แม่โจ้

  • ผู้คุมกฎประเพณี ผู้คุมกฎหอพัก คำเรียกนายร้อย

    ผู้คุมกฎประเพณี ผู้คุมกฎหอพัก คำเรียกนายร้อย

    by

    |

    in

    Maejo University Oral History เรื่องราวเหตุการณ์ ประสบการณ์ คำบอกเล่า จากศิษย์เก่าแม่โจ้ เพื่อการเติมเต็มประวัติศาสตร์ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้่ Oral History September 23, 2024 Click to share on Facebook (Opens in new window) Click to share on X (Opens in […]

  • ประติมากรรมเขาควาย

    ประติมากรรมเขาควาย

    by

    |

    in

      เมื่อโรงเรียนเกษตรกรรมแม่โจ้ ได้รับการยกฐานะเป็น วิทยาลัยเกษตรกรรมเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2499 เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก แม่โจ้เวลานั้น เข้าสู่ยุคการพัฒนาอย่างรวดเร็ว เป็นสถานศึกษาเกษตรแห่งเดียวที่เปิดหลักสูตรการเรียนการสอนในระดับอุดมศึกษารวม 5 ปี (เพิ่มหลักสูตรใหม่ ประกาศนียบัตร ประโยคครูมัธยมเกษตรกรรม: ป.ม.ก. อีก 6 ปี) นักศึกษาที่จบ ป.ม.ก. จากแม่โจ้ออกไปนั้น ภายหลังได้ดำรงตำแหน่ง อาจารย์ใหญ่ และผู้อำนวยการสถานศึกษาเกษตรของกรมอาชีวศึกษาเกือบทั่วประเทศ ส่วนที่แม่โจ้ หลักสูตร ป.ม.ก. […]

  • ประเพณีขึ้นดอยปุย

    ประเพณีขึ้นดอยปุย

    by

    |

    in

    ประเพณีขึ้นดอยปุย เป็นประเพณีที่รุ่นพี่แม่โจ้ได้ปฏิบัติมาตั้งแต่อดีต เพราะก่อนที่จะจากอ้อมอกของ “แม่โจ้” พวกเราต้องจากไปอย่าง “ลูกชายของแม่โจ้” ที่แท้จริง สัมผัสประสบการณ์ขึ้นดอยปุยที่มีมาอย่างยาวนาน บางส่วนบางตอนจากหนังสือ “อนุสรณ์แม่โจ้ รุ่น 21″ เขียนโดย คุณอุทัย สอนหลักทรัพย์ แม่โจ้รุ่น 21 ความว่า…         การศึกษาปีสุดท้ายทุกสมัยที่ผ่านมา ก่อนที่ทุกคนจะต้องจากแม่โจ้ไปดำเนินชีวิต ที่พวกเรา จะต้องไปเพื่อการต่อสู้กับเหตุการณ์ของโลกอันไพศาล ข่าวที่นำความซาบซึ้งมาถึง พวกเราที่ได้รับทราบเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2500 นั้นคือ […]

  • จําใจจาก

    จําใจจาก

    by

    |

    in

    เสียงที่เราได้ยินซึ่งเสียงนั้นเป็นเสียงที่เกิดจากการตี บัวรดน้ำ จอบ ดังประสานมา กับเสียงตะโกนว่าไฟไหม้ ไฟไหม้ดอย ดังมาจากทุก ๆ หอพักในปลายฤดูหนาวของทุก ๆ ปี และเป็นปีที่สามในแม่โจ้ที่พวกเราได้ยินกัน นั่นเป็นสัญญานให้รู้ว่าไฟไหม้ป่าแดงอร่ามอยู่บนดอยที่ล้อมรอบแม่โจ้ทั้งใกล้และไกล ยิ่งกว่านั้นดอกแคฝรั่ง ภายในแม่โจ้ก็เริ่มออกดอกบานสะพรั่ง ดอกขาวแถบม่วงเป็นพวงระย้าติดอยู่กับกิ่งไร้ใบ คูชั่งสวยสดเสียเหลือเกิน พวกเราเรียกกันเรียกดอกซากุระเสียโก้หรู เมื่อถึงฤดูกาลนี้พวกเราจะดีใจจริง ๆ ที่จะได้กลับบ้านอีกแล้วและอะไรต่อมิอะไรมากมายนั่นเป็นเพราะความสุขใจ และดีใจระคนกัน ในระยะนั้นภายในหอแต่ละหอกําลังมีทั้งทองตำราทั้งนอนและนั่งอยู่อย่างเคร่งเครียดเพื่อเตรียมตัวสอบ เราจะสังเกตได้ง่าย ๆ คือจะเงียบผิดปกติมองดูหน้าแต่ละคน จะบอกให้รู้ว่า กําลังใช้ความคิดความจําและคล้ายกับว่าสลดใจอย่างไรพิกล คงจะเป็นเพราะ พวกเรากําลังจะจากแม่ […]

  • อำมาตย์โท พระช่วงเกษตรศิลปการ “บิดาเกษตรแม่โจ้”

    อำมาตย์โท พระช่วงเกษตรศิลปการ “บิดาเกษตรแม่โจ้”

    by

    |

    in

    อำมาตย์โท พระช่วงเกษตรศิลปะการ(ช่วง โลจายะ) ขอเทิคพระคุณและบูชาบูรพาจารย์ อำมาตย์โท พระช่วงเกษตรศิลปะการ(ช่วงโลจายะ) “บิดาเกษตรแม่โจ้” ผู้บุกเบิกงานหนักเพื่อสร้างแม่โจ้ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ทางการเกษตรของประเทศไทย เกิดเมื่อวันที่ ๒๐ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๔๔๒  ปีกุน รัตนโกสินทร์ศก ๑๑๘ ณ บ้านแข่ ตำบลพระประแดง อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ เป็นบุตรคนเล็กในจำนวนพี่น้องสองคนของร้อยเอก หลวงศรีแผ้ว ร.น. (ขาว โลจายะ)กับนางทองหยด โลจายะ   การศึกษาขั้นต้นที่โรงเรียนวัดทรงธรรม อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการและระดับมัธยมศึกษาที่โรงเรียนมัธยมวัดสุทัศน์ […]

  • “ความรู้สึกของข้าพเจ้าต่อสถาบันแม่โจ้”

    “ความรู้สึกของข้าพเจ้าต่อสถาบันแม่โจ้”

    by

    |

    in

    “ความรู้สึกของข้าพเจ้าต่อสถาบันแม่โจ้” โดย นายอนันต์ โกเมศ ข้าพเจ้าคิดว่ามีคนจํานวนไม่น้อยที่รู้จักและคุ้นเคยกับคําว่า “แม่โจ้” ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาทางการเกษตรที่เก่าแก่สถาบันหนึ่งของประเทศไทย ที่ได้ผลิตนักศึกษาหรือบุคคลากรด้านเกษตรออกไปประกอบอาชีพในสถาบันต่าง ๆ รวมทั้งในภาคเอกชนด้วยเป็นจํานวนมาก ข้าพเจ้าก็เป็นบุคคลหนึ่งที่ได้ผ่านการศึกษาจากสถาบันนี้ ซึ่งในขณะนั้น “แม่โจ้” มีฐานะเป็น โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีหลักสูตร 2 ปี เมื่อสําเร็จแล้วบางท่านก็ออกไปประกอบอาชีพรับราชการตามกรมต่าง ๆ และประกอบอาชีพส่วนตัวก็มีมาก และที่เข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ก็มีเป็นบางส่วน และมีส่วนน้อยที่ได้เข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยอื่น เช่น มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ถึงแม้ว่าจะแยกย้ายกันไปหลังจากสําเร็จการศึกษาแล้วก็ตาม แต่ความผูกพันต่อสถาบันแม่โจ้ ต่อเพื่อนร่วมชั้นและร่วมสถาบันยังคงมีอยู่อย่างแน่นแฟ้นและมิได้เลือนลางไปจากจิตใจของทุกคน ถ้าจะพูดถึงสปิริตแล้วลูกแม่โจ้ทุกคนมีสปิริตสูง […]

  • ชีวิตสองปีในแม่โจ้

    ชีวิตสองปีในแม่โจ้

    by

    |

    in

    ชีวิตสองปีในแม่โจ้ โดย บุญช่วย เลี้ยงสกุล           การศึกษาทำให้นิสัยของมนุษย์งามน่าชม หลายคนที่พูดว่าการ กสิกรรมไม่ต้องศึกษาก็ทําได้ แน่นอน ใคร ๆ ก็ทำการกสิกรรมได้ แต่ผู้ที่มีการศึกษาสูงจึงจะทราบได้ว่า การศึกษากสิกรรมดีอย่างไร ผู้ที่ไม่ได้ศึกษาคงทราบไม่ได้ว่า วิชากสิกรรมมีหลักอย่างไรบ้าง สําหรับผู้ที่ได้เรียนได้รู้คงทราบว่า วิชากสิกรรมเป็นวิชาที่ยาก ไม่ใช่เรียนจากการพูดหรือตำหรับตำราเท่านั้น ต้องอาศัยความชำนาญทางปฏิบัติเป็นส่วนมาก จึงจะยังผลให้สําเร็จได้ ผู้ใดที่ไม่นึกเช่นนี้ ก็เท่ากับไม่ได้เรียนหลักกสิกรรม กสิกรรมเป็นการกระทำที่ยากลําบาก กสิกรต้องศึกษาและปฏิบัติงานด้วยความสามารถ ทั้งต้องเป็นผู้อดทน และ ขยันขันแข็ง จึงจะทราบผลว่าการกสิกรรมเป็นอย่างไร พวกเราได้อุทิศร่างกายและใจบากบั่นมาเป็นกสิกรก็ด้วยเหตุผลที่กล่าวนั้น […]

  • อาจารย์ใหญ่คุณพระช่วงเกษตรศิลปการ

    อาจารย์ใหญ่คุณพระช่วงเกษตรศิลปการ

    by

    |

    in

    อาจารย์ใหญ่คุณพระช่วงเกษตรศิลปการ โดย นายธีระ นาคะธีรานนท์   อาจารย์ใหญ่หรืออาจารย์พระช่วงเกษตรศิลปการ เป็นเสมือนบิดาหรือผู้บุกเบิก “แม่โจ้” ในตําแหน่งราชการท่านคืออาจารย์ใหญ่ ร.ร. ฝึกหัดครูประถมกสิกรรมภาคเหนือ และร.ร.มัธยมวิสามัญเกษตรกรรมแม่โจ้จังหวัดเชียงใหม่ สําหรับโรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรมเริ่มตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2477 เป็นรุ่นที่ 1 โรงเรียนมัธยมวิสามัญเกษตรกรรม เริ่มตั้งแต่เมื่อปี พ.ศ. 2478 เป็นรุ่นที่ 1 ผู้เขียนจบจากโรงเรียนฝึกหัดครู รุ่นที่ 3 พ.ศ. 2479-2480 โดยเป็นนักเรียนในนามของจังหวัดนครสวรรค์เป็นผู้คัดเลือกส่งไป การเดินทางจากจังหวัดนครสวรรค์ไปจังหวัดเชียงใหม่ในสมัยนั้นถือว่าเป็นระยะทางที่แสนไกล […]

  • เยาว์วัยในแม่โจ้

    เยาว์วัยในแม่โจ้

    by

    |

    in

    เยาว์วัยในแม่โจ้ โดย ชื่นสุข โลจายะ จําได้ว่าขณะที่อยู่กับคุณพ่อที่แม่โจ้นั้น ดิฉันเพิ่งอายุแค่ 4 ขวบ อยู่ที่นั่นจนกระทั่ง อายุ 6 ขวบ จึงกลับมาอยู่กรุงเทพฯ เราเริ่มต้นที่แม่โจ้ด้วยการอยู่ในบ้านกระต๊อบหลังคามุงด้วยใบตองตึง (ใบพลวง) ใบตองตึงเป็นใบไม้ใหญ่ รูปไข่คล้ายใบหูกวาง เอามาเย็บติดต่อกันเป็นตับๆ คล้ายตับจาก เวลาจะเดินทางจากบ้านแม่โจ้เข้าเมืองเชียงใหม่ บางครั้งไม่มีเกวียนจะนั่งก็ต้องเดิน เอาใบตองตึงมาปิดศีรษะกันแดด ตอนขากลับเข้าแม่โจ้เวลากลางคืน คุณพ่อเอาปืนมาวางบนตัก เกรงจะมีอันตรายกลางทาง เพราะเป็นการเดินทางในป่าที่แสนมืด ช่างน่ากลัวเสียจริง ๆ เด็ก ๆ […]

  • แม่โจ้ให้อะไรบ้าง

    แม่โจ้ให้อะไรบ้าง

    by

    |

    in

    แม่โจ้ให้อะไรบ้าง โดย ถมยา บุนยเกตุ   ราวต้นเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2478 ซึ่งเป็นเวลาปิดเทอมปลาย และกําลังใกล้จะเปิดเทอมปีการศึกษาต่อไป คุณพ่อข้าพเจ้าเรียกตัวให้ไปพบแล้วก็บอกว่า “พ่อจะส่งลูกไปเรียน วิชาการเพาะปลูกที่แม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่” ข้าพเจ้าไม่มีทางที่จะปฏิเสธได้นอกจากกล่าวคําว่า “ครับ” อย่างเดียว ถ้าจะนับว่าข้าพเจ้าเป็นลูกแม่โจ้ก็นับได้ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา สาเหตุที่ข้าพเจ้าถูกส่งไปเรียนวิชาเกษตร ข้าพเจ้ามั่นใจเหลือเกินว่าคุณพ่อและพี่ชายข้าพเจ้าปรึกษากันดีแล้ว เพราะขณะนั้นพี่ชายข้าพเจ้าได้รับราชการอยู่กรมเกษตรและได้เรียนสําเร็จวิชาการเกษตรมาจากต่างประเทศ ประกอบกับคุณพ่อของข้าพเจ้ามีสวนผลไม้ เช่น ทุเรียน เงาะ มะม่วง ชมพู่ ฝรั่ง หมาก กล้วย […]

  • ครั้งหนึ่งในแม่โจ้

    ครั้งหนึ่งในแม่โจ้

    by

    |

    in

    ครั้งหนึ่งในแม่โจ้ โดย คุณหญิงช่วงเกษตรศิลปการ     เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2476 ต้น ๆ เดือน เดินทางไปเชียงใหม่ทั้งครอบครัว การเดินทางไปครั้งนี้ เนื่องจากคุณพระช่วงต้องย้ายไปรับราชการที่นั่นในตําแหน่งหัวหน้าสถานีทดลองกสิกรรมกลางดงกลางป่า ที่ห้วยแม่โจ้ อําเภอสันทราย เวลานั้นเพิ่งเริ่มสร้างสถานี ไม่มีอาคารบ้านเรือนพอจะอาศัยได้ ต้องปลูกกระต๊อบหลังคาใบตองตึง ฝาตองตึงอยู่ แต่เรือนที่สร้างด้วยใบไม้นี้หน้าร้อนอยู่สบายที่สุด (ตัวดิฉันเองเวลานี้ก็อยากอยู่บ้านเล็ก ๆ หลังคาจากฝาจาก แต่เทศบาลไม่อนุญาตให้ปลูกในเขต) ผู้ที่ทํางานเริ่มที่สถานีทดลองทุกคนอยู่กระต๊อบทั้งนั้น ตอนแรกครอบครัวต้องเช่าบ้านอยู่ในเวียงก่อน พอปลูกกระต๊อบเสร็จก็ย้ายไปแม่โจ้ เพราะ  คุณพระช่วงเสียดายเงินค่าเช่าบ้าน […]

  • แม่โจ้ในความทรงจำของข้าพเจ้า

    แม่โจ้ในความทรงจำของข้าพเจ้า

    by

    |

    in

    แม่โจ้ในความทรงจำของข้าพเจ้า ประเทือง ประทีปะเสน ข้าพเจ้าเผอิญได้มีโอกาสได้เข้าไปอยู่ในแม่โจ้ เมื่อต้นปี พ.ศ. 2482 เริ่มเข้าไปอยู่ในฐานะผู้ช่วยหัวหน้าสถานีทดลองภาค 5 แทนคุณยอด (George) คมสัน ก่อนที่จะเดินทางไป ก็ได้รับคําบอกเล่าที่สับลนทั้งทางดีและทางร้าย โดยที่ยังอยู่ในวัยหนุ่ม คําบอกเล่าในทางดีก็มีในแง่ว่าได้ไปอยู่ในเมืองคนงาม มีแต่ความสงบเรียบร้อย สนุกสนาน ในแง่ร้ายก็คือ ไปอยู่แม่โจ้ก็เหมือนถูกเนรเทศ ในโรงเรียน (เตรียมวิทยาลัยเกษตรศาสตร์) มีแต่เด็กนักเลงเกเร โรงเรียนก็อยู่ห่างจากตัวเมืองตั้ง 17 กิโลเมตร ถนนติดต่อจากตัวเมืองก็ขรุขระ มีแต่ฝุ่นในฤดูแล้ง และมีแต่โคลนในฤดูฝน บริเวณสถานีทดลองและโรงเรียนก็เป็นที่ๆ […]