ศิษย์เก่าแม่โจ้
-
ชีวิตนักเรียน ครูกสิกรรมแม่โจ้
ช. มณีมาโรจน์ การสถาปนา ชีวิตให้รุ่งโรจน์ โชติช่วง นั้นต้องอาศัยวิริยภาพและปัญญาอันหลักแหลม ประหนึ่ง เป็นประทีปดวงใหญ่ที่คอยให้ความสว่าง ขจัด ความมืดมนอนธการทั้งมวลให้ปลาตสิ้นศูนย์ ธรรมชาติได้ เสกสรรค์มาตั้งแต่ดั้งเดิมแล้ว สมองและพละกําลัง เป็นสิ่งจําเป็น แก่นักเรียน ครูกสิกรรมอย่างที่สุด จะให้ลด หย่อน ทางใดทางหนึ่งย่อมไม่ได้ งานศิลปที่ทําเป็นหลักปฏิบัติหลังจากที่เราได้ ศึกษาความลึกลับมหัศจรรย์ของ พฤกษชาติแล้ว ศิลปบางชนิดเราต้องใช้ความอุตสาหะพากเพียรของเรารวม หน่วยเพื่อให้บรรลุ ความสําเร็จเป็นประโยชน์แก่สถานศึกษาของเรา นักเรียนที่ปราศจากวิริยภาพในงานศิลป์ จะแข็งแกร่งทรหด อยู่ในโรงเรียนของเราไม่ได้ เพราะขาดกําลังจิตใจ […]
-
กว่าจะมาเป็นลูกแม่โจ้
เป็นเรื่องเล่าจากคุณธนานนท์ ทั่วประโคน ซึ่งท่านเป็นศิษย์เก่าแม่โจ้ รุ่น 38 โดยเริ่มเล่าเรื่องตั้งแต่ก่อนมาเรียนที่วิทยาลัยเกษตรกรรมเชียงใหม่ (มหาวิทยาลัยแม่โจ้ในปัจจุบัน) ซึ่งก่อนมาเรียนท่านได้ไปทำงานศูนย์สงเคราะห์ชาวเขา โครงการหลวงหลายแห่ง และได้มีโอกาสไปทำงานร่วมกับอาจารย์ที่สอนที่วิทยาลัยเกษตรกรรมเชียงใหม่ (มหาวิทยาลัยแม่โจ้ในปัจจุบัน) จึงชักชวนให้มาเรียน และมาเป็นลูกแม่โจ้ ในปี 2516 OH-EP1-เรื่องเล่าจากศิษย์เก่า ตอนกว่าจะมาเป็นลูกแม่โจ้ โดยคุณธนานนท์ ทั่วประโคน ตอนที่ 1 OH-EP2-เรื่องเล่าจากศิษย์เก่า ตอนกว่าจะมาเป็นลูกแม่โจ้ โดยคุณธนานนท์ ทั่วประโคน ตอนที่ 2 OH-EP3-เรื่องเล่าจากศิษย์เก่า […]
-
ชีวิตรุ่น 33
ณ. ที่นี้ขอกล่าวย้อนหลังไปอีก 3 ปี ปีที่ทุกคนไม่อาจลืมได้จนชั่วชีวิต ความหวังก่อนหน้านั้น ทุกคนมาศึกษาแม่โจ้เพื่อเป็นบันไดต่อชีวิตให้กับอนาคตและชีวิตของตัวเอง สิ่งที่ทุกคนหลีกเลี่ยงไปไม่ได้ก็คือ “การใช้ชีวิตร่วมแห่งสถาบันเดียวกัน” ครั้งแรกจะไม่มีใครคิดเฉลี่ยวใจเลยว่าการดำเนินชีวิตในแม่โจ้นั้น มันมีความเข้มข้นเพียงใดและเกี่ยวโยงกับอนาคตกาลข้างหน้าของเรา ๆ อย่างไร? ทั้งนี้เพราะว่าทุกคนมัวหลงระเริงอยู่กับคำสรรเสริญเยินยอที่ได้รับจากรุ่นพี่ก็อาจเป็นได้ โดยไม่มีใครล่วงรู้เลยนั่นเป็นชีวิตอีกแง่หนึ่งใน จํานวนหลาย ๆ แบบ ในแม่โจ้ซึ่งผู้ที่เคยเหยียบผืนดินแห่งนี้มาก่อนได้ช่วยกันขนานนามให้เสียอย่างโก้หรูว่า “ประเทศแม่โจ้” หลังจากวันที่ 7 มิถุนายน ไปแล้วนั่นแหละทุกคนจึงรู้ว่า ตนเองได้ตกอยู่ภายใต้ขอบเขต – กฎของธรรมนูญอีกฉบับหนึ่ง นับเป็นครั้งที่ 33 ลูก […]
-
จําใจจาก
เสียงที่เราได้ยินซึ่งเสียงนั้นเป็นเสียงที่เกิดจากการตี บัวรดน้ำ จอบ ดังประสานมา กับเสียงตะโกนว่าไฟไหม้ ไฟไหม้ดอย ดังมาจากทุก ๆ หอพักในปลายฤดูหนาวของทุก ๆ ปี และเป็นปีที่สามในแม่โจ้ที่พวกเราได้ยินกัน นั่นเป็นสัญญานให้รู้ว่าไฟไหม้ป่าแดงอร่ามอยู่บนดอยที่ล้อมรอบแม่โจ้ทั้งใกล้และไกล ยิ่งกว่านั้นดอกแคฝรั่ง ภายในแม่โจ้ก็เริ่มออกดอกบานสะพรั่ง ดอกขาวแถบม่วงเป็นพวงระย้าติดอยู่กับกิ่งไร้ใบ คูชั่งสวยสดเสียเหลือเกิน พวกเราเรียกกันเรียกดอกซากุระเสียโก้หรู เมื่อถึงฤดูกาลนี้พวกเราจะดีใจจริง ๆ ที่จะได้กลับบ้านอีกแล้วและอะไรต่อมิอะไรมากมายนั่นเป็นเพราะความสุขใจ และดีใจระคนกัน ในระยะนั้นภายในหอแต่ละหอกําลังมีทั้งทองตำราทั้งนอนและนั่งอยู่อย่างเคร่งเครียดเพื่อเตรียมตัวสอบ เราจะสังเกตได้ง่าย ๆ คือจะเงียบผิดปกติมองดูหน้าแต่ละคน จะบอกให้รู้ว่า กําลังใช้ความคิดความจําและคล้ายกับว่าสลดใจอย่างไรพิกล คงจะเป็นเพราะ พวกเรากําลังจะจากแม่ […]
-
ในอ้อมอกแม่ (โจ้)
อ้อมอกแม่ (โจ้) แม้จะนานนับสิบปีเหมือนกับเพิ่งจากอกแม่เมื่อวานนี้เอง ฝนมืดมัว ของเดือนพฤษภาคมพร้อมกับความเงียบเหงาคอยเราอยู่ที่ชนบทอัน เปล่าเปลี่ยวแวดล้อมไปด้วยทุ่งนา ป่าแดง ป่าตึง และภูเขาสีครามที่ล้อมรอบอยู่ไกล ๆ ของอำเภอสันทราย เชียงใหม่ วันนั้น ก้าวแรกของเราที่แม่โจ้ จึงมีทั้งความประหวั่นพรั่นพรึงและความแปลกใหม่ในการที่มาอยู่ที่อื่นที่ไม่ใช่บ้าน ตลอดจนมีความว้าเหว่ใจ เมื่ออยู่ไป งานหนักเหน็ดเหนื่อย อาหารรสชาติไม่เป็นท่า แต่หมดรวดเร็วในชั่วพริบตา การเรียนเต็มเหยียด มีวิชาใหม่ ๆ ที่เริ่มต้นเรียนเป็นส่วนมาก การจัดระบบความเป็นอยู่ให้รู้จักความเป็นพี่น้อง รู้จักใจกว้าง เสียสละ ไม่เห็นแก่ตัว รู้จักกาละเทศะ […]
-
อาจารย์ใหญ่คุณพระช่วงเกษตรศิลปการ
อาจารย์ใหญ่คุณพระช่วงเกษตรศิลปการ โดย นายธีระ นาคะธีรานนท์ อาจารย์ใหญ่หรืออาจารย์พระช่วงเกษตรศิลปการ เป็นเสมือนบิดาหรือผู้บุกเบิก “แม่โจ้” ในตําแหน่งราชการท่านคืออาจารย์ใหญ่ ร.ร. ฝึกหัดครูประถมกสิกรรมภาคเหนือ และร.ร.มัธยมวิสามัญเกษตรกรรมแม่โจ้จังหวัดเชียงใหม่ สําหรับโรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรมเริ่มตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2477 เป็นรุ่นที่ 1 โรงเรียนมัธยมวิสามัญเกษตรกรรม เริ่มตั้งแต่เมื่อปี พ.ศ. 2478 เป็นรุ่นที่ 1 ผู้เขียนจบจากโรงเรียนฝึกหัดครู รุ่นที่ 3 พ.ศ. 2479-2480 โดยเป็นนักเรียนในนามของจังหวัดนครสวรรค์เป็นผู้คัดเลือกส่งไป การเดินทางจากจังหวัดนครสวรรค์ไปจังหวัดเชียงใหม่ในสมัยนั้นถือว่าเป็นระยะทางที่แสนไกล […]