกาศจัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลสันพระเนตร ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2539 และประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 113 ตอนที่ 9 ง หน้า 43 ลงวันที่ 30 มกราคม 2539 และได้เปลี่ยนแปลงฐานะจากองค์การบริหารส่วนตำบลสันพระเนตร เป็นเทศบาลตำบลสันพระเนตร ตั้งแต่วันที่ 18 กรกฎาคม 2551 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 116 ตอนที่ 9 ก ลงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2542 เทศบาลตำบลสันพระเนตร ตั้งอยู่เลขที่ 999 หมู่ 3 ต.สันพระเนตร อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ อยู่ทางทิศใต้ของ อ.สันทราย มีระยะห่างจากที่ว่าการอำเภอสันทราย 7 กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ 7.56 ตร.กม. หรือ 4,410…
-
ศูนย์เรียนรู้วัฒนธรรมเกษตรล้านนา
ศูนย์เรียนรู้วัฒนธรรมเกษตรล้านนา ได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ.2555 ซึ่งมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้ให้ความสำคัญกับการทำการเกษตร จึงได้จัดตั้งศูนย์เรียนรู้ฯเพื่อเป็นฐานการเรียนรู้ที่ใช้ในการสืบสานวัฒนธรรมประเพณีของคนล้านนา เป็นสถานที่ฝึกอบรม สาธิตการทางการเกษตรแบบธรรมชาติและเกษตรอินทรีย์ การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านล้านนา การจำลองกลุ่มบ้านล้านนาและวิถีของคนล้านนา การจัดนิทรรศการการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านเกษตรล้านนา การไถนาโดยใช้ควาย วัฒนธรรมการปลูกข้าว การดูแลป้องกันศัตรูพืช การเก็บเกี่ยว การปลูกผักสวนครัวหลังบ้านและริมรั้วบ้าน การเลี้ยงสัตว์อินทรีย์ เช่น ไก่หลุม หมูหลุม เป็นต้น การน้อมนำแนวคิดเกษตรทฤษฎีใหม่และปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ต่างๆ ให้แก่ นักเรียน นักศึกษา เยาวชน เกษตรกร และผู้ที่สนใจในการเข้าศึกษาดูงาน สาธิตและฝึกอบรม และยังสนับสนุนการเรียนการสอน รายวิชา ผษ101 เกษตรชีวิต ให้กับนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ และการลงปฏิบัติงานฟาร์มของ นักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้ เครือข่ายพิพิธภัณฑ์ชุมชน : http://museum.mju.ac.th/index.php
-
พิพิธภัณฑ์วัฒนธรรมการเกษตรไทย
พิพิธภัณฑ์วัฒนธรรมการเกษตรไทยพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ได้รับการดูแลโดยกองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ข้อมูลเบื้องต้นของพิพิธภัณฑ์ ซึ่งตั้งอยู่ ณ อาคารพิพิธภัณฑ์วัฒนธรรมการเกษตรไทย ซึ่งแต่เดิมเป็นบ้านพักอาจารย์ใหญ่ ผู้อำนวยการ และอธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2488 ในสมัยอาจารย์พนม สมิตานนท์ เป็นผู้อำนวยการ ภายหลังที่ศาสตราจารย์ ดร.วิภาต บุญศรี วังซ้าย อธิการบดีคนแรกได้เกษียณอายุราชการในปี พ.ศ.2526 อธิการบดีคนต่อมาไม่ได้เข้าพักอาศัยเนื่องจากมีที่พักอยู่แล้ว บ้านหลังนี้จึงว่างเปล่าไร้ผู้อาศัย จวบจนปี พ.ศ.2542 สมาคมศิษย์เก่าแม่โจ้ และมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้จัดหาเงินทุนเข้าดำเนินการปรับปรุง โดยสมาคมศิษย์เก่าแม่โจ้และมหาวิทยาลัยแม่โจ้ มีความเห็นร่วมกันในการอนุรักษ์บ้านหลังนี้ไว้ตามที่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ได้ตรัสไว้กับอาจารย์วิภาต บุญศรี วังซ้าย โดยจัดตั้งเป็น พิพิธภัณฑ์วัฒนธรรมการเกษตรไทย รวบรวมและจัดแสดงข้อมูลและวัตถุสิ่งของอันเป็นประวัติศาสตร์ของมหาวิทยาลัยและ วัตถุสิ่งของด้านการเกษตร เครือข่ายพิพิธภัณฑ์ชุมชน : http://museum.mju.ac.th/index.php ภาพจาก : งานพิพิธภัณฑ์การเกษตรและวัฒนธรรมไทย กองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยแม่โจ้
-
วัดทุ่งข้าวตอก
ประวัติ วัดทุ่งข้าวตอก ตำบลหนองแหย่ง อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ เดิมวัดตั้งอยู่บริเวณห่างจากที่ตั้งวัดปัจจุบันไปทางทิศตะวันออกประมาณ 1 กม. ซึ่งได้ย้ายมาสร้าง ณ ที่ปัจจุบันสาเหตุที่ย้ายเพราะถูกน้ำท่วม วัดทุ่งข้าวตอกสร้างเมื่อประมาณ พ.ศ. 2418 โดยมีพระบุญปั๋นร่วมกับท้าวอาจหาญ ซึ่งเป็นผู้ใหญ่บ้าน และนายมา ชมดอก ไวยารัชกร เป็นผู้ริเริ่มก่อสร้าง สาเหตุที่ได้ชื่อว่าเป็นวัดทุ่งข้าวตอก และบ้านทุ่งข้าวตอก มีตำนานเล่าว่าได้มีนายพรานคนหนึ่งต้องการที่จะจับนกยูงทอง ซึ่งเป็นพระโพธิสัตว์ ที่มาอาศัยอยู่บนยอดดอย (ดอยพระบาทตีนนก) จึงได้เดินทางมาหมู่บ้านแห่งนี้เพื่อหาซื้อข้าวเปลือก นำไปคั่วไฟให้เป็นข้าวตอกไปล่อ เพื่อดักจับนกยูงทองตัวนี้ ดังนั้นหมู่บ้านจึงเรียกว่า บ้านทุ่งข้าวตอก และวัดทุ่งข้าวตอก จนตราบเท่าทุกวันนี้ ปัจจุบัน วัดทุ่งข้าวตอก ตั้งอยู่เลขที่ 20 ม. 4 ตำบลหนองแหย่ง อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินวัดมีเนื้อที่ 3 ไร่ 2 งาน 44 ตารางวา ซึ่งต่อมาทางวัดได้ซื้อเพิ่มอีกจำนวน 1 ไร่ 3 งาน…
-
วัดหัวฝาย
ประวัติ วัดหัวฝาย ตําบลเมืองเล็น อําเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2097 โดยครูบาสมเด็จ ธุดงค์จากเชียงตุงเป็นผู้ริเริ่มสร้างวัดขึ้น ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2516 ต่อมาวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 พระอธิการเฉลิม ฐิตสาโร ได้รับแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งเจ้าอาวาสวัดหัวฝาย ได้ร่วมกับคณะศรัทธาผู้ใจบุญ สร้างศาลาบาตรหลังใหม่ และได้อัญเชิญพระพุทธรูปจําลอง หลวงพ่อโสธร จากจังหวัดฉะเชิงเทรา โดยมี คุณณัฐพล ศรีเตชิศรานนท์ เป็นผู้ประสานกับหลานชายคือ คุณสันติชัย พานิชย์วัฒนานนท์ เป็นผู้บริจาคเงินสร้างพระพุทธรูปจําลองหลวงพ่อพุทธโสธรพร้อมแท่นแก้วประดิษฐาน ณ ศาลาบาตรหลังใหม่ ต่อมาได้ซื้อศาลาบาตรหลังเก่า ซึ่งขวางหน้ากุฏิสงฆ์ ทําให้สถานที่คับแคบและสร้างศาลาบาตรหลังใหม่เพิ่มอีกหลังหนึ่งพร้อมห้องเก็บของอีก 1 หลังและทางวัดมีความประสงค์จะขขายบริเวณเนื้อที่วัดให้กว้างขวางขึ้น จึงบอกบุญสาธุชนเชิญชวนร่วมบริจาค ซื้อที่นาหน้าวัดเพิ่มอีก 2 ไร่ 3 งาน 57 ตารางวา พร้อมทั้งถมดินปรับพื้นที่ โดยใช้งบประมาณ 1,550,000 บาท …
Got any book recommendations?