January 25, 2021

  • ฐานข้อมูลพรรณไม้และพืชผักท้องถิ่นของภาคเหนือตอนบน ภายในมหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ

    ฐานข้อมูลพรรณไม้และพืชผักท้องถิ่นของภาคเหนือตอนบน ภายในมหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ

    เกี่ยวกับโครงการ      ประเทศไทย มีความหลากหลายด้านพันธุ์พืช ประมาณ 15,000 ชนิด มีข้อมูลการศึกษาทบทวนพันธุ์ไม้เพียงประมาณ 4,000 ชนิด นับว่ามีข้อมูลทางชีววิทยา และนิเวศวิทยาของแต่ละชนิดน้อยมาก อีกทั้งภูมิปัญญาการใช้ประโยชน์จากพืชนับวันที่จะสูญหายตามวัฒนธรรมที่มีการเปลี่ยนแหลงของโลกปัจจุบัน โดยเฉพาะพันธุกรรมพืชดั้งเดิมซึ่งมีความแข็งแรง ทนต่อโรคและศัตรูพืชการจัดตั้งศูนย์พรรณไม้และพืชผักพื้นถิ่นจังหวัดแพร่ และภาคเหนือตอนบน จึงเป็นแนวทางที่จะช่วยสนับสนุน ส่งเสริมและพัฒนาระบบเกษตรอินทรีย์ โดยให้เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ ถ่ายทอดข้อมูล แลกเปลี่ยนและสนับสนุนพันธุ์ไม้แก่เยาวชน ประชาชนและผู้ที่สนใจ เพื่อให้ประชาชน เยาวชนเกิดความรักความเข้าใจในธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมที่หลากหลายของการบริโภคผักพื้นถิ่นที่สั่งสม จากบรรพบุรุษมานานที่ทำให้เกิดความปลอดภัยต่อสุขภาพและการตระหนักถึงคุณค่าของส่งแวดล้อม และเพื่อกระตุ้นให้ประชาชนได้เห็นความสำคัญของผักพื้นถิ่น นำไปสู่การวางแผนอย่างรอบครอบ ยกระดับพัฒนาผลิตภัณฑ์ ต่อยอดองค์ความรู้บนฐานทรัพยากรในท้องถิ่นนำมาใช้ให้มีประโยชน์สูงสุดและนำไปสู้ความยั่งยืนต่อไป ทีมงาน อาจารย์ ดร.มลฑล นอแสงศรี ผู้รับผิดชอบศูนย์การเรียนรู้ นายจิรัฎฐ์ พะวัน ผู้จัดทำโครงการ นางสาวมิรันดา จึงวานิช ผู้จัดทำโครงการ อาจารย์ ดร.วัชรี เลขะวิพัฒน์ อาจารย์ผู้ปรึกษาโครงการ หน่วยงานรับผิดชอบ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ   เข้าสู่ฐานข้อมูล    

  • ฐานเรียนรู้ ความงดงามแห่งพืชผัก

    ฐานเรียนรู้ ความงดงามแห่งพืชผัก

    เมื่อเอ่ยถึงพืชผักคนส่วนใหญ่มักจะเห็นประโยชน์ในด้านการเป็นพืชอาหาร โดยเฉพาะอาหารคาว ซึ่งในความเป็นจริงคุณค่าที่งดงามของความเป็นพืชผักมีความหมายที่กว้างขวางยิ่งนัก ในงานเปิดฟาร์มมหาวิทยาลัยแม่โจ้ครั้งนี้จะนำประโยชน์ของพืชผักในมุมมองบางมุม ซึ่งจะเป็นประโยชน์กับผู้ที่มาเยือน ทุกท่านที่มาถึงพื้นที่นี้จะได้รับคุณค่าความงดงามของพืชผักที่ผลิตในระบบเกษตรอินทรีย์มาตรฐานสากล กลับไปอย่างแน่นอน โดยในงานจะมีกิจกรรมดังนี้ คุณค่าแห่งพืชพันธุ์ เป็นพื้นที่แสดงพันธุ์พืชที่ปลูกในระบบเกษตรอินทรีย์เพื่อให้เกษตรกร รวมถึงผู้สนใจได้มาเห็นวิธี การปลูก การดูแลรักษา พืชผักนานาพันธุ์ มหัศจรรย์ทุ่งดอกผัก เป็นการทำแปลงผลิตเมล็ดพันธุ์ผักในระบบเกษตรอินทรีย์ในพื้นที่ 3 ไร่ มาบูรณาการเพื่อการท่องเที่ยวที่แปลกไปกว่าที่คุ้นเคยพบเห็นมาก่อน จากสวนครัวหลังบ้านสู่ สวนสวยรอบบ้าน ในยุคที่ต้องพึ่งพาตัวเองในการสร้างอาหารกับพื้นที่รอบบ้าน คุณจะได้ไอเดียในการจัดสวนสวยด้วยพืชผัก จากศิษย์เก่าแม่โจ้แบบง่ายๆ ที่คุณก็ทำได้ พร้อมกับคำแนะนำการปลูก การดูแล จากนักศึกษา อีกทั้งมีต้นกล้าและเมล็ดพันธุ์ผักอินทรีย์จำหน่ายในงาน สำหรับนำไปปลูกที่บ้านอีกด้วย “งอก=งาม” สาธิตการผลิตผักงอกต่าง ๆ ในระบบเกษตรอินทรีย์แบบง่าย ๆ ที่สามารถนำไปสร้างอาชีพได้ ศิลปะจากพืชผัก เป็นการทำความงดงามของพืชผักสู่งานศิลปะภาพวาดโดยมีการจัดประกวดวาดภาพของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม ขาย-คุณ-ค่า เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้นักศึกษาทำธุรกิจโดยให้นักศึกษามาฝึกการขายเช่นการขายผัก ไอศครีมผัก รวมถึงความรู้ความสามารถต่างๆในตัวของนักศึกษาในการสร้างมูลค่า เปิดตัว บริษัท เฟิร์สท์ ออแกนิก ซีดส์ เป็นบริษัทเมล็ดพันธุ์ผักอินทรีย์ แห่งแรกของประเทศไทย ซึ่งดำเนินการโดยมหาวิทยาลัยแม่โจ้ร่วมกับพันธมิตร *หมายเหตุฐานเรียนรู้นี้จัดขึ้นภายใต้โครงการเปิดฟาร์ม มหาวิทยาลัยแม่โจ้ Maejo Open Farm…

  • ฐานเรียนรู้ แปลงกัญชาเพื่อรักษาโรค ใหญ่ที่สุดในอาเซียน

    ฐานเรียนรู้ แปลงกัญชาเพื่อรักษาโรค ใหญ่ที่สุดในอาเซียน

    สืบเนื่องจากมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้ลงนามความร่วมมือ วิจัยและพัฒนาสายพันธุ์กัญชาและกัญชงเพื่อใช้ประโยชน์ทางการแพทย์กับกรมการแพทย์ และองค์การเภสัชกรรม เพื่อร่วมวิจัยและพัฒนาพืชกัญชาและกัญชงในระบบเกษตรอินทรีย์ในระดับอุตสาหกรรม โดยได้ปลูกกัญชาจำนวนทั้งสิ้น 16,700 ต้น เป็นแปลงปลูกกัญชาที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียน กิจกรรมสำคัญของฐานเรียนรู้ จัดนิทรรศการ ให้องค์ความรู้เกี่ยวกับพืชกัญชาและกัญชง ในเรื่อง ลักษณะของกัญชากัญชง การนำไปใช้ประโยชน์ การปลูกพืชกัญชาและการจัดการแปลงปลูก เป็นต้น ถ่ายภาพกับแปลงปลูกกัญชารูปแบบการปลูกนอกโรงเรือน (Out Door) ให้องค์ความรู้เรื่องการผลิตปัจจัยการผลิตพืชในระบบอินทรีย์ เช่น การผลิตปุ๋ยหมักระดับอุตสาหกรรม การเลี้ยงไส้เดือนดินกำจัดขยะอินทรีย์ เป็นต้น *หมายเหตุฐานเรียนรู้นี้จัดขึ้นภายใต้โครงการเปิดฟาร์ม มหาวิทยาลัยแม่โจ้ Maejo Open Farm 14 – 17 มกราคม 2564 ผู้รับผิดชอบ หัวหน้าโครงการ ศาสตราจารย์ ดร.อานัฐ ตันโช ผู้ร่วมโครงการ นายไพบูลย์ โพธิ์ทอง โทร ภายใน 3730 มือถือ 084-4888374 ผู้ประสานงาน นายไพบูลย์ โพธิ์ทอง โทร ภายใน 3730 มือถือ…